Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แกนนำพรรคที่อยู่ในความสนใจ 3 พรรค เห็นตรงกันว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 คือ กับดักประเทศ หลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ต้องขอฉันทามติประชาชนแก้ไข

ในเวทีเสวนาภายใต้หัวข้อ “อนาคตประชาธิปไตยไทย : ข้ามพ้น กับดักความหวัง” จัดขึ้นโดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ 14 มิถุนายน มีตัวแทน 4 พรรคการเมืองเข้าร่วม คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำจากพรรคเพื่อไทย, นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ก่อตั้งพรรคประชาชนปฏิรูป

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นว่า กับดักประเทศ คือ 1. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่สามารถให้ประเทศเดินตามโรปแมปได้ย้อนแย้งกันเอง เช่น ห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง ไม่อนุญาตให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพได้ 2. มีการใช้อำนาจ มาตรา 44 ปลดกรรมการการเลือกตั้งหรือ ก.ก.ต. ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการเลือกตั้งไม่มีความอิสระ ทั้งท่าทีของคสช.ที่แสดงชัดเจนว่า จะเข้ามาเล่นการเมือง ทำให้กลไกลขาดความเป็นกลาง 3.สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง 250 คน มีอำนาจเลือกหัวหน้ารัฐบาลแน่นอนว่า ต้องเลือกขั้วอำนาจเก่า และ4. บทบัญญัติรัฐธรรมนูญหลายบท ยังไม่สอดคล้องสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย ทั้งเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 ลอกแนวคิดรัฐธรรมนูญปี 2521 ที่เสมือนเป็นหนทางให้นายกรัฐมนตรีจากรัฐประหารกลับมาดำรงตำแหน่งได้อีกครั้ง

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ประเทศไทยพบกับดักวางไว้ด้วยผู้มีอำนาจ หรือ คสช. ตลอด 4 ปีใช้เงื่อนไขเข้ามาแก้ไขความขัดแย้ง คสช.เข้ามาแทรกแซงในระบบการเลือกตั้งที่มีคำสั่งออกมาไม่เป็นไปตามนิติธรรม ส่วนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูป 6 ด้าน มีข้อบังคับให้รัฐบาลชุดใหม่จะต้องทำตามแผนยุทธศาสตร์หากไม่ทำจะถูกถอดถอน นั้นหมายถึง คสช.ได้วางกับดักแผนสืบทอดอำนาจภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ผลในอนาคตจะทำให้ประเทศไทยไม่มีทางปรับตัวให้ทันพัฒนาการของประเทศ เป็นการสร้างปัญหาให้กับประชาชน

นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า กับดักของประเทศไทย คือการทำรัฐประหารที่วนซ้ำ ตั้งแต่ปี 2475 สร้างผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในอดีตไม่เคยมีการลงโทษผู้นำรัฐประหาร นำมาสู่ความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจ มีเพียงคนรวย 5 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ มีทรัพย์สินมากกว่าคนไทยอีกกว่า 60 ล้านคน มองว่า วิธีก้าวพ้นกับดับรัฐธรรมนูญ 2560 ต้องให้ประชาชนร่วมสร้างฉันทามติ คือ จากจำนวน ส.ส. 500 คนและ ส.ว. 250 คน ดังนั้น พรรคฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องมีเสียง 376  เสียง ชนะการเลือกตั้งแบบเด็ดขาดตั้งเป็นรัฐบาลให้ได้ แล้วขอฉันทามติกับประชาชน แก้รัฐธรรมนูญปี 2560 ด้วยเสียงของประชาชนเอง

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ก่อตั้งพรรคประชาชนปฏิรูป ซึ่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ระบุว่า กับดักคือ การเมืองแบบเลือกตั้งนิยม มีนักการเมืองที่เข้ามาทุจริตคอรัปชั่น รัฐบาลคสช.ได้วางรากฐานให้ส.ว. มาถ่วงดุลย์ในรัฐสภา เพื่อการบริหารประเทศภายใต้พุทธธรรมาภิบาล ส่วนรัฐธรรมนูญ2560 ที่หลายฝ่ายมองว่า เป็นกับดักของประเทศนั้น ตนในฐานะกรรมาธิการยกร่าง ยอมรับว่า รัฐธรรมนูญถูกออกแบบให้แก้ไขยากภายใน 5  ปี เพราะต้องผ่าน 3 วาระ คือ ต้องมีส.ว.1 ใน 3 หรือประมาณ 80 คน เห็นด้วยกับการแก้ และส.ส.ฝ่ายค้านต้องเห็นด้วยทุกพรรคจึงนำไปสู่การทำประชามติ แต่ต้องหลังจากสมาชิกรัฐสภาประชุมมีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ

http://www.youtube.com/watch?v=Kfi2U7TztuI

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า