SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ การเมือง ณ เวลานี้ เป็นไปอย่างเข้มข้น คนกำลังเฝ้ารอว่าสุดท้ายใครจะได้จัดตั้งรัฐบาล และใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

แต่ต้องยอมรับว่านาทีนี้ ชื่อของ “เสี่ยหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย โดดเด่นขึ้นมา และ “มีความเป็นไปได้” สำหรับแคนดิเดตนายกฯ คนต่อไปของประเทศไทย แบบที่เซอร์ไพรส์ใครหลายๆ คน

พรรคภูมิใจไทย ที่มีคะแนนเสียง ส.ส. อยู่อันดับ 5 ทำไมสถานการณ์ต่างๆ ถึงมีโอกาสผลักดันให้อนุทินมีโอกาสเป็นนายกฯ คนใหม่ของประเทศได้ เราจะไปไล่เรียงกัน

1) การเลือกสส. แบบแบ่งเขต และปาร์ตี้ลิสต์ ทั้งหมดมี 500 คน กลุ่มไหน ที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง (251 เสียง) จะสามารถเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลได้

2) แม้จะมีความเชื่อกันว่า กลุ่มวุฒิสมาชิก (ส.ว.) ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. พร้อมใจเทคะแนนเสียงให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ต่อ อย่างไรก็ตาม ทางฝั่งพรรคพลังประชารัฐ จำเป็นต้องรวบรวมเสียงใน สภาล่าง ให้ได้เกิน 251 ไม่อย่างนั้น ต่อให้ พล.อ. ประยุทธ์ ได้การเสนอชื่อเป็นนายกฯ จริงๆ การทำงานก็เป็นไปได้ยากมากๆ

3) กล่าวคือ การเสนอกฎหมายต่างๆ ของประเทศไทย จำเป็นต้องได้เสียงสนับสนุนเกินครึ่งจากส.ส.ทั้งหมด 500 คน ดังนั้น ถ้าหาก พรรคพลังประชารัฐ ไม่สามารถ “รวม” คะแนนเสียงของ ส.ส.สภาล่าง ได้เกิน 251 ต่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ เสนอกฎหมายอะไรเข้าสภา ก็มีโอกาสโดนปัดตกทุกอย่างอยู่ดี ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น ไม่สามารถทำงานได้ ประเทศขับเคลื่อนไปไม่ได้

4) ในสถานการณ์ตอนนี้ พรรคต่างๆ ต่างมีจุดยืนกันค่อนข้างชัดเจนแล้ว โดยแกนนำหลักแบ่งเป็นสองขั้ว คือขั้วเพื่อไทย กับ ขั้วพลังประชารัฐ

5) ขั้วเพื่อไทย มีพรรคที่ยืนยันไม่เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ประกอบไปด้วย อนาคตใหม่, เสรีรวมไทย, เศรษฐกิจใหม่ ฯลฯ ขณะที่ ฝั่งพลังประชารัฐ มีพรรครวมพลังประชาชาติไทยที่ประกาศเข้าร่วมชัดเจน โดยมีการวิเคราะห์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศลงจากตำแหน่งหัวหน้า ก็ยิ่งมีโอกาสสนับสนุนพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกฯ มากขึ้นกว่าเดิม

6) ดูที่ตัวเลขแล้วทั้ง 2 ขั้ว เมื่อนับคะแนนจาก 4 พรรคแรก เพื่อไทยจับคู่กับอนาคตใหม่ และ พลังประชารัฐ จับคู่กับประชาธิปัตย์ ยังไม่มีขั้วไหนที่ได้ ส.ส.เกิน 251 คน ดังนั้นตัวแปรสำคัญของเกมนี้ จึงอยู่ที่ พรรคคะแนนเสียงอันดับ 5 ได้แก่ภูมิใจไทย ที่ได้คะแนนเสียงราว 51 ที่นั่ง

7) ภูมิใจไทย ยังไม่เคยออกตัวชัดเจนว่าจะเลือกไปอยู่ฝั่งพลังประชารัฐ หรือ อยู่ฝั่งเพื่อไทย โดยจุดยืนของพรรค ระบุชัดเจนว่า จะเข้าร่วมกับฝ่ายที่สนับสนุนนโยบายของตนเอง โดยเฉพาะปลดล็อคเสรีกัญชา และไม่เอานายกฯ เสียงข้างน้อย

8) นั่นทำให้ ฝั่งภูมิใจมีพาวเวอร์ในการต่อรองสูงมาก และสามารถค่อยๆ พิจารณาข้อเสนอดีๆ จากทั้ง 2 ขั้วได้ ที่จะเหมาะสมกับทางพรรคมากที่สุด

9) ถ้าภูมิใจไทยเลือกขั้วพลังประชารัฐ แม้พวกเขาอาจต้องยอมรับข้อเสนอที่จะให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็น่าจะได้ทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงเกรด A แน่นอน โดยก่อนหน้านี้ เราเห็นความสัมพันธ์อันดี ของ พล.อ.ประยุทธ์ กับ เนวิน ชิดชอบ ผู้ก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย โดยพล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปที่สนามช้าง อารีน่า ที่บุรีรัมย์ โดยมีเนวิน คอยดูแลเทกแคร์อย่างใกล้ชิดมาแล้ว นี่คือปัจจัยผลักดันความเป็นไปได้ที่ที่ภูมิใจไทยจะเลือกขั้วพลังประชารัฐ

10) แต่อีกมุมหนึ่งก็ “เป็นไปได้” ที่ภูมิใจไทย จะโยกไปร่วมกับขั้วเพื่อไทย หากได้รับข้อเสนอที่ดีมากๆ จนปฏิเสธไม่ลงจริงๆ ซึ่งถึงตอนนี้ข้อเสนอดังกล่าวคือ “เก้าอี้นายกรัฐมนตรี”

11) จุดสำคัญคือ ฝั่งเพื่อไทยจะ “ตัดสินใจ” ยื่นข้อเสนอนี้ให้ภูมิใจไทยหรือไม่ ที่ผ่านมาพรรคที่ได้ ส.ส. มากที่สุดมักจะได้เป็นนายกฯเสมอ ดังนั้น การตัดสินใจยกตำแหน่งนี้ให้กับพรรคอันดับ 5 ถือว่าไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าฝั่งเพื่อไทย ต้องการยุติเส้นทางเก้าอี้นายกฯ ของพล.อ.ประยุทธ์ ก็อาจจำเป็นต้องใช้ไม้นี้ เพื่อชักจูงภูมิใจไทยให้ได้

12) สำหรับขั้วเพื่อไทย แม้เพื่อไทย กับ อนาคตใหม่ จะมีจำนวนส.ส.ที่มากกว่า แต่ตอนนี้เกมอำนาจการต่อรอง ตกไปอยู่ในมือภูมิใจไทย ซึ่งถ้าฝั่งเพื่อไทยเสนอเพียง รมว.กระทรวงเกรด A ก็เป็นไปได้ที่ภูมิใจไทยจะปฏิเสธ เพราะเลือกอยู่กับขั้วพลังประชารัฐ ก็น่าจะได้ข้อเสนอไม่ต่างกัน

13) ประเด็นสำคัญจึงขึ้นอยู่กับเพื่อไทย ว่าจะเลือกยื่นข้อเสนอเก้าอี้นายกฯ ที่จะตัดแคนดิเดตระดับท็อปๆของตัวเองอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธ์ หรือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ยอมให้ฝั่งภูมิใจไทย ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

หรือจะตัดสินใจ “ยื่นข้อเสนอให้ภูมิใจไทย” เพื่อหยุดยั้งชัยชนะของฝั่งพลังประชารัฐ

14) สำหรับหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญวีรกูล เคยพูดชัดๆ ว่าเขาต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี “คนที่มาเล่นการเมือง ก็หวังที่จะได้รับตำแหน่งที่สามารถสั่งการในเชิงนโยบายได้” ซึ่งถ้าหากเขาได้รับข้อเสนอจากฝั่งเพื่อไทย อนุทินคงไม่ปฏิเสธ

15) อนุทิน ชาญวีรกูล เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ถือว่ามีประสบการณ์ทางการเมืองพอสมควร ขณะที่การศึกษา จบปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮอฟตร้า ในประเทศสหรัฐอเมริกา

หลังจากเรียนจบ ทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทเอกชน ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัดด้วย (แต่ลาออกจากการบริหารในปี 2547) ปัจจุบันอนุทิน มีอายุ 52 ปี มีบุตร 2 คน

16) สถานการณ์ล่าสุด นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า “ขอให้ใจเย็น ๆก่อน รอให้ทุกอย่างนิ่งก่อน” ขณะที่หุ้นของ บริษัท ซิโน-ไทย ในวันนี้ กระโดดขึ้นทันที 3.04% สวนทางตลาดหุ้น

ดังนั้นคงต้องจับตาดูสถานการณ์กันต่อไป ยังคาดเดาไม่ได้ว่าเกมการเมืองจะเกิดอะไรขึ้น บางที ประเทศไทยอาจมีนายกรัฐมนตรี ที่มาจากพรรคที่มี ส.ส. เป็นอันดับ 5 ก็ได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า