SHARE

คัดลอกแล้ว

ส.ส.-ส.ว. เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกลไกประชาธิปไตยที่กำลังจะมาถึงหลังการเลือกตั้ง
ทีมข่าวเวิร์คพอยท์พามาดูหน้าที่ของส.ส.และส.ว.กัน

หน้าที่หลักของส.ส.และส.ว. คือการออกและกลั่นกรองกฎหมา

การออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แต่ละครั้งจะเริ่มจาก ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนที่มีในสภา (50 คน)* เสนอร่าง พ.ร.บ. ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา โดยในขั้นตอนการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณากัน 3 วาระ หากร่าง พ.ร.บ.นั้นผ่านการพิจารณาและลงมติผ่านทั้ง 3 วาระในสภาผู้แทนราษฎร ก็จะถูกส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณากลั่นกรองอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยหาก

วุฒิสภาอนุมัติให้ พ.ร.บ. นั้นผ่านด้วยเสียงข้างมาก ร่าง พ.ร.บ. ก็จะถูกขึ้นนำทูลเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บังคับใช้เป็นกฎหมาย หรือ
วุฒิสภามีมติแก้ไขร่าง พ.ร.บ. แล้วส่งกลับให้ ส.ส. พิจารณาลงมติ หาก ส.ส. ยังคงยืนยันเห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ. นั้น ก็จะมีการลงมติอนุมัติให้เป็นกฎหมาย หรือ วุฒิสภามีมติไม่อนุมัติร่าง พ.ร.บ. แต่ส.ว.ก็ไม่มีอำนาจปัดร่างนั้นตกไปเลย ร่าง พ.ร.บ. จะถูกเก็บไว้ 180 วัน แล้วจึงตีกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่อีกครั้ง หาก ส.ส. ยืนยันจะออกร่างกฎหมายดังกล่าว ก็ต้องมีเสียงโหวตในสภามากกว่า 251 เสียง (มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร)

ทั้งนี้หากเป็นร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกฯ ก่อน

นอกจาก พ.ร.บ. แล้ว ส.ส. และ ส.ว. ยังมีหน้าที่อนุมัติร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี ว่าจะให้บังคับใช้ต่อไปเป็นกฎหมายในระดับ พ.ร.บ. หรือไม่ หรือเข้าชื่อต่อประธานสภาให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่ามีเหตุอันเพียงพอจนต้องออก พ.ร.ก. จริงหรือไม่

คณะรัฐมนตรี และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตตั้งรวมกัน 10,000 คน มีสิทธิเสนอร่าง พ.ร.บ. ให้รัฐสภาพิจารณาได้เช่นเดียวกัน

ส.ส. และ ส.ว. ยังมีบทบาทในการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย โดยส.ส. อย่างน้อย 100 เสียง (ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด) หรือ ส.ส. และ ส.ว. รวมกันไม่น้อยกว่า 150 เสียง (1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน) สามารถเข้าชื่อเพื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้

ภายหลังจากเสนอแล้ว ต้องเข้าที่ประชุมรัฐสภาให้พิจารณา 3 วาระจึงจะแก้ไขได้

วาระแรก : ต้องมีคะแนนเห็นชอบไม่น้อยกว่า 376 เสียง (ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทั้ง 2 สภารวมกัน) และในจำนวนเสียงที่เห็นชอบนั้น ต้องประกอบด้วยเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. อย่างน้อย 84 เสียง (1 ใน 3 ของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด)

วาระที่ 2 : ต้องมีคะแนนเสียงสนับสนุนจากเสียงข้างมากของทั้งสองสภารวมกันรวมกัน

และวาระที่ 3 : ต้องได้เสียงเห็นชอบจากทั้งสองสภาต้องไม่น้อยกว่า 376 เสียง (มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด) และในนั้นต้องมีเสียงจาก ส.ส. ที่มาจากพรรคต่างๆ ที่ไม่ได้มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภา หรือรองประธานสภา (พูดอย่างหยาบๆ คือ ส.ส. จากพรรคฝ่ายค้าน) คิดแล้วเป็น 20% ของจำนวนที่นั่ งส.ส. ที่พรรคเหล่านั้นมีรวมกัน อีกทั้งยังต้องมีเสียงของ ส.ว. อย่างน้อย 84 เสียง (1 ใน 3 ของสมาชิกวุฒิสภา) สนับสนุนด้วย

รัฐธรรมนูญนี้กำหนดให้ ส.ว. สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. ได้ในช่วง 5 ปีแรก

โดย ส.ส. อย่างน้อย 50 เสียง (ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสภาผู้แทนราษฎร) มีอำนาจเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากรายชื่อที่พรรคการเมืองส่งให้ กกต. ก่อนหน้านั้นได้ โดยรายชื่อที่จะได้รับการพิจารณาต้องเป็นรายชื่อของพรรคที่มี ส.ส. ไม่ต่ำกว่า 25 คนในสภา

ในช่วง 5 ปีแรก ตามบทเฉพาะกาล ส.ส. และ ส.ว. ร่วมเลือกนายกฯ ด้วยคะแนนเสียงอย่างน้อย 376 เสียง (มากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา)

หากเลือกนายกฯ จากในรายชื่อนี้ไม่ได้ ต้องโหวตด้วยคะแนนเสียง 376 เสียง (ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา) เพื่อขอให้แคนดิเดตนายกฯ ไม่ต้องมาจากแค่ในบัญชีที่พรรคการเมืองยื่น และโหวตเลือกนายกฯ ตามขั้นตอนปกติ

หลังจากช่วง 5 ปีแรก รัฐธรรมนูญจึงจะให้ ส.ส. เป็นผู้เลือกนายกฯ เพียงสภาเดียว

ส.ส. และ ส.ว.ยังทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) ด้วย โดย ส.ส. สามารถตั้งกระทู้ถามและเปิดอภิปราย หรือหากมีเหตุพอ ส.ส. อย่างน้อย 100 คน (ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ) สามารถขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือคณะรัฐมนตรีทั้งคณะได้

หากมีการลงมติไม่ไว้วางใจโดยมีคะแนนเสียงอย่างน้อย 251 เสียง (มากกว่ากึ่งหนึ่ง) รัฐมนตรีคนนั้น หรือคณะรัฐมนตรีชุดนั้นก็จะพ้นจากตำแหน่ง

ในส่วนของ ส.ว. พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ยังให้อำนาจตรวจสอบและเร่งรัดให้รัฐบาลทำตามแผนยุทธศาสตร์ชาติไว้ด้วย โดยหากคณะรัฐมนตรีไม่ทำตามยุทธศาสตร์ชาติ ส.ว.ก็สามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินได้

ส.ส.ไม่มีอำนาจแต่งตั้งองค์กรอิสระ

ส่วน ส.ว. มีอำนาจในการอนุมัติเห็นชอบผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ในการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระอื่น ๆ อย่างป.ป.ช., ก.ก.ต., ผู้ตรวจการแผ่นดิน, คณะกรรมการผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ก็ต้องได้รับการโหวตรับรองจากวุฒิสภาหลังผ่านการสรรหามาแล้วเช่นกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า