SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีมีการเผยแพร่คลิป ที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจให้กับผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก อันเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานการศึกษาแห่งหนึ่งใน จ.พะเยา โดยมีนักเรียน ม.2 กลุ่มหนึ่ง ได้รุมรังแกนักเรียนหญิงชั้น ป.4 ซึ่งภาพที่ปรากฏแม้ผู้กระทำผิดยังเป็นเยาวชน แต่ก็รุนแรงจนผู้ที่ได้เห็นคลิปต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “รับไม่ได้”

ล่าสุด เมื่อเวลา 13.46 น. วันที่ 11 ต.ค. 61 นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงการแก้ปัญหาที่เหมาะสม โดยแสดงความคิดเห็นว่า การทำทัณฑ์บน หรือกล่าวคำขอโทษไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้กระบวนการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น การใช้กระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น โดยข้อความทั้งหมดมีเนื้อหาดังนี้

“กรณีเด็ก ม.2 ทำร้ายเด็ก ป.4 ไม่ควรนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นการขัดขวางพัฒนาการตามวัยของเด็ก แต่ควรใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก เพื่อปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม

“การที่เด็กมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง นั้นเป็นพฤติกรรมเกเร (Conduct Behavior) ซึ่งหากพิจารณาตามจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและฮอร์โมนส่งผลให้วัยรุ่นมีอารมณ์แปรปรวนง่าย ไม่คงที่ ฉุนเฉียว โกรธง่าย และมักแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง

“จึงทำให้เด็ก/เยาวชนที่กระทำผิดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่น มีพฤติกรรมการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น พฤติกรรมขโมย พูดปด หลอกลวง หนีเรียน หนีออกจากบ้าน ชกต่อย รังแกคนอื่น รังแกสัตว์ และทำลายของสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีความเกี่ยวพันกับระดับของปัญหาและความเสี่ยงต่อการทำผิดในอนาคต และกระทำผิดซ้ำได้

“ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ควรปล่อยผ่านด้วยกระบวนการปกติ จากประสบการณ์ที่เคยเป็นทีมพัฒนาเครื่องมือจำแนกเพื่อค้นหาสาเหตุปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยจำเป็นในการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชน การใช้ความรุนแรง จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีการสอบถามในเครื่องมือดังกล่าว เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขบำบัดเด็ก/เยาวชน ได้ตรงกับสภาพปัญหามากยิ่งขึ้น

“ดังนั้น การที่เด็กหรือเยาวชนมีพฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรง จึงถือว่าเป็นเด็กเสี่ยงต่อการกระทำผิดได้ และในการพัฒนาเครื่องมือจำแนกเด็กหรือเยาวชนในการในแบบประเมินความเสี่ยงและความจำเป็น จึงถือว่าเป็นพฤติกรรมเกเร (Conduct Behavior) นั้น ต้องได้รับการบำบัดแก้ไขฟื้นฟู

“ดังนั้น การทำทัณฑ์บน หรือกล่าวคำขอโทษจึงไม่เป็นการเพียงพอ จำเป็นต้องใช้กระบวนการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมประกอบด้วย เช่น การใช้กระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งสามารถประสานงานได้ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ ให้เข้าไปช่วยดำเนินการครับ”

ข้อมูลเเละภาพจาก เฟซบุ๊ก ธวัชชัย ไทยเขียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า