ผลการสำรวจจาก Accountability Lab ร่วมกับเวทีเศรษฐกิจโลก ( World Economic Forum) ชี้ให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ยังคงมองว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขาเพราะส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจสูง โดยไปเบียดเบียนเงินสาธารณะที่ควรถูกใช้พัฒนาการศึกษา บริการสุขภาพ และบริการสาธารณะพื้นฐานอื่น ๆ ที่ประเทศต้องการ โดยรวมแล้วในแต่ละปี ภาคธุรกิจ ตลอดจนประชาชนที่ส่วนใหญ่เป็นคนยากคนจนต้องจ่ายเงินสินบนกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 31 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจนี้ยังมีแง่ดีอยู่บ้าง กล่าวคือคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจในการต่อสู้กับเรื่องนี้แล้ว โดยในการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกครั้งที่ผ่านมาพบว่าประเด็นหลักของการพูดคุยของกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมคือเรื่อง “ความรับผิดรับชอบ(Accountability)” ที่กล่าวถึงความรับผิดชอบในการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายของประเทศหรือแม้กระทั่งการเกิดคอร์รัปชั่นในบริษัทระดับโลก โดยประกาสว่าผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ผลิตที่มีธรรมาภิบาลมากกว่า
เสียงสะท้อนนี้ส่งผลกระทบต่อซีอีโอของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ด้วย โดยในการประชุมกลุ่มร่วมต้านคอร์รัปชั่น (Partnering Against Corruption – PACI) บริษัทใหญ่ ๆ ก็มีฉันทามติต่อกันว่าหากองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญต่อคุณค่าของสังคม โลกใบนี้จะดีขึ้นกว่าเดิม และบริษัทเองก็จะทำกำไรในระยะยาวได้ดีกว่าด้วย
ในภาครัฐ นักการเมืองและข้าราชการรุ่นใหม่ก็เริ่มผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่โปร่งใสและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เช่น ในมาเลเซีย ซีย์ ซาดิก รัฐมนตรีเยาวชนและกีฬาที่มีอายุเพียง 27 ปีได้เรียกร้องให้ยกเลิกรูปแบบการเมืองที่มีแต่ชนชั้นนำ หรือในบาสวานา โบโกโล เคเนเวนโด รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม การลงทุนและการค้าที่มีอายุเพียง 32 ปี ก็ผลักดันให้เลิกทำการค้าแบบเอารัดเอาเปรียบ นอกจากนี้ทั่วโลกเองก็กำลังมีเทรนในการสร้างความตระหนักรู้ยกย่องข้าราชการข้าราชการที่ต่อสู้กับความไม่โปร่งใสในระดับท้องถิ่นให้ได้รับการยกย่องอย่างเหมาะสม
การเคลื่อนไหวของนักต่อสู้เยาวชนก็มีพท้นที่ในสื่อมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากความเปิดกว้างของพื้นที่สื่อดิจิทัล เยาวชนทั่วโลกมีการสร้างบล็อก หรือเพจขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับข่าวปลอม ละผลักดันประเด้นต่าง ๆ ที่ตัวเองสนใจ ในอุตสาหกรรมข่าวก็มีการผลิตนักข่าวสืบสวนสอบสวนใหม่ ๆ เข้ามาต่อสู้กับคดีคอร์รัปชั่น
อ่านงานวิจัยเต็ม ๆ ได้ที่นี่