SHARE

คัดลอกแล้ว

ปีใหม่กับแรงบันดาลใจใหม่ ยูนิเซฟเปิดบ้านต้อนรับเด็กจากทั่วประเทศเข้ามาเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็กพร้อมแชร์ความหวังสำหรับสังคมไทย เช้าตรู่ของวันเสาร์แรกของปี 2567 เด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งเริ่มทยอยมาถึงหน้าประตูทางเข้าสำนักงานยูนิเซฟ บนถนนพระอาทิตย์ เพื่อร่วมงาน Open House หรือ “งานเปิดบ้าน”ครั้งแรกขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย งานเปิดบ้านนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กและเยาวชนจากทั่ประเทศให้มีความเข้าใจเรื่องสิทธิเด็กมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น งานนี้จัดขึ้นครั้งแรกในรอบ 75 ปีเพื่อเปิดประตูสู่สาธารณชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยให้พวกเขาได้เห็นภารกิจของยูนิเซฟผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แชร์ข้อกังวลเกี่ยวกับความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญ รวมไปถึงความหวังสำหรับสังคมไทยในอนาคต งานเปิดบ้านในช่วงเช้าเริ่มต้นด้วยการเดินชมอาคารสำนักงานอายุเกือบสองร้อยปี และการเรียนรู้ภารกิจของยูนิเซฟในช่วง 75 ปี ผ่านนิทรรศการเรื่องราวของเรา สำหรับเด็กทุกคนจากนั้นตามด้วยเกมเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก ช่วงบ่ายเป็นช่วงที่เด็ก ๆ ไขข้อสงสัยเรื่องอาชีพและวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ยูนิเซฟผ่านกิจกรรม หนังสือพูดได้’ และปิดท้ายด้วยการเสวนากับยูทูเบอร์ชื่อดังอย่าง Softpomz ภวัต วรรณศรี นักเรียนมัธยมปลายวัย 16 ปี ออกจากบ้านที่จังหวัดสิงห์บุรี ตั้งแต่ตี 4 เพื่อเดินทางมาให้ทันงาน เขาชอบ เกมสิทธิเด็ก: เส้นทางของชีวิตและสิทธิเด็กระหว่างทางในช่วงเช้าเพราะ “ทั้งสนุกและได้ความรู้”ขณะเดียวกันก็ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิทธิเด็กในช่วงวัยต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 0 ถึง 20 ปี

ช่วงเดินชมนิทรรศการและ ‘หนังสือพูดได้’ ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เพราะเป็นช่วงที่เด็ก ๆ ได้ถามเจ้าหน้าที่ยูนิเซฟถึงวิธีการทำงานในสาขาต่าง ๆ เด็กบางคนอยากรู้เกี่ยวกับความท้าทายในการรณรงค์ขับเคลื่อนสังคม

ซึ่งการมีส่วนร่วมและความกระตือรืนร้นของพวกเขาได้กลายเป็นส่วนที่สร้างพลังและการกระตุ้นทางความคิดให้กับงานในวันนั้น ภวัตกล่าวถึงงานเปิดบ้านว่า เป็นกิจกรรมที่เปิดหูเปิดตา เพราะเขาใฝ่ฝันจะทำงานกับหน่วยงานของสหประชาชาติ และนี่เป็นครั้งแรกที่เขามีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมโครงการและการทำงานขององค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้ 

ภวัตเป็น 1 ใน 40 คน ที่มีอายุ 15-20 ปี จากคนสมัครทั้งหมดจำนวน 66 คนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกซึ่งดูจากแรงจูงใจในการเข้าร่วมบางคนเคยร่วมงานกับยูนิเซฟมาบ้างแล้ว ในขณะที่บางคนเพิ่งมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับยูนิเซฟเป็นครั้งแรก แต่สิ่งที่รวมพวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเด็กและความต้องการที่จะเพิ่มพูนความรู้ด้านนี้มากยิ่งขึ้น

ณัฐณิชา คันธาภิชาติ นักศึกษารัฐศาสตร์ อายุ 20 ปี จากกรุงเทพฯ ได้เรียนรู้มุมมองใหม่ ๆ จากเจ้าหน้าที่ในช่วงหนังสือพูดได้ “ฉันเคยมองว่าเงินอุดหนุนการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสเป็นเพียงการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและขาดความยั่งยืน แต่พี่ ๆ ที่ยูนิเซฟอธิบายว่าเงินอุดหนุนคือการลงทุนทางสังคมในระยะยาวที่ช่วยให้เด็กที่ผู้ปกครองส่งลูกเรียนหนังสือไม่ได้ ให้เข้าถึงการศึกษาได้”

ด้าน นูรไรมี หลังเกตุ วัย 17 ปีตัวแทนจากจังหวัดสตูล กล่าวว่าการลงทุนทางสังคมนี้เองคือความหวังของเด็ก ๆ
ในชุมชนมากมายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ “มีเด็กขาดโอกาสจำนวนมากในพื้นที่ ซึ่งพ่อแม่ไม่มีเงินพอที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนเหมือนหนู”

นูรไรมีค้นพบข้อมูลของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เข้ามาเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาเยาวชน (YPAB) ของยูนิเซฟและใฝ่ฝันว่าจะสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกบ้างเพื่อจะได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับเพื่อน ๆ และน้อง ๆ ในชุมชนวาริส แวววรรณเจือ นักเรียนมัธยมปลายอายุ 18 ปีจากกรุงเทพฯสังเกตเห็นเด็กชาวโรฮิงญาที่เกิดจากแรงงานข้ามชาติในละแวกบ้านของเขาวาริสรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นเด็ก ๆกลุ่มนี้พูดคุยกันได้แต่ภาษาแม่และไม่ได้ไปโรงเรียนแม้ว่าจะถึงวัยเรียนแล้วก็ตาม ผมนึกไม่ออกเลยว่าพวกเขาจะเติบโตในประเทศนี้หรืออยู่รอดในอนาคตได้ยัง
ไง ถ้าพวกเขาพูดไทยไม่ได้หรือไม่ได้เรียนหนังสือ”

หลังจากได้รับแรงบันดาลใจจากการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิเด็กในหนึ่งวันวาริสวางแผนที่จะจัดการกับเรื่องนี้กับผู้นำชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยหวังว่าว่าเด็ก ๆ เหล่านี้จะได้รับการศึกษาไม่ว่าพวกเขาจะมีสัญชาติอะไรก็ตามกิจกรรมวันนั้นปิดท้ายด้วยการวาดภาพบนผ้าใบซึ่งเด็ก ๆ ได้แบ่งปันข้อกังวลและความหวังเกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการศึกษา สุขภาพจิต
และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลายคนฝันถึงสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น โดยที่ไม่มีเด็กถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

นิภัทรา วิลเคส เจ้าหน้าที่สื่อสารขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่างานเปิดบ้านครั้งนี้ให้ผลลัพธ์เกินความคาดหมาย “เด็กและเยาวชนแต่ละคนพกความกระตือรือร้นมาอย่างเต็มเปี่ยม แต่ละคนมีความเข้าใจสิทธิเด็กมาระดับหนึ่ง พวกเขาสนใจที่จะเจาะลึกปัญหาสังคมและแสวงหาแนวทางในการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน” นิภัทรากล่าว

และหนึ่งวันกับน้อง ๆ ได้ยืนยันว่าการมีส่วนร่วมของเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างสังคมที่ไม่มี การแบ่งแยก นิภัทรากล่าวอย่างภาคภูมิใจเมื่อสิ้นสุดวัน

เรื่องโดยสิรินยา วัฒนสุขชัย  เครดิตภาพ: UNICEF Thailand/2024/Phutpheng

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า