SHARE

คัดลอกแล้ว

น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์

ศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง “โบว์ ณัฏฐา” ค้านฝากขังกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เหตุจัดชุมนุมครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 61 ก่อนถูกจับกุมและต้องใช้เงิน 1.5 ล้าน ในประกันตัวทุกคน

วันที่ 4 ก.ย. 61 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีที่ น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ผู้ต้องหาคดีชุมนุมทางการเมือง ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลอาญาที่อนุญาตให้ฝากขังนายรังสิมันต์ โรม อายุ 25 ปี นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ อายุ 26 ปี พร้อมพวกแกนนำและผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่ถูกแยกควบคุมตัวไว้ที่ สน.พญาไท 10 คน และ สน.ดินแดง 5 คน รวม 15 คน ผู้ต้องหาคดียุยงปลุกปั่นจากการชุมนุมที่หน้า ม.ธรรมศาสตร์ และหน้าองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในการครบรอบ 4 ปี รัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2561

โดยศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขังผู้ต้องหาทั้ง 15 โดยพิจารณาว่าการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ จึงมีเหตุที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอฝากขังในระหว่างศาลกับพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นผู้ร้องและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 87 นั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งหมายให้เป็นอำนาจศาลชั้นต้นที่จะตรวจสอบและพิจารณาสั่งโดยเฉพาะ เมื่อมีคำสั่งใดๆ แล้ว ผู้ต้องหาที่ 9 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ต้องหาที่ 9 นั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ต้องหาที่ 9

น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา กล่าวว่า วันนี้มาฟังคำตัดสิน คดีที่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งให้ฝากขังเราในคดี UN62 ซึ่งมีผลให้เราถูกสั่งฝากขัง ทั้งที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่ควรเป็น และต้องใช้เงินถึง 1.5 ล้าน ในการประกันตัวทุกคน

น.ส.ณัฐฐา กล่าวว่า “เป็นที่น่าสังเกตุว่า เราไม่มีสิทธิโต้แย้งให้คำสั่งที่เราเห็นว่ามีปัญหาได้รับการพิจารณาตรวจสอบเพื่อความเป็นธรรม ส่วนเรื่องที่จะฎีกาคำสั่งต่อหรือไม่ ก็คงจะขอปรึกษาทีมทนายความ เเต่คิดว่าเราคงยื่นฎีกาต่อ เพื่อให้มีโอกาสโต้แย้งครบถ้วนก่อนมีคำสั่งถึงที่สุดให้เป็นบรรทัดฐานและเป็นประเด็นที่จะเป็นประโยชน์กับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมต่อไป เพราะไม่ควรมีอำนาจใดที่ตรวจสอบไม่ได้ แต่มีผลกับสิทธิเสรีภาพประชาชน”

สำหรับรายชื่อผู้ต้องหาทั้ง 15 เรียงประกอบด้วย

  • นายรังสิมันต์ โรม อายุ 25 ปี
  • นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ อายุ 26 ปี
  • นายปิยรัฐ จงเทพ อายุ 27 ปี
  • นายนิกร วิทยาพันธุ์ อายุ 56 ปี
  • นายวิเศษณ์ สังขวิศิษฎ์ อายุ 61 ปี
  • น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว อายุ 25 ปี
  • นายอานนท์ นำภา อายุ 34 ปี
  • นายเอกชัย หงส์กังวาน อายุ 43 ปี
  • น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา อายุ 39 ปี
  • นายพุทไธสิงห์ พิมพ์จันทร์ อายุ 61 ปี
  • นายคีรี ขันทอง อายุ 49 ปี
  • นายประสงค์ วางวัน อายุ 55 ปี
  • นายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ อายุ 42 ปี
  • นายภัทรพล จันทรโคตร อายุ 55 ปี
  • นายวิโรจน์ โตงามรักษ์

นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์

เหตุการณ์ “22 พฤษภา เราจะหยุดระบอบ คสช.” 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้ ผู้ต้องหาทุกคนได้รับการประกันตัวทุกคนโดยคำร้องฝากขังระบุพฤติการณ์คดีนี้ สรุปว่า ก่อนการชุมนุม นายรังสิมันต์กับพวก ได้ชักชวนด้วยการปราศรัยและโพสต์เฟซบุ๊กนัดหมายมวลชนมารวมตัวกันทำกิจกรรม “22 พฤษภา เราจะหยุดระบอบ คสช.” ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 21-22 พ.ค. 61

โดยเมื่อวันที่ 21 พ.ค. เวลาประมาณ 14.00 น. ผู้ชุมนุมเริ่มรวมตัวกันบริเวณสนามฟุตบอล ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีนายวิเศษณ์ (ผู้ต้องหา) ขับรถกระบะเข้ามาในมหาวิทยาลัย กลุ่มมวลชนได้นำเครื่องขยายเสียงมาติดตั้งบนรถดังกล่าว

ต่อมาเวลาประมาณ 16.00 น. มหาวิทยาลัยได้ปิดประตู 3 ฝั่งสนามหลวง แล้วนายนิกร (ผู้ต้องหา) ได้นำคีมมาตัดกุญแจที่ปิดประตู เพื่ออำนวยความสะดวกให้มวลชนผู้ชุมนุม แล้วในช่วงเวลา 17.40 น. เป็นต้นไป นายสิรวิชญ์, นายรังสิมันต์, น.ส.ณัฏฐา, นายประสิทธิ์, นายวันเฉลิม และนางศรีไพร สลับกันปราศรัยโจมตีรัฐบาล และ คสช.

วันที่ 22 พ.ค. 61 เวลา 9.00 น. นายรังสิมันต์ ปราศรัยเรียกผู้ชุมนุมเดินเท้าจาก ม.ธรรมศาสตร์ ไปทำเนียบรัฐบาล แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม โดย พ.ต.อ.จักรกริศน์ โฉสูงเนิน ผู้ดูแลการชุมนุมแจ้งว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. และได้มีการร้องทุกข์ไว้แล้ว ให้เลิกการชุมนุม แต่นายรังสิมันต์กับพวกนำผู้ชุมนุมประมาณ 50-100 คน ฝ่าแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับสั่งให้รถขยายเสียงชนแผงที่กั้นเพื่อจะได้เดินออกไปได้ ก่อนที่จะประกาศยุติการชุมนุมและมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ในขณะเดียวกันยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 200 คน เคลื่อนย้ายออกจาก ม.ธรรมศาสตร์ มาตาม ถ.หน้าพระธาตุ เพื่อไปทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่ได้ประกาศให้ทราบว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เวลาประมาณ 14.30 น. น.ส.ณัฏฐา, น.ส.ชลธิชา, นายอานนท์ และนายเอกชัย แกนนำได้นำผู้ชุมนุมประมาณ 50-60 คน เคลื่อนขบวนฝ่าแนวกั้นมาตาม ถ.ราชดำเนิน ถึงบริเวณก่อนขึ้นสะพานมัฆวานฯ เจ้าหน้าที่ได้ประกาศให้เลิกชุมนุมฝ่าฝืนกฎหมาย ก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่จับกุม

นายรังสิมันต์ โรม

รายงานระบุว่า การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ มิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (2) (3), ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้าหรือมีหน้าที่สั่งการ ตามมาตรา 215 (1) (3), เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกชุมนุมแล้วไม่เลิก ตามมาตรา 216 ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3 /2558 ข้อ 12

ร่วมกันเดินขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันชุมนุมสาธารณะในลักษณะกีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงาน หรือ การใช้บริการสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐฯ, ร่วมกันชุมนุมสาธารณะในระหว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุมฯ และร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมฯ โดยไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานที่ดูแล รวมทั้งยุยงส่งเสริมผู้ชุมนุมให้ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ กับขัดขวางหรือกระทำการใดอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานฯ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 8 (1) (3), 15 (2) (4) (5), 16 (1) (4) (7) (9), 19 และความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 108, 114

โดยนายรังสิมันต์, นายสิรวิชญ์, นายปิยรัฐ, น.ส.ณัฏฐา, น.ส.ชลธิชา, นายอานนท์ และนายเอกชัย ถูกแจ้งข้อหากระทำการโดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการ ชั้นสอบสวนผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เหตุเกิดที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม., ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงตลาดยอดและแขวงบวรนิเวศ และบริเวณด้านหน้าอาคารยูเอ็น ถ.ราชดำเนินนอก แขวงขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า