SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาล ชี้แจงกรณีรายงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) ไม่ใช่สหประชาชาติ จัดไทยอยู่ในกลุ่ม 38 ประเทศ ที่มีพฤติกรรมน่าละอายสิทธิมนุษยชน ข่มขู่นักสิทธิมนุษยชน ส่งทูตไทยชี้แจงสัปดาห์หน้า

วันที่ 15 ก.ย. เพจ ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ได้เผยแพร่คำชี้แจงกรณีคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จัดไทยอยู่ในกลุ่ม 38 ประเทศที่มีพฤติกรรมน่าละอาย ในการตอบโต้หรือข่มขู่ผู้ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยใช้ชื่อหัวข้อว่าไขข้อข้องใจ! ประเทศไทยน่าละอาย จริงหรือ?

โดยมีเนื้อหาระบุว่า สหประชาชาติ เปิดเผยรายงานประจำปี แจงรายชื่อ 38 ประเทศ ว่าเป็น “ประเทศที่น่าละอาย” โดยอ้างว่าทั้ง 38 ประเทศ ปฏิบัติไม่ดีต่อนักสิทธิมนุษยชนหรือผู้ให้ความร่วมมือกับกลุ่มสิทธิมนุษยชน ด้วยการตอบโต้หรือข่มขู่บุคคล ทั้งการสังหาร ทรมาน และจับกุมตัวตามอำเภอใจ และ 38 ประเทศที่ว่านี้ มี 29 ประเทศ ที่เพิ่งถูกขึ้นบัญชี หนึ่งในนั้น คือ ประเทศไทย

ชื่อของประเทศไทยปรากฏอยู่ในหมวดเกี่ยวกับรายงานสถานการณ์ของการถูกคุกคามหรือกลั่นแกล้งจากการร่วมมือกับยูเอ็น ต่อตัวแทนของยูเอ็น และกลไกในพื้นที่สิทธิมนุษยชน เรื่องแบบนี้คนไทยอย่างเรา ๆ รู้แล้วก็ไม่สบายใจ

ถ้าพลิกไปดูรายละเอียดจะพบว่า รายงานประจำปีฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะใช้ประกอบการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นในสัปดาห์หน้า ในส่วนของไทย มีการหยิบยกกรณีนายไมตรี จำเริญสุขสกุล และ น.ส. ศิริกาญจน์ เจริญศิริ (ทนายจูน) และนำเรื่องที่ติดตามจากรายงานปีที่แล้ว เช่น กรณีฟ้องร้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภายใต้ มาเขียนไว้ซึ่งถ้าดูกันให้ดีแล้ว เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการให้ความร่วมมือตามกลไกด้านสิทธิมนุษยชน เพราะขั้นตอนทุกอย่างเป็นไปตามหลักกฎหมาย

รัฐบาลไทยยืนยันชัดเจนว่า ไม่มีนโยบายหรือเจตนาจะคุกคาม ข่มขู่ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน แถมยังให้ความสำคัญกับการปกป้องคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชนให้มีความปลอดภัยและสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติงานและดำรงชีวิตได้ ยกตัวอย่างเช่น…

  • แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนามาตรการคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด
  • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวางแนวทางคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชน
  • จัดทำคู่มือสำหรับนักสิทธิมนุษยชน
  • ลงพื้นที่ติดตามการคุ้มครองกรณีนักสิทธิมนุษยชนถูกละเมิด หรือมีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด
  • จัดทำรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีทุกสัปดาห์
  • ปรับปรุง พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และบรรจุเรื่องของนักสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2562 – 2566
  • จัดตั้งคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ โดยมีรมว. ยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ

ฉะนั้น สัปดาห์หน้าทูตไทยประจำยูเอ็น จะไปร่วมรับฟังการนำเสนอรายงานนี้ และจะใช้โอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงให้รู้กันไป

ย้อนมาดูที่สื่อไทย หลายสำนักพาดหัวข่าวทำนองว่า “ยูเอ็นขึ้นบัญชีดำ” ไทย “เป็นประเทศน่าละอาย” ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของยูเอ็นโดยตรง แต่เป็นเรื่องของ “คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” หรือ UNHRC ( UNHCR เดิม) ซึ่งเป็นหน่วยงานในเครือของยูเอ็นอีกที หน่วยงานออกรายงานเผยแพร่ รายชื่อ 38 ประเทศ ที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่การ “ขึ้นบัญชีดำ” อย่างที่หลายคนเข้าใจ

นอกจากนี้ การนำเสนอข่าวมักกล่าวถึงเพียงบางประเทศ เช่น ไทย จีน เมียนมา แต่กลับไม่ค่อยได้พูดถึงประเทศอื่นอีก 30 กว่าประเทศ และนี่คือรายชื่อทั้ง 38 ที่ถูกกล่าวหา แอลจีเรีย บาห์เรน บุรุนดี แคเมอรูน จีน โคลัมเบีย คิวบา คองโก จิบูตี อียิปต์ กัวเตมาลา กายอานา ฮอนดูรัส ฮังการี อินเดีย อิหร่าน อิรัก อิสราเอล ญี่ปุ่น คีร์กีซสถาน มัลดีฟส์ มาลี เม็กซิโก โมร็อกโก เมียนมา ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ รัสเซีย รวันดา ซาอุดิอาระเบีย ซูดานใต้ ไทย ตรินิแดดแอนด์โตเบโก ตุรกี เติร์กเมนิสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อูซเบกิสถาน และเวเนซุเอลา

และก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาได้ถอนตัวออกจาก UNHRC ไปแล้ว งานนี้ก็คงต้องไปพลิกดูรายละเอียดกันแล้วว่า แต่ละประเทศถูกกล่าวหากันอย่างไร แล้วมันน่าละอายถึงขนาดนั้นจริงหรือไม่ !

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กต.ชี้แจงไทยไม่มีนโยบายคุกคามนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า