SHARE

คัดลอกแล้ว

เคยไหม? รู้สึกว่าเงินเดือนที่มีอยู่ตอนนี้ไม่พอใช้ ต่อให้หามามากแค่ไหนก็จ่ายหมด หรือแม้แต่อยากรวยเร็ว เลยรีบลงทุนแต่จบที่การเป็นหนี้ สารพัดปัญหาต่างๆ นี้ล้วนเกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ทั้งสิ้น แต่ที่จริงแล้วต้นเหตุของปัญหาคือรายได้ที่น้อยเกินไป หรือเราไม่เคยหันมามองวิธีการใช้เงินของตัวเองกันแน่ การชักหน้าไม่ถึงหลัง หรืออยู่แบบแสนประหยัดแต่ชีวิตไม่มีความสุข เป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนปัญหาการบริหารเงินไม่เป็นของเราหรือเปล่า?

ข้อมูลจากกรุงศรี คอนซูมเมอร์ เผยว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายของคน GEN Y ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 บาท และมีวงเงินเฉลี่ย 70,000 บาท มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยสูงถึง 113,000 บาทต่อปี หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ ทั้งยังมีอัตราการผิดนัดชำระสูง ที่น่าสนใจคือค่าใช้จ่ายหมวดที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในรอบ 5 ปี ได้แก่ การช้อปออนไลน์ เช่ารถ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ และการท่องเที่ยว ตามลำดับ

ตัวเลขทั้งหมดนี้หมายความว่าคนรุ่นใหม่กำลังหมดเงินไปกับความสุขส่วนตัวต่างๆ ที่หากมองอีกแง่ อาจเป็นการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา อาทิ  เงินไม่พอใช้ ไม่มีเงินเหลือเก็บ และตามมาด้วยการก่อหนี้ เป็นวังวนต่อเนื่องไม่จบไม่สิ้น

ถ้าหากไม่อยากติดอยู่ในวังวนแบบนี้อีก แล้วต้องทำอย่างไร? ต้องหาเงินเก่งแค่ไหนถึงจะไม่ลำบาก?

ใช่แล้ว ทางออกหนึ่งของปัญหานี้ คือ การหาเงินเพิ่ม การหาเงินเก่งย่อมเป็นเรื่องดี แต่ใช้เงินที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพกลับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่า ในยุคปัจจุบันที่เพียงแค่คุณก้าวเท้าออกจากบ้านก็มีค่าใช้จ่ายมากมายรอให้คุณควักเงินออกจากกระเป๋า แล้วคุณจะวางแผนการใช้เงินอย่างไรให้สุดท้ายมีเงินเหลือเก็บ แต่ขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้จ่ายเงินได้ตามที่คุณต้องการ

คำถามข้างต้นมีคำตอบดีๆ ให้ภายในงานสัมมนา “ใช้เงินเป็น เห็นทางรวย” จากโครงการ ‘ฉลาดคิด ฉลาดใช้’ ที่จัดขึ้นโดย กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เพื่อมุ่งหวังให้คนไทยทุกคนรู้จักสร้างวินัยทางการเงินของตนเอง และรู้วิธีบริหารการเงินอย่างชาญฉลาด ซึ่งเราขอสรุปแนวคิดการใช้เงินที่น่าสนใจจากงานนี้ ดังนี้

เริ่มต้นจากการตั้งข้อสงสัยก่อนว่า ทุกวันนี้เราเคยคำนวณดูบ้างไหมว่าใช้เงินไปวันละเท่าไหร่? การบริหารเงินที่ถูกต้องเริ่มจากการรู้รายรับ-รายจ่ายของตัวเอง แล้วจึงจะเข้ามาสู่แวดวงการเงินและการลงทุน

แอน ทองประสม นักแสดง และผู้จัดละคร ซึ่งเป็นแขกรับเชิญพิเศษในงาน ร่วมแบ่งปันวิธีการบริหารงบประมาณในการจัดทำละคร รวมถึงการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของเธอว่า “ไม่มีเงินอย่าใช้  ไม่มีเงินอย่าสร้างหนี้ เมื่อมีเงินแล้วต้องให้เงินดูแลเราไปพร้อมกับการรู้เท่าทันเงิน”

ด้าน ‘มาดามฟินนี่’ หรือ ‘พนิดา ชูกุล  กูรูทางการเงินเจ้าของเพจ ‘มาดามฟินนี่ Money-More-Fin’ ร่วมบรรยายในหัวข้อ “ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม แค่คิดเพิ่มเรื่องเงิน” ก็ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ผิดพลาดด้านการเงินของตัวเอง เพื่อเป็นข้อเตือนใจ ทั้งยังเผยวิธีคิดและการบริหารชีวิตด้านการเงินด้วยหลักการ 3 ข้อ ได้แก่ วางแผนการเงิน, เข้าใกล้เป้าหมายด้วยการออม และลงทุนให้เกิดคุณค่าและมูลค่าแบบทวีคูณ

‘หนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์’ เจ้าของเพจ  ‘Money Coach’ และ ‘พนิดา ชูกุล’  กูรูการเงินจากเพจ ‘มาดามฟินนี่ Money-More-Fin’

ปิดท้ายงานสัมมนาด้วยเคล็ดลับดี ๆ จาก  ‘หนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์’ เจ้าของเพจ  ‘Money Coach’ ที่มาเผยวิธีจัดสรรการเงินที่ต่างจากจากสูตรสำเร็จสมัยก่อนที่โดนสอนมาว่าให้ ขยันสร้าง ขยันออม ซึ่งไม่เพียงพอแล้วสำหรับสมัยนี้  Money Coach จึงมาพร้อมแนวคิดกระแทกใจกับหัวข้อ “Secret Tips พิชิตเป้าหมาย ด้วยแผนการเงิน”  โดยได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับคำว่า ‘รวย’ ที่เดี๋ยวนี้มีนิยามแตกต่างกันออกไป ผลลัพธ์ของความสำเร็จของแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไปด้วย

แม้โจทย์ทางการเงินของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่ Money Coach อยากให้ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การมีรายได้ตอบโจทย์ สามารถเติมความฝันได้ รับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน และมีความมั่งคั่งเพียงพอในบั้นปลายชีวิต

ทั้งหมดนี้สามารถสร้างได้จากวิธีคิดการจัดพอร์ตการเงิน 4 แบบ ได้แก่

  • พอร์ตสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่เก็บไว้ใช้ยาม ‘ฉุกเฉิน’ หรือจำเป็นจริง ๆ เช่น ตกงาน เกิดอุบัติเหตุ โดยใช้วิธีแบ่งสะสมจากรายรับไปเรื่อยๆ  อาจเก็บโดยผ่านการฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ พร้อมปรับลดขนาดของพอร์ตได้ตามความคล่องในการใช้จ่ายในแต่ละช่วงชีวิต
  • พอร์ตเงินออมที่เติมเต็มชีวิต คือ เงินเก็บเพื่อใช้ซื้อสิ่งที่ต้องการ อาจเป็นเป้าหมายระยะสั้นอย่าง ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ หรือท่องเที่ยว โดยเจ้าของพอร์ตต้องกำหนดแผนการเงิน ว่าสิ่งที่ต้องการนั้นราคาเท่าไหร่ และจะต้องเก็บเดือนละเท่าไหร่จึงจะซื้อได้ จากนั้นจึงเก็บให้ได้ตามแผน
  • พอร์ตเกษียณรวย คือ เงินที่เก็บไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ ขนาดของพอร์ตสามารถปรับได้ตามคุณภาพชีวิตที่ต้องการ เช่น อยากมีเงินใช้จ่ายหลังเกษียณเดือนละ 2 หมื่นบาท ไปอีก 20 ปี แปลว่าต้องมีเงินในพอร์ตนี้ไม่ต่ำกว่า 4,800,000 บาท โดยใช้วิธีทยอยเก็บสะสมไปเรื่อย ๆ ตลอดช่วงชีวิตการทำงาน
  • พอร์ตเกษียณเร็ว คือ การนำเงินออมไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างรายได้ เพื่อให้เกิดกระแสเงินสดที่มากกว่ารายจ่ายต่อเดือน โดยอาจลงทุนกับหุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า หรือทำธุรกิจ ทั้งนี้ เจ้าของพอร์ตควรศึกษารูปแบบการลงทุนแต่ละชนิด เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน

“การใช้จ่ายเงินของเราทุกวันนี้ คือ ตัวกำหนดอนาคตการเงินของเราในอีก 10 – 15 ปีข้างหน้า” – หนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์

นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ โครงการ ‘ฉลาดคิด ฉลาดใช้’ ภายใต้แนวคิด ‘ใช้เงินเป็น เห็นทางรวย’ เท่านั้น ต่อจากนี้ไปจนถึงสิ้นปียังมีเนื้อหาความรู้ และกิจกรรมดี ๆ อีกมากมาย ที่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยากจะชวนคนไทยทุกคนหันมาใช้เงินให้เป็น และมองให้เห็นทางรวย โดยทุกคนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการนี้ได้ที่ เฟซบุ๊ก เพจ ฉลาดคิด ฉลาดใช้ และเฟซบุ๊ก กรุ๊ป ชมรมคนมีตังค์ หรือจะคลิกมาที่ เว็บไซต์กรุงศรี คอนซูมเมอร์ https://bit.ly/2gxvoUG

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า