SHARE

คัดลอกแล้ว
68

“ฮิกๆ ๆ” ไม่ใช่เสียงหัวเราะ แต่เป็นเสียง “สะอึก” ที่เชื่อแน่ว่าไม่มีใครไม่เคยเป็น การสะอึกเป็นอาการที่เราต่างไม่พึงประสงค์และอยากให้มันหายไวๆ แล้วเคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราถึงสะอึกได้ล่ะ

‘Ted-ed’  องค์กรสร้างความรู้เพื่อเด็กๆ ของโลกนี้ได้นำบทเรียนของ ‘จอห์น คาเมรอน’ (John Cameron)  มาแปรรูปเป็นวิดีโอการ์ตูนแสนสวย (แอนิเมชันโดย Black Powder Design) ที่บอกเล่าเรื่องราวของการ “สะอึก”  ไว้อย่างน่าติดตาม โดยเริ่มต้นจากการเล่าเรื่องราวของคุณลุง ชาลส์ ออสบอร์น (Charles Osborne) ที่เกิดอาการสะอึกอย่างรุนแรง ด้วยสาเหตุมาจากถูกเจ้าหมูตอนที่ไหนก็ไม่รู้หล่นทับ ตั้งแต่นั้นแกก็สะอึกเรื่อยมา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือลุงแกสะอึกยาวนานถึง 68 ปี ! จน “กินเนสบุ๊ก”  ถึงกับบันทึกสถิติไว้ให้เลยว่าเป็น การสะอึกที่ยาวนานที่สุดในโลก  (โอ้โห !!) ขณะเดียวกัน เจนิเฟอร์ มี (Jennifer Mee) วัยรุ่นชาวฟลอริดา ก็ครองสถิติการสะอึกถี่ที่สุดคือ 50 ครั้งต่อนาที เป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์เลยทีเดียว !! (เหนื่อยแทน)

แล้วอะไรกันนะ ที่ทำให้เกิดการสะอึกตั้งแต่แรก จอห์น คาเมรอน จะพาพวกเราลงไปยังกระบังลมเพื่อหาคำตอบกัน

ในวิดีโอนี้ระบุว่า การสะอึกเริ่มมาจากการกระตุกเกร็งหรือการบีบตัวของ “กระบังลม”  กล้ามเนื้อทรงโดมขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ปอดที่เราใช้ในการหายใจนั้น เกิดการทำงานที่ไม่สอดประสานกันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เนื่องจากการปิดของเส้นเสียงในทันที และการเปิดระหว่างเส้นเสียง หรือที่เรียกว่ากล่องเสียง การเคลื่อนของกระบังลมทำให้เกิดการดึงอากาศเข้าไปทันที แต่การปิดของเส้นเสียงกลับหยุดอากาศไม่ให้เข้าไปในหลอดลมและไปถึงปอด จึงทำให้เกิดเสียงสะอึกที่เป็นลักษณะเฉพาะดัง “ฮิกๆ ๆ” นั่นเอง

2

โดยแพทย์คาดว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการสะอึก  ได้แก่

1. การกลืนอากาศลงไปอย่างรวดเร็ว

2. การดื่มน้ำเร็วเกินไป

3. การมีอารมณ์ที่รุนแรง

4. การหัวเราะ สะอื้น ประหม่า หรือตื่นเต้น

3

ขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งบอกว่า การสะอึกเริ่มขึ้นเมื่อหลายล้านปีก่อน โดยเปรียบการสะอึกกับสิ่งที่ทำหน้าที่ในการหายใจของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น “กบ” ที่เปลี่ยนจากลูกอ๊อดที่มีเหงือกและอาศัยอยู่ในน้ำ มาเป็นกบตัวเต็มวัยที่มีปอดและเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจากน้ำสู่บก นั่นคือการหายใจเข้าที่อาจเคลื่อนน้ำให้ผ่านเหงือก ตามมาด้วยการปิดอย่างรวดเร็วของกล่องเสียง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในปอด

4

ส่วนนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มก็เชื่อว่า การสะอึกเกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น เราจะไม่พบการสะอึกในนก สัตว์เลื้อยคลาน เต่า หรือในสัตว์อื่นๆ ที่หายใจโดยใช้ปอด นอกจากนี้ ยังพบว่าการสะอึกเกิดขึ้นในเด็กทารกนานก่อนที่จะเกิด และพบว่าเมื่อทารกเกิดมาแล้วก็ยังสะอึกบ่อยกว่าผู้ใหญ่เสียอีก เนื่องจากกิจกรรมการเลี้ยงดูที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อช่วยกำจัดอากาศจากกระเพาะอาหาร เหมือนกับการเรอนั่นเอง โดยจะเกิดการขยายตัวในทันทีของกระบังลม ทำให้อากาศถูกดันตัวสูงขึ้นจากกระเพาะอาหาร ในขณะที่การปิดของกล่องเสียงจะป้องกันนมไม่ให้เข้าไปในปอด

5

จะพบว่าบางครั้งที่สะอึกไม่หยุดสักที เราก็มักจะพยายามหาวิธีแก้กันไปต่างๆ นานา ตามคำบอกเล่าของใครต่อใคร เช่น

1. ดื่มน้ำเย็นอย่างต่อเนื่อง

2. กลั้นหายใจไม่ให้สะอึกจนหน้าดำหน้าแดง

3. ทานน้ำผึ้ง หรือเนยถั่วคำโตๆ หรือปั้นข้าวเป็นก้อนกลมๆ แล้วกลืนลงไป

4. หายใจหรือสะอึกใส่ถุง

5. ทำให้ตกใจ

6

และที่ไม่มีวิธีแก้อาการสะอึกที่ชัดเจนก็เป็นเพราะยังไม่มีใครรู้วิธีแก้หรือมีวิธีการรักษาที่แน่ชัดนั่นเอง อย่างไรก็ดี เราต่างก็น่าจะรู้ว่าอะไรที่ไม่ได้ผลแน่ๆ ก็อย่าเสี่ยงทำ เพราะนอกจากไม่หายสะอึกแล้ว ยังอาจเกิดโทษอย่างคาดไม่ถึง เช่น กลั้นหายใจนานๆ อาจช็อกหมดสติหรือเสียชีวิตได้

ดังนั้น หากใครรู้สึกว่าตัวเองสะอึกนานเกินไปแล้ว เช่น สะอึกทุกวัน หรือสะอึกนานเกิน 3 ชั่วโมง แนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์น่าจะดีกว่า

7
8
47

 

ที่มาภาพและคลิป: TED-Ed

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า