SHARE

คัดลอกแล้ว

 

วันที่ 26-30 พ.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดรับสมัครสมาชิกวุฒิสภาระดับอำเภอ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนจัดให้เลือกกันเอง จากอำเภอไปจังหวัดและไปที่ระดับประเทศ แล้วไปจบที่ คสช.จะเลือกขั้นตอนสุดท้าย 50 คน เพื่อไปรวมกับอีก 194 คนที่มาจากคณะกรรมการที่ คสช.แต่งตั้งเป็นผู้คัดเลือก และ อีก 6 คนจากกลุ่มผู้บัญชาการเหล่าทัพ กระบวนการทั้งหมดนี้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้มี ส.ว.250 คน   ที่ประชาชนเป็นผู้ดูไม่ได้เลือก ส.ว.เอง

ย้อนกลับไป 22 มี.ค. 2543 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ ส.ว.มาจากการเลือกของประชาชนโดยตรง 200 คน มีวาระ 6 ปี ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดจากรัฐธรรมนูญ 2540 และเป็นการเลือกตั้งที่มีสีสันมากที่สุดครั้งหนึ่ง

ข้อกำหนดคือ ผู้สมัคร ส.ว. หาเสียงไม่ได้แต่ทำเอกสารแนะนำตัวและป้ายเพื่อบอกหมายเลขประจำตัวได้ จังหวัดที่มี ส.ว.ได้หลายคน เช่น กรุงเทพมหานคร ที่มีได้ถึง 18 คน แต่มีผู้สมัครถึง 265 คน แต่ละบ้านจึงมีเอกสารแนะนำตัวใส่ตู้ไปรษณีย์จำนวนมาก ขณะที่ตามถนนหนทางก็เต็มไปด้วยป้ายบอกหมายเลขผู้สมัคร โดยที่ประชาชนเลือกผู้สมัครได้แค่คนเดียว

รายงานเรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า

สนามกรุงเทพฯ ที่มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงกว่า 3.8 ล้านคน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 2.7 ล้านคน ผู้ได้รับเลือกหลายคนเป็นคนดังระดับประเทศ เช่น ดำรง พุฒตาล พิธีกรชื่อดัง (387,994 คะแนน) , เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการและผู้ดำเนินรายการ (196,897 คะแนน) , พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ (71,081)

บางคนมีกลุ่มผู้สนับสนุนเฉพาะ เช่น ผ่อง เล่งอี้ อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ที่ใกล้ชิดกับวัดพระธรรมกาย (25,957 คะแนน) และสายเอ็นจีโอ อีกหลายๆ คน เช่น ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ (40,228 คะแนน) , จอน อึ๊งภากรณ์ (22,925 คะแนน)

แต่ที่คว้าอันดับ 1 ของสนามกรุงเทพฯ แบบไม่มีใครคาดคิด คือ ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน (421,515 คะแนน) เพราะเสียงกระซิบบอกต่อๆ กันถึงการทำงานก่อนหน้านั้น

ส่วน ส.ว.จากจังหวัดอื่นๆ ก็มีทั้งคนเด่นคนดังและผู้มีสายสัมพันธ์กับพรรคการเมือง เช่น พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร (สระบุรี), ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล (สุพรรณบุรี), ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช (ขอนแก่น), ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ (นครราชสีมา), ทนายทองใบ ทองเปาด์ (มหาสารคาม), พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก (เลย), ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ (ราชบุรี)
.
วุฒิสภาชุดนี้อยู่จนครบวาระ 6 ปี แต่ก็มีเสียงวิจารณ์บางด้าน เช่น บางส่วนเอนเอียงเข้าข้างรัฐบาล,การลงมติเลือกบุคคลเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระ ที่บางกลุ่มโหวตไปในทางเดียวกันอย่างน่าสงสัย

.

หลังจากนั้นมีการเลือก ส.ว.โดยกติกานี้อีกครั้ง แต่อยู่ได้เพียง 5 เดือน ก็มีการรัฐประหาร 2549 โดย ส.ว.ชุดนี้มีคนดัง เช่น ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์, สมัคร สุนทรเวช, กล้านรงค์ จันทิก, รสนา โตสิตระกูล,อุทัย พิมพ์ใจชน, บุญยอด สุขถิ่นไทย,อภิชาติ ดำดี, มั่น พัธโนทัย, สดใส โรจนวิชัย (รุ่งโพธิ์ทอง)
.
ต่อมามีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กำหนดให้เหลือ ส.ว.เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ที่เหลือมาจากการสรรหาอีก 73 คน ออกกติกาห้ามเครือญาตินักการเมืองลงสมัครและคุณสมบัติต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคอย่างน้อย 5 ปี

ปี 2556 มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กลับไปเลือก ส.ว. ทั้งหมดอีกครั้ง แต่ถูกคัดค้านโดยฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม ส.ว.สรรหา มีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมูญหรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ เป็นการแก้กลับไปสู่จุดบกพร่องที่เคยปรากฏแล้วในอดีต เป็นความพยายามนำประเทศให้ถอยหลังเข้าคลอง ทำให้วุฒิสภากลับไปเป็นสภาญาติพี่น้อง สภาของครอบครัวหรือสภาผัวเมีย สูญเสียสถานะและสถานภาพในการเป็นสติปัญญาให้สภาผู้แทนราษฎร


หลังจากนั้นคำว่า “สภาผัวเมีย” จึงเป็นวาทกรรมที่ผูกติดกับการเลือกตั้ง ส.ว. และกติกาของรัฐธรรมนูญก็ไม่เปิดช่องให้ประชาชนได้เลือก ส.ว.เองโดยตรงทั้งหมดเหมือนปี 2543 อีกเลย

https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921/798799867155960/?type=3&theater

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า