SHARE

คัดลอกแล้ว

จากสถานการณ์สถานีอวกาศเทียนกง-1 จะตกสู่โลก กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวิทยาศาสตร์ จึงจัดทำโปสเตอร์ให้ความรู้เรื่องขยะอวกาศ ลดความตื่นตระหนก หลังมีข้อมูลว่า เทียนกง-1 มีโอกาสตกไทย 1 เปอร์เซนต์

วันที่ 30 มี.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า ได้ติดตามสถานการณ์สถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีนที่กำลังจะตกสู่โลกอย่างใกล้ชิด โดยร่วมกับองค์กรอวกาศจากประเทศต่างๆ ซึ่งคาดการณ์ว่าสถานีอวกาศดังกล่าวจะตกสู่โลกระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-10 เม.ย. 61 นี้

จิสด้ายังได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์เทียนกง-1 ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกายภาพ และการจัดการวัตถุอันตรายเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน โดยได้ดำเนินการจัดทำแผนเผชิญเหตุ และคู่มือปฏิบัติการ รวมถึงการจัดการชิ้นส่วนหรือวัตถุอันตราย เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ได้เข้าใจ และมีแนวทางในการจัดการกับชิ้นส่วนที่อาจจะตกลงมาในประเทศไทย ถึงแม้ว่าโอกาสที่เกิดขึ้นจะน้อยมากก็ตาม

ล่าสุด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับจิสด้า จัดทำคู่มือ “ชวนคุณให้รู้จักขยะอวกาศ” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนเกี่ยวกับขยะอวกาศ หรือเศษชิ้นส่วนอวกาศที่อาจจะตกลงมา ซึ่งเป็นการลดความตระหนก และให้ประชาชนได้รับทราบแนวทางการปฏิบัติตนเมื่อประสบเหตุได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี

คู่มือดังกล่าวสรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับขยะอวกาศไว้ในภาพโปสเตอร์ 1 ภาพ โดยระบุว่า ปัจจุบันมีขยะอวกาศโคจรรอบโลกกว่า 500,000 ชิ้น ซึ่งขยะอวกาศแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ขยะอวกาศที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เศษหินหรืออุกกาบาต และขยะอวกาศที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น เช่น สถานีอวกาศ ดาวเทียม หรือจรวดนำส่งดาวเทียม

เมื่อมีขยะอวกาศหรือเศษชิ้นส่วนจากอวกาศตกลงมาสู่โลก อาจทำให้เกิดการระเบิด อัคคีภัย มีสารเคมีวัตถุอันตราย หรือกัมมันตรังสี โดยข้อมูลจากโปสเตอร์ให้ความรู้ เผยให้เห็นว่า ขนาดของขยะอวกาศที่ใหญ่ขึ้นจะส่งผลกระทบได้มากกว่า

โดยขยะอวกาศทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่กว่า 3 เมตร มีโอกาสส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต รวมถึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน แต่กรณีของขยะที่ใหญ่กว่า 3 เมตร ยังอาจก่ออันตรายจากเชื้อเพลิงที่หลงเหลือแก่ผู้ที่เข้าไปสัมผัสขยะอวกาศเหล่านั้น

กรณีของเทียนกง-1 ที่กลายเป็นขยะอวกาศ และกรณีขยะอวกาศอื่นๆ หากมีผู้พบเห็นชิ้นส่วนสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า