SHARE

คัดลอกแล้ว

บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กับ สปป.ลาว แต่สำหรับเหตุการณ์เขื่อนเซเปียนในลาวแตก ผู้ว่าฯ บึงกาฬ ยืนยัน ไม่มีผลกับประเทศไทย ขณะที่บริษัทไทยร่วมทุนสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย ชี้แจง ไม่กระทบเขื่อนหลัก และ ไม่มีผลต่อกำหนดจ่ายไฟฟ้าในปีหน้า

วันที่ 24 ก.ค. นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) เปิดเผยว่า เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยใน สปป.ลาว เกิดเหตุสันเขื่อนดินย่อยส่วน D แตก เนื่องจากปริมาณน้ำมากเกินกำหนด หลังจากฝนตกต่อเนื่อง ทำให้มวลน้ำราว 600 ล้านลูกบาศก์เมตรไหลเข้าท่วมบ้านเรือนในเมืองสะหนามไซ แขวงอัตตะปือ ของสปป.ลาว ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

สำหรับเขื่อนดินย่อยส่วน D เป็น 1 ใน 5 เขื่อนย่อยที่อยู่ล้อมรอบเขื่อนหลักที่ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่กระทบกับเขื่อนหลัก และเชื่อว่า จะไม่มีผลต่อกำหนดการเริ่มจ่ายไฟฟ้าในเดือน กุมภาพันธ์ปี 2562 โดยหลังจากนี้บริษัทที่รับเหมาก่อสร้าง จะสร้างคันโดยรอบอีกชั้นหนึ่งเพื่อเสริมความแข็งแรงของเขื่อนย่อย

อนึ่ง โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท RATCH ในสัดส่วน 25 % SK Engineering & Construction Company Limited สัดส่วน 26 % Korea Western Power Company Limited สัดส่วน 25 %  และรัฐบาล สปป.ลาว 24 %

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ได้แจ้งประชาชนชาวบึงกาฬว่า ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะเขื่อนเซเปียน ห่างจากเมืองปากเซ ราว 250 กิโลเมตร และ ปริมาณน้ำที่ไหลออกจากเขื่อน ยังไม่มีผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง โดยทางจังหวัดบึงกาฬได้ประสานกับ สปป.ลาวตลอดเวลา เพื่อติดตามสถานการณ์ และข้อมูลการเกิดภัยครั้งนี้ หากจะส่งผลกระทบกับคนไทยจะรีบแจ้งให้ทราบทันที นอกจากนี้ หากทางสปป.ลาว ต้องการความช่วยเหลือ จังหวัดบึงกาฬก็พร้อมสนับสนุน

คำชี้แจงของบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 24 ก.ค. 2561

ขอบคุณภาพ ABC Laos news ສຳນັກຂ່າວເອບີຊີລາວ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถานทูตไทย เชิญ ปชช.ร่วมบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัย สปป.ลาว เหตุวิกฤติเขื่อนแตก

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์: workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า