SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – สมาชิก สนช. จำนวน 27 คน ลงชื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ส่ง “ประธาน พรเพชร” แล้ว “กิตติรัตน์ รัตนวราหะ” ชี้แจงเหตุผล เกรงมีปัญหาภายหลัง ยืนยัน ไม่ใช่รับสัญญาณจากนายกรัฐมนตรี

วันนี้ (29 มี.ค. 61) เคลื่อนไหวของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เตรียมส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.) ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความใน 2 ประเด็นว่า ล่าสุด นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สนช. 1 ใน 27 คน ที่ร่วมลงชื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ได้ส่งรายชื่อสนช. ทั้งหมดให้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. แล้ว ส่วนประธานสนช. จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเมื่อใดนั้น ตนไม่ทราบ แต่เชื่อว่า จะส่งได้ไม่เกินวันที่ 12 เม.ย. นี้แน่นอน ส่วนเหตุผลที่ไม่ทราบนั้น เพราะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ต้องคุยกัน

นายกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับเหตุผลที่ สนช. เลือกจะยื่นตีความ ทั้งที่เรื่องนี้ถึงมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้วนั้น เพราะจากการรับฟังเสียงของหลายส่วน ทั้ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. และหัวหน้าพรรคการเมือง ที่เป็นห่วงว่า ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม สนช.แล้วใน 2 ประเด็น คือ การตัดสิทธิ์ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งห้ามเป็นข้าราชการฝ่ายการเมือง และการลงคะแนนแทนผู้พิการ อาจจะเป็นปัญหาภายหลังได้ ทั้งนี้ นายกิตติศักดิ์ ปฏิเสธว่า การกลับลำยื่นหนังสือทั้งที่ก่อนหน้านี้ สนช. ตกลงว่า จะไม่ยื่นนั้น ไม่ใช่เพราะรับสัญญาณใดจาก นายกรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม สนช.ได้มีมติให้ความเห็น ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ด้วยคะแนนเสียง มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 218 คน ออกเห็นด้วย 211 เสียง,ไม่เห็นด้วย ไม่มี และงดออกเสียง 7 เสียง โดย สมาชิกสนช.ที่ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง 27 คน เป็นผู้ที่ไม่ได้มาร่วมประชุมลงมติในวันดังกล่าว

  • ศาลรธน. รับคำร้องสนช.ยื่นตีความ ร่าง พ.ร.ป.ส.ว.แล้ว ให้ส่งชี้แจงภายใน 18 เม.ย.

 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 28 มี.ค. 61 กรณี สนช. ส่งความเห็นของสมาชิก สนช.จำนวน 30 คน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรค 1 ประกอบมาตรา 263 ว่าด้วย ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. มาตรา 91, 92, 93, 94, 95 และ 96 ที่กำหนดให้วาระเริ่มแรกของ ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 ซึ่งมีการกำหนดจำนวนกลุ่มผู้สมัคร วิธีการรับสมัคร และกระบวนการเลือก ในบทเฉพาะกาลดังกล่าวได้กำหนดไว้แตกต่างไปจากการได้มา ซึ่ง ส.ว. ตามบททั่วไป มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่

ทั้งนี้ ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรค 1 ประกอบมาตรา 263 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 50 ศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา และมีคำสั่งรับไว้พิจารณาวินิจฉัย และแจ้งให้ประธาน สนช.ทราบ และพิจารณามอบหมายให้ผู้แทน สมาชิก สนช. ที่ลงมติเห็นชอบในวาระที่สาม

รวมทั้งนายกิตติ วะสีนนท์ ซึ่งเป็นผู้แทนของฝ่ายที่เสนอคงามเห็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และประธานกรรมาธิการวามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.จัดทำความเห็นเป็นหนังสือ โดยให้ยื่นต่อศาลภายใน 18 เม.ย.นี้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า