SHARE

คัดลอกแล้ว

คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมนักวิจัย พัฒนาหุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยเทคนิคการรักษาสามมิติ ต้นทุนถูกกว่านำเข้าถึงสิบเท่า มาตรฐานเทียบเท่าสากล แข็งแรงทนทาน สามารถปรับตำแหน่งการวัดรังสีได้หลายตำแหน่ง ช่วยลดการสูญเสียที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของปริมาณรังสีที่ใช้รักษา

วันนี้ (26ต.ค.61) ผศ.ดร.นันทวัฒน์ อู่ดี คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก กล่าวถึงโครงการวิจัยหุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคการรักษาสามมิติ ว่าคณะผู้วิจัยได้พัฒนาหุ่นจำลองด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ระบบฉีดเส้นพลาสติกที่ภายในบรรจุยางพารา ซึ่งมีความหนาแน่นใกล้เคียงเนื้อเยื่อมนุษย์ เพื่อนำมาใช้ในการเป็นแม่พิมพ์หุ่นจำลอง โดยออกแบบให้หุ่นจำลองมีรูปร่างตามที่ต้องการสำหรับตรวจสอบปริมาณรังสีก่อนการรักษาผู้ป่วยจริงได้ เพื่อลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการให้ปริมาณรังสีที่ผิดพลาด โดยได้พัฒนาหุ่นจำลองศีรษะก่อน

ต่อมาคณะผู้วิจัยพัฒนาหุ่นจำลองศีรษะและลำคอขนาดมาตรฐานจากน้ำยางพาราธรรมชาติ ประกอบด้วย เนื้อยางพาราสำหรับสร้างแทนเนื้อเยื่อ โพรงอากาศ และแคลเซียมคาร์บอเนตผสมกับเรซินสำหรับสร้างแทนกระดูก ภายในมีช่องสำหรับใส่อุปกรณ์วัดรังสีชนิดไอออไน เซชัน ฟิล์มวัดรังสี และหัววัดรังสีเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ ที่สามารถใช้ได้จริงและเป็นแนวทางในการนำหุ่นจำลองไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบค่าปริมาณรังสีในเทคนิคการรักษาขั้นสูงต่อไป เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

หุ่นจำลองที่สร้างขึ้น สามารถใช้ประเมินค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการวางแผนการรักษาทั้งแบบสองมิติ สามมิติ เทคนิคปรับความเข้มรังสี และเทคนิคปรับความเข้มรังสีเชิงปริมาตร   ผ่านการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลตามมาตรฐานสากล ทั้งความคงทนแข็งแรง ความเหนียว ความยืดหยุ่น ความหนาแน่น อายุการใช้งานยาวนาน

ผศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า งานวิจัยนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 เพื่อพัฒนาสูตรยางพาราให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงเนื้อเยื่อมนุษย์ สำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษามะเร็งเต้านมและมะเร็ง ปากมดลูก ต่อมาได้พัฒนาหุ่นจำลองศีรษะและลำคอที่มีโครงสร้างอวัยวะภายในต่างๆ ตามมาตรฐานของผู้ป่วย โดยนำมาใช้งานทดแทนการนำเข้าหุ่นจำลองที่ทำจากพลาสติกและมีต้นทุนสูงกว่างานของเราถึง 10 เท่า และที่สำคัญราคาถูกกว่าต่างประเทศ

ปัจจุบัน หุ่นจำลองได้ถูกนำไปใช้ที่หน่วยรังสีรักษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และ โรงพยาบาลสกลนคร แล้ว ตลอดจนโรงพยาบาลและศูนย์มะเร็งต่างๆ ก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยใช้ได้ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งสมอง หรือส่วนต่างๆ ของศีรษะและลำคอ และในอนาคตจะพัฒนาต่อให้สามารถตรวจผลการ รักษามะเร็งปอด ลำตัวช่วงบนและช่วงล่าง รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในการรักษาโรค อื่นๆ ด้วย พร้อมทั้งจะขอยื่นจดอนุสิทธิบัตรต่อไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม>>>

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า