SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพหลุมดำภาพแรกของโลกปรากฏต่อสายตาผู้คนทั่วโลกในวันพุธที่ผ่านมา (10 เม.ย.) นักวิทยาศาสตร์จากหลากหลายสาขากว่า 200 คนจากร่วมกันทำงานในโครงการนี้ แต่บุคคลหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมาและกลายเป็นที่สนใจของสื่อทั่วโลกคือ ดร.เคที โบวแมน (Katie Bouman) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์วัย 29 ปี แม้เธอจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ แต่ความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ของเธอ ก็เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้ภารกิจในการสร้างภาพหลุมดำสำเร็จลุล่วงไปได้

ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีก่อนในปี 2013  เคทีซึ่งในตอนนั้นอายุเพียง 23 ปีกำลังเรียนปริญญาเอกด้านภาพคอมพิวเตอร์ (computer vision) อยู่ที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology) และได้ไปเข้าร่วมมีทติ้งกับกลุ่มคนที่ทำงานในโปรเจ็ค Event Horizon Telescope (EHT) ที่มีความตั้งใจจะบันทึกภาพหลุมดำให้ได้ แต่ตลอด 2 ชั่วโมงที่นั่งอยู่ที่นั่น เธอบอกว่าแทบจะไม่เข้าใจสิ่งที่ Shep Doeleman ผู้อำนวยการโครงการฯ พูดเลย แน่นอนว่าเธอไม่เข้าใจเพราะว่าเธอไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟิสิกส์และอวกาศ

แต่ในที่สุดหลังจากที่การมีทติ้งนั้นจบลง เธอก็ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ เหตุผลหนึ่งเพราะว่าในตอนนั้น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในทีม EHT ยังไม่มีไอเดียว่าเมื่อได้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุมาแล้ว จะนำมาแปลงเป็นภาพได้อย่างไร เคทีสนใจและคิดว่าเธอมีคำตอบ

ตลอด 6 ปีหลังจากนั้น เคทีก็ได้เข้าร่วมโปรเจ็คในฐานะนักวิจัย (junior researcher) โดยหน้าที่ของเธอคือการร่วมพัฒนาอัลกอริทึม ที่จะสามารถนำข้อมูลปริมาณมหาศาลที่บันทึกได้โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุทั้ง 8 ตัว มาสร้างเป็นภาพหลุมดำภาพเดียวให้ได้

  
เคทีได้เคยอธิบายไว้บนเวที Ted Talk ในปี 2016 ว่า การจะสร้างภาพจริงของหลุมดำขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแม้ว่ากล้องทั้ง 8 ตัวจะบันทึกข้อมูลมาได้มหาศาล แต่ข้อมูลจากกล้องทุกตัวรวมกันก็ยังไม่สามารถให้ภาพที่สมบูรณ์ของหลุมดำได้ และความจริงแล้วกล้องทั้ง 8 ตัวสามารถบันทึกสัญญาณได้จากเพียงบางจุดบางมุมของหลุมดำเท่านั้น ส่วนอื่นของภาพที่ขาดหายไป เคทีและทีมต้องพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถ “สร้าง” รายละเอียดของภาพขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับภาพหลุมดำอย่างที่น่าจะเป็นที่สุดให้ได้

แน่นอนว่าหากไม่มี ดร.เคที โบวแมน และทีมงานที่ร่วมกันพัฒนาอัลกอริทึมดังกล่าว ในวันนี้เราก็อาจจะยังไม่ได้เห็นภาพหลุมดำภาพแรกของโลกนี้ แต่ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า การถ่ายภาพหลุมดำครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์อีกกว่า 200 คน ทั้งนักฟิสิกส์ นักดาราศาสตร์ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์อย่างเช่นเคทีด้วย

 ภาพ: เคที โบวแมน โพสต์ภาพบนเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมเขียนข้อความว่า “ไม่อยากเชื่อเลย ว่าตอนนี้ภาพหลุมดำภาพแรกที่ฉันทำกำลังถูกสร้างขึ้นแล้ว”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า