ประเด็นคือ – เปิดรายชื่อ 12 สายการบิน ต้องระงับการเดินอากาศระหว่างประเทศ ตามคำสั่งม.44 ขณะที่ 20 ก.ย.นี้ จับตา ICAO จะมาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทยซ้ำ
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมคสช.และ ครม. (12 ก.ย.) ได้มีมติเห็นชอบใช้อำนาจของหัวหน้าคสช.ออกคำสั่งตาม มาตรา 44 ให้อำนาจ การบินพลเรือน สั่งห้ามบริษัท องค์กร ที่ไม่ได้ใบ รับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ (AOC) ระงับการเดินอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 – 31 มกราคม 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับคำแนะนำและกติกาของ ICAO (The International Civil Aviation Organization) หรือ “องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ”
“ที่ผ่านมา ICAO ต้องการให้ไทยมีมาตรการที่เด็ดขาด ดังนั้นครั้งนี้ คสช.จึงเห็นชอบและมอบอำนาจให้สถาบันการบินพลเรือน ไม่ให้บริษัท องค์กร ที่ไม่ได้ใบประกอบการเดินอากาศจัดเที่ยวบินระหว่างประเทศ” อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสายการบินต่างๆที่ถูกระงับให้บริการจะได้รับใบอนุญาตทั้งหมดภายใน 31 ม.ค. 61
สายการบินที่ไม่ได้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ (AOC) 12 สายการบิน ได้แก่
- บริษัท เอ็มเจ็ท จำกัด
- บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด
- บริษัท ไทยเวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต๊อค จำกัด
- บริษัท เค-ไมล์ แอร์ จำกัด
- บริษัท เจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ จำกัด
- บริษัท เอซี เอวิเอชั่น จำกัด
- บริษัท สยามแลนด์ ฟลายอิ้ง จำกัด
- บริษัท เอเชีย แอทแลนติก แอร์ไลน์ จำกัด
- บริษัท วีไอพี เจ็ทส์ จำกัด
- บริษัท เอช เอส เอวิเอชั่น จำกัด
- บริษัท แอ็ดวานซ์ เอวิเอชั่น จำกัด
- บริษัท สกาย วิว แอร์เวย์ จำกัด
สำหรับ “สายการบินที่ผ่านการตรวจสอบ” Recertification และสามารถให้บริการได้ตามปกติขณะนี้ มีทั้งสิ้น 9 ราย ได้แก่
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไทย แอร์เอเชีย จำกัด
- บริษัท ไทย แอร์เอเชียเอ็กซ์ จำกัด
- บริษัท สายการบินนกสกู๊ต จำกัด
- บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด
- บริษัท ไทย ไลอ้อน เมนทารี จำกัด
- บริษัท สบายดี แอร์เวย์ส จำกัด
ตั้งแต่ 18 มิ.ย.2558 ICAO ประกาศ “ติดธงแดง” ประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่า กรมการบินพลเรือนไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns : SSC) ได้ภายในเวลาที่กำหนด