SHARE

คัดลอกแล้ว

(แฟ้มภาพ)

ย้อนอดีตและทำความรู้จักแนวคิด “รัฐบาลแห่งชาติ” ที่กำลังจะเป็นประเด็นร้อนของการเมือง พอๆ กับอุณหภูมิในเดือนเมษายนปีนี้

ช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่เพิ่งผ่านมา “รัฐบาลแห่งชาติ” ถูกพูดถึงอย่างหนาหูในหมู่คนสอดแทรกมากับเทศกาลสาดน้ำที่กำลังสนุกสนาน แต่หลายคนที่ยังไม่เข้าใจนั้น อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดก็คือ การมี “รัฐบาล” แบบที่พรรคการเมืองมาทำงานร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายค้าน

ที่ผ่านมามีผู้เสนอเรื่องแนวคิดตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” ตั้งแต่ก่อนเกิดการรัฐประหาร ปี 2549 ให้สภาผู้แทนราษฎร (ทุกพรรคการเมืองที่มี ส.ส.) ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีฝ่ายค้าน โดยหาบุคคลคนหนึ่งมาทำหน้าที่ “นายกฯ คนกลาง”

แต่ทฤษฎีนี้ไม่เคยได้นำไปปฏิบัติ เพราะถูกปฏิเสธจากฝ่ายการเมืองส่วนใหญ่ ที่มองว่า การไม่มีฝ่ายค้านในสภาไม่ต่างจากการทำลายระบอบประชาธิปไตย และอีกนัยยะหนึ่งในฐานะนักเลือกตั้ง คือการที่ฝ่ายการเมืองต้องสูญเสียอำนาจให้กับผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

คำว่า “รัฐบาลแห่งชาติ” ดังขึ้นอีกครั้งในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย หลัง กกต.เสนอศาลรัฐธรรมนูญตีความสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อเพื่อผ่าทางตันของกกต.

กระทั่งวันที่ 15 เม.ย. 2562 ขุนพลพรรคประชาธิปัตย์ “เทพไท เสนพงศ์” ลุกมาเสนอ 4 รายชื่อ “นายกฯ คนกลาง” ได้แก่ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสารท, นายพลากร สุวรรณรัฐ, นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ และนายชวน หลีกภัย

(นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558)

ความจริงแล้วในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีการพูดถึง “รัฐบาลแห่งชาติ” มากที่สุดยุคหนึ่ง ในช่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ปี 2558 มีการส่งคำถาม “ตั้งรัฐบาลเพื่อการปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ” ให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. พิจารณาเป็น “คำถามพ่วงประชามติ” แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวตกไปก่อน โมเดลรัฐบาลแห่งชาติจึงยังไม่เกิด

นักการเมืองอาวุโสที่พูดเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ในยุคคสช. คนหนึ่งคือ นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่กล่าวไว้เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2560 ในช่วงคดีจำนำข้าว ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ตอนนั้น นายพิชัยเสนอว่า ความหวังของบ้านเมืองยังมีทางเลือกที่อีกทางที่ยากหน่อย คือการมีรัฐบาลต่อไปที่สวยงาม โดยพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปปัตย์ หรือพรรคอย่างภูมิใจไทย รวมกับทหารตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ไม่แน่ใจว่าทหารหรือพรรคการเมืองจะเอาไหม ที่พูดมานี้เพื่อให้เกิดความปรองดอง ไม่ใช่การซูเอี๋ย แต่ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นศัตรูกับทหาร และมานั่งทำงานปรองดองเพื่อชาติ ส่วนใครจะเป็นนายกฯก็ให้ว่ากัน ซึ่งคนที่ริเริ่มได้คือ พล.อ.ประยุทธ์

ชวลิต ยงใจยุทธ (แฟ้มภาพ)

นอกจากนี้ “พ่อใหญ่จิ๋ว” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เป็นบุคคลแรกๆ ที่เสนอเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาหลายสิบปี และเช่นเดียวกันก่อนการเลือกตั้ง เมื่อ 9 ก.พ. 2562 ก็เปิดบ้านย้ำคำเดิมว่า ต้องมีรัฐบาลแห่งชาติชั่วคราว ทุกพรรคจับมือกันหาคนกลางแก้รัฐธรรมนูญแล้วเลือกตั้งใหม่…แต่การเลือกตั้ง 24 มีนาคมก็ดำเนินต่อไปแบบที่ไม่มีใครคิดว่า คำพูดของพ่อใหญ่จิ๋ว จะหวนกลับมาอีกครั้ง

ซุ่มเสียงที่เบรกข้อเสนอของ “เทพไท เสนพงศ์” ทันทีที่เสนอตั้งรัฐบาลชั่วคราว 2 ปี โดยมีนายกฯ คนกลาง ซึ่งแปลว่าจะไม่ใช่ “นายกฯลุงตู่” นั่นคือ “สมศักดิ์ เทพสุทิน” ประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) อดีตแกนนำกลุ่มสามมิตร พร้อมชี้ว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ไม่ถึงจุดที่จะไปถึงทางตัน!!

และอีกฟากก็ค้านสุดตัว…จากแถลงการณ์ของ “พรรคอนาคตใหม่” เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2562 ข้อ 5 ได้ระบุว่า “พรรคอนาคตใหม่มีความพร้อมกับการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ทั้งในด้านบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี บุคคลที่เหมาะสมเป็นรัฐมนตรี ผู้สมัคร ส.ส. ตลอดจนนโยบายของพรรคที่มุ่งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทั้งระบบ เรายืนยันว่า หากพรรคอนาคตใหม่ได้เสียงข้างมากเพียงพอ พรรคอนาคตใหม่พร้อมเป็นรัฐบาล และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พร้อมเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่หากเกิดกรณีจัดตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” ที่รวบรวมทุกพรรคการเมืองเข้าด้วยกัน พรรคอนาคตใหม่ก็พร้อมเป็นฝ่านค้าน ไม่ใช่เพียงเพราะว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 106 บังคับให้ต้องมีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น แต่ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาจำเป็นต้องมีฝ่ายค้านที่คอยตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลด้วย”

แม้แนวคิดหรือทฤษฎีเรื่อง”รัฐบาลแห่งชาติ” และ “นายกฯ คนกลาง” ที่พูดถึงในห้วงเวลากว่า 10 ปีมานี้ จะดูยากยิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่อะไรก็อาจเป็นไปได้และอาจเป็นไปไม่ได้…คงต้องติดตามกันว่า ท้ายที่สุดการเมืองไทยจะเดินหน้าไปเจอแสงสว่างหรือทางตันให้ต้องวกวนกันต่อไป

 

ขอบคุณภาพ FB : บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า