SHARE

คัดลอกแล้ว

ในการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในปี 2554  มีการชิงชัยที่นั่ง “ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” ทั้งสิ้น 375 ที่นั่งทั่วประเทศ ไปดูกันว่าในแต่ละภาคแต่ละจังหวัด เคยเป็นพื้นที่ฐานเสียงของพรรคใดกันบ้าง

ในภาพรวม การเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งทั่วประเทศถูกแบ่งออกเป็นทั้งสิ้น 375 เขตเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยสามารถกวาดที่นั่ง “ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” ไปได้มากที่สุด 204 ที่นั่ง เกินครึ่งของจำนวนส.ส. เขตที่มีทั้งหมด  อันดับสองคือพรรคประชาธิปัตย์ 115 ที่นั่ง  อันดับสามคือพรรคภูมิใจไทย 29 ที่นั่ง และอันดับสี่คือพรรคชาติไทยพัฒนา 15 ที่นั่ง

ส่วนพรรคที่เหลือ ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตไม่ถึง 10 ที่นั่ง มีด้วยกันอีก 3 พรรค ได้แก่ พรรคพลังชล 6 ที่นั่ง  พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 5 ที่นั่ง และพรรคมาตุภูมิ สร้างเซอไพรส์ด้วยการชิงมาได้ 1 ที่นั่ง

ภาคเหนือ 36 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2554 ในภาคเหนือ พรรคเพื่อไทยเหมา ส.ส. แบบแบ่งเขตไปทั้งสิ้น 8 จากทั้งหมด 9 จังหวัด ทำให้ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตจากภาคเหนือไปทั้งสิ้น 35 ที่นั่ง  พื้นที่เดียวที่พรรคเพื่อไทยไม่สามารถชนะเลือกตั้งได้ในภาคเหนือคือที่ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ไป 1 ที่นั่ง

ภาคอีสาน 126 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2554 ภาคอีสานถือเป็นพื้นที่ฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย โดยพรรคเพื่อไทยกวาดที่นั่ง ส.ส. เขตไปทั้งสิ้น 104 ที่นั่ง จากทั้งหมด 126 ที่นั่งในภาคอีสาน  โดยมีถึง 13 จากทั้งหมด 20 จังหวัด ที่พรรคเพื่อไทยสามารถเหมาจังหวัดได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานตอนเหนือ  ทั้ง 13 จังหวัดดังกล่าวได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร

พรรคที่ตามมาเป็นอันดับสองในภาคอีสานคือ พรรคภูมิใจไทย ที่มีฐานเสียงอยู่ที่ จ.บุรีรัมย์  โดยพรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส. เขต จากภาคอีสานไปรวม 13 ที่นั่ง  รองลงมาคือพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่มีฐานเสียงอยู่ที่โคราช และได้ ส.ส. เขตจากโคราชมาทั้งสิ้น 4 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้มา 4 ที่นั่งเช่นเดียวกัน  สุดท้ายคือพรรคชาติไทยพัฒนาได้มา 1 ที่นั่งจาก จ.อุบลราชธานี

ภาคใต้ 53 ที่นั่ง

ภาคใต้ถือเป็นฐานเสียงที่สำคัญที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ โดยในการเลือกตั้งปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์กวาดที่นั่ง ส.ส. เขตในภาคใต้ไปถึง 50 จากทั้งหมด 53 ที่นั่ง ถือเป็นการเหมาจังหวัดทั้งสิ้น 12 จากทั้งหมด 14 จังหวัดภาคใต้

สำหรับอีก 3 พรรคการเมืองที่สอดแทรกเข้ามาได้ ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคมาตุภูมิ โดยทุกพรรคได้ ส.ส. เขตพรรคละ 1 คนจากภาคใต้

ภาคกลาง (รวมตะวันออกและตะวันตก แต่ไม่รวมกรุงเทพฯ) 127 ที่นั่ง

ภาคกลางเป็นพื้นที่แข่งขันเปิดของหลายพรรคการเมือง โดยในการเลือกตั้งปี 2554 มีถึง 21 จังหวัดจากทั้งหมด 33 จังหวัด ที่ไม่มีพรรคการเมืองใดเหมาจังหวัดได้ โดยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว พรรคเพื่อไทยทำผลงานได้ดีที่สุด กวาด ส.ส. เขตไป 55 ที่นั่ง รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ 37 ที่นั่ง และอันดับสามคือพรรคภูมิใจไทย 15 ที่นั่ง

สำหรับพรรคการเมืองที่มีฐานอยู่ในระดับท้องถิ่น เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา ที่มีฐานอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี และพรรคพลังชล ซึ่งมีฐานอยู่ที่ จ.ชลบุรี ก็สามารถกวาด ส.ส. เขตในพื้นที่ฐานเสียงของตัวเองไปได้ไม่น้อย โดยพรรคชาติไทยพัฒนาได้ ส.ส. เขตจำนวนไม่น้อยจากพื้นที่ภาคกลางตอนกลาง โดยรวมจึงทำให้ได้ ส.ส.เขตไปทั้งสิ้น 13 ที่นั่ง  ส่วนพรรคพลังชลก็กวาด ส.ส. เขตไปทั้งสิ้น 6 จากทั้งหมด 8 ที่นั่งในจังหวัดชลบุรี

ส่วนพรรคสุดท้ายคือพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่ได้ ส.ส.เขตมา 1 คนจาก จ.นครสวรรค์

กรุงเทพฯ 33 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2554 กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่การแข่งขันกันของเพียง 2 พรรคการเมืองใหญ่ นั่นคือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ โดยพรรคประชาธิปัตย์สามารถกวาดที่นั่ง ส.ส.เขตไปได้มากกว่าที่ 23 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. เขตจากกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น 10 ที่นั่งจากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว


ข้อมูลทั้งหมดจาก รายงาน “ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554” จัดทำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า