Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความสำเร็จอีกครั้งของ มจพ. ที่มุ่งสร้างวิศวกรนักปฏิบัติ และงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้งานได้จริง เมื่อเด็ก มจพ.ประดิษฐ์ iRAP Robot หุ่นยนต์กู้ภัย และคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 8

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 61 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) แถลงข่าวต้อนรับทีมหุ่นยนต์กู้ภัย IRAP Robot (ไอราฟ โรบอต) ที่ทีมจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย สมัยที่ 8 มาได้ จากการเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยระดับโลก World RoboCup Rescue 2018 ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 16 – 21 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มจพ. พร้อมคณะผู้บริหารและคณาจารย์ ร่วมแถลงข่าวและแสดงความยินดี ณ  ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารนวมินทรราชินี มจพ.

ผศ.สมชาย เวชกรรม รองอธิการบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มจพ. เปิดเผยว่า การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกมีการจัดการแข่งขันหลายรายการ เช่น หุ่นยนต์แม่บ้าน รายการแข่งขันฟุตบอล เป็นต้น ส่วนหุ่นยนต์กู้ภัยมีการแข่งขัน 2 รายการ คือ หุ่นยนต์ด้านอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ และ Rescue Robot ซึ่งเป็นรายการที่ทีม iRAP เข้าร่วมแข่งขัน โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 18 ทีม จาก 10 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย อเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อิหร่าน ฮังการี เกาหลีใต้ เม็กซิโก สิงคโปร์ และประเทศไทย

โดยรอบแรกจัดการแข่งขัน 3 วัน รวม 18 สถานี ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้เข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้าย ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศ โดยรอบแรกทีม iRAP มจพ. ทำคะแนนได้ดีเยี่ยมคือ 960 คะแนน อันดับ 2 ทีม Hector Damstaclt เยอรมัน 851 คะแนน อันดับ 3 ทีม Autonohm เยอรมัน 640 คะแนน อันดับ 4 ทีม MRL อิหร่าน 670 คะแนน อันดับ 5 ทีม NexisR ญี่ปุ่น 595 คะแนน อันดับ 6 ทีม Sroewground วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ 499 คะแนน อันดับ 7 ทีม Nubot จีน 453 คะแนน และอันดับ 8 ทีม QUIX ญี่ปุ่น 409 คะแนน

ผลการแข่งขัน ทีม iRAP มจพ. จากประเทศไทย ทำคะแนนได้สูงสุดคือ 825 คะแนน ชนะแชมป์เก่าทีม MRL ประเทศอิหร่าน ด้วยคะแนน 730 คะแนน คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue มาครองเป็นสมัยที่ 8 พร้อมรางวัลนวัตกรรมสมรรถนะการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ยอดเยี่ยมระดับโลก (Best in Class Mobility) อีกหนึ่งรางวัล ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม NexisR ประเทศญี่ปุ่น ได้ 605 คะแนน และรองชนะเลิศอันดับ 3 คือทีม Sroewground วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ได้ 475 คะแนน

ผศ.ชัชชัย เสริมพงษ์พันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ผู้ควบคุมทีม กล่าวว่า การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยเป็นการสร้างหุ่นยนต์ เพื่อใช้ในการสำรวจและเก็บข้อมูลต่างๆ โดยใช้สถานการณ์จำลองจากตึกถล่ม หรือเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อหน่วยกู้ชีพที่จะเข้าไปแก้สถานการณ์ หรือกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด ก็จะใช้หุ่นยนต์เข้าไปช่วย

โดยการแข่งขันในแต่ละปีจะมีการปรับเปลี่ยนโจทย์ที่ยากขึ้น ปัจจุบันปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างด่านทดสอบทั้งหมด 20 สนาม แบ่งเป็น 4 ประเภท ประเภทละ 5 สนาม ประเภทที่ทุกทีมจะต้องเข้าแข่งขันคือ การทดสอบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ในทางเรียบ ทางลาด เอียง บาร์คู่, การทดสอบสมรรถนะของหุ่นยนต์ในการเคลื่อนที่ในสภาพพื้นที่ที่ไม่ราบเรียบ, การทดสอบการใช้แขนกลบนหุ่นยนต์ เช่น การหยิบจับ เปิดประตู เรียงอิฐ และสุดท้ายการทดสอบความเป็นอัตโนมัติของหุ่นยนต์ เช่น การสร้างแผนที่อัตโนมัติ

เมื่อเข้าไปสำรวจแล้วจะต้องบอกได้ว่า ผู้ประสบภัยอยู่จุดไหน หรือตรวจสอบวัตถุ หาสัญลักษณ์ โดยคะแนนที่ทีม iRAP ได้สูงสุดในรอบคัดเลือกคือ 960 คะแนน มาจากในส่วนของสมรรถนะหุ่นยนต์ 500 คะแนน และการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ 460 คะแนน ส่วนความเป็นอัตโนมัติ หากได้ฝึกเพิ่ม คะแนนจะได้เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องกลับมาพัฒนาต่อไป

นายอรัญ แบล็ทเลอร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธรไทย-เยอรมัน (TGGS) หัวหน้าทีม iRAP Robot เผยว่า ก่อนการแข่งได้นำปัญหาและอุปสรรคในการแข่งขันของปีที่แล้วมาปรับปรุงแก้ไข โดยใช้หลักวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การเพิ่มระบบตัดไฟเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรที่เกิดขึ้นกับการแข่งขันเมื่อปีที่แล้ว รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะของหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลักๆ เช่น นำฟิวส์เข้าไปตัดหากเกิดการลัดวงจรของไฟฟ้า การพัฒนาด้านมือจับของหุ่นยนต์ให้สามารถหมุน บิด หรือยกของขึ้นได้ รวมถึงการทำแผนที่สามมิติที่สร้างขึ้นมาเอง โดยทีม iRAP ของ มจพ. ซึ่งมีต้นทุนต่ำ แต่ประสิทธิภาพการใช้งานเทียบเท่าอุปกรณ์ราคาแพง แต่สิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้คือ มันสมองของนักศึกษาที่คิดนวัตกรรมตัวนี้ขึ้นมา

ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า การคว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue 2018 สมัยที่ 8 ของทีม iRAP มจพ. ถือเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มุ่งสร้างวิศวกรนักปฏิบัติและงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้งานได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และการบูรณาการทำงานร่วมกันของนักศึกษาและนักวิจัยในคณะและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

นอกจากจะทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในระดับโลกแล้ว ยังสามารถนำมาพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และต่อยอดผลงานหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต

อย่างเช่น หุ่นยนต์ดำน้ำ ROV ของศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ. และโดรน (Drone) ติดกล้องที่นำไปช่วยค้นหา 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง จ.เชียงราย เป็นตัวอย่างความสำเร็จในการนำผลงานที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง และมหาวิทยาลัยก็พร้อมสนับสนุนทุนวิจัยให้อาจารย์ได้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

เป็นงานวิจัยที่ไม่ขึ้นหิ้ง แต่เป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

บทความโดย: สิริลักษณ์ เล่า

ผู้สื่อข่าวอาวุโส เชี่ยวชาญด้านการศึกษา, อดีต บก.ฉบับพิเศษ บมจ.มติชน

———-

อ่านบทความย้อนหลัง

 

อ่านข่าวอื่น: workpointnews.com

เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์   ตลาดข่าว   

ยูทูบ: workpoint news   

ทวิตเตอร์: workpoint news   

อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า