SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลสุ่มตรวจเนื้อไก่-ตับไก่สด พบมีการตกค้างยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 41.93 นักวิชาการ เตือนผู้บริโภค รับประทานเนื้อไก่-ตับไก่ ปนเปื้อนเสี่ยงดื้อยา-แพ้ยา

วันที่ 19 ก.ค. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลสุ่มเก็บตัวอย่าง เนื้อไก่สดและตับไก่สด จากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และห้างออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9-15 มิ.ย. จำนวน 62 ตัวอย่าง เป็นอกไก่สด 32 ตัวอย่าง และตับไก่สด 30 ตัวอย่าง โดยนำมาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด จาก 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolone Group) คือ เอนโรฟลอคซาซิน (Enrofloxacin)

กลุ่มที่ 2 กลุ่มเตตราไซคลิน (Tetracycline Group) คือ ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline)

กลุ่มที่ 3 กลุ่มเบต้า – แลคแทม (Beta – Lactam Groups) คือ อะม็อกซีซิลลิน(Amoxicillin)

ผลการตรวจวิเคราะห์การตกค้างของยาปฏิชีวนะทั้ง 3 ชนิด พบการตกค้างตกของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 41.93 โดยพบ 5 ตัวอย่างตกมาตรฐานการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดเอนโรฟลอคซาซิน (Enrofloxacin) เนื่องจาก เป็นยาที่นอกเหนือบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่งสามารถใช้ได้ แต่ต้องไม่พบการตกค้างของยาดังกล่าว อีก 21 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของยาด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) แต่ไม่ตกมาตรฐาน และตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะชนิดอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ส่วนอีก 36 ตัวอย่างนั้น ตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะทั้ง 3 กลุ่ม

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์ มีอันตรายทั้งต่อมนุษย์และสัตว์ คือ การดื้อยา การแพ้ยา และอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ส่วนอันตรายของยา Doxycyclin จะทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น อาจทำให้ฟันมีสีคล้ำ สามารถพบเห็นได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร มีผื่นคันบริเวณผิวหนัง และอันตรายของยา Enrolfloxacin อาจทำให้เกิดอาการอาเจียนหรือท้องเสีย ทั้งนี้ หากใช้ยาตัวนี้สูงกว่าขนาดที่แนะนำ 10 เท่า อาจทำให้กระดูกอ่อนตามข้อต่อต่างๆ เกิดความเสียหาย และอันตรายของยา Amoxycillin จะทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ หรือมีอาการหอบหืด หากพบอาการหายใจมีเสียงหวีด (อาการของหอบหืด) หลังใช้ยา ควรต้องหยุดใช้ยาทันทีและรีบพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาล

“ทุกวันนี้เรามีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค ทำให้เรามีโอกาสที่จะได้รับยาดังกล่าวอยู่แล้ว และหากเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนบ่อยๆ ก็อาจทำเราได้รับยาปฏิชีวนะในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งการได้รับยาดังกล่าวงในปริมาณมากและบ่อยครั้งจะส่งผลให้เกิดอาการดื้อยา และจำเป็นต้องใช้เชื้อที่แรงขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายอาจไม่มีตัวยาใดมารักษาได้เลย” ผศ.ภญ.ดร.นิยดากล่าว

ที่มา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า