SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.47″ custom_padding=”0px|0px|11px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” custom_padding=”3px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/08/1535619746_66508_000_Hkg10104072.jpg” _builder_version=”3.0.63″ align=”center”][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”54px|0px|11px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“วันจันทร์ที่สดใส” นโยบายใหม่ที่ให้เข้างานหลังเที่ยงได้ในวันจันทร์ หวังเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ปัญหาตายเพราะทำงานมากไป

รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังกระตุ้นให้บริษัทเอกชนอนุญาตให้พนักงานไม่ต้องไปทำงานเช้าวันจันทร์ตามโครงการ “Shining Mondays” หรือวันจันทร์ที่สดใส เพื่อปรับปรุงสมดุลการใช้ชีวิตกับการทำงานของพนักงานบริษัท 

แนวคิดนี้สืบเนื่องจากการรณรงค์โครงการ “Premium Fridays” หรือวันศุกร์สุดพิเศษ ที่เริ่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นให้คนทำงานเลิกงานตรงเวลาไม่ทำโอทีทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน โดยเชื่อว่าจะช่วยให้คนเหล่านี้มีเวลาอยู่กับครอบครัว พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือทำกิจกรรมที่ชอบได้มากขึ้น รัฐบาลยังคาดหวังว่านโยบายนี้จะช่วยลดความเครียดจากการทำงาน และยังเป็นการส่งเสริมการใช้จ่ายของผู้คน รวมไปถึงอาจกระตุ้นการเพิ่มจำนวนประชากรได้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://site-assets.mediaoxide.com/workpointnews/2018/08/30160225/1535619742_41451_000_Hkg1436023-1-960×576.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เจ้าของไอเดียนี้ ได้ทดลองให้ข้าราชการในกระทรวงเข้างานหลังเที่ยงในวันจันทร์แรกของเดือนสิงหาคมต่อเนื่องจากวันศุกร์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมที่ให้เลิกงานตรงเวลา ทางกระทรวงอ้างว่าการขาดพนักงานพร้อมกันจำนวนหลายร้อยคนช่วงเช้าวันจันทร์ ไม่ได้ส่งผลกระทบในแง่ลบต่องานของกระทรวง

คงต้องรอดูกันว่าบริษัทเอกชนจะขานรับโครงการนี้หรือไม่เพราะรัฐบาลทำได้เพียงขอความร่วมมือเท่านั้น แต่ผลการสำรวจ 1 ปีหลังเริ่มใช้นโยบายวันศกร์สุดพิเศษ พบว่า มีพนักงานบริษัทแค่ 11.2% เท่านั้นที่เลิกงานตรงเวลาในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน หลายบริษัทอ้างว่างานเยอะมากโดยเฉพาะช่วงสิ้นเดือน ทำให้พนักงานจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา

รัฐบาลญี่ปุ่นหันมาสนใจด้านลบจากวัฒนธรรมการทำงานหนักของคนในชาติ หลังมะสึริ ทากาฮาชิ บัณฑิตหมาด ๆ จากมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศ ฆ่าตัวตายเมื่อปี 2558 หลังเข้าทำงานที่บริษัทโฆษณาชื่อดังเพียงไม่นานเพราะทำงานหนักจนรับไม่ไหว หลายเดือนก่อนที่ทากาฮาชิจะฆ่าตัวตาย เธอทำงานล่วงเวลากว่า 100 ชั่วโมง

 

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า