SHARE

คัดลอกแล้ว

(แฟ้มภาพ)

ประเด็นคือ – เลขาธิการ ป.ป.ช. ระบุ มีบัตรสนเท่ห์ข้อมูลทุจริตเงินศูนย์ไร้ที่พึ่งมาถึง แต่ให้ ป.ป.ท.ดำเนินการต่อก่อน ด้าน ศรีสุวรรณ จรรยา เตรียมไป ปปง. 2 มีนาคมนี้ ให้สอบเส้นทางการเงิน ผู้บริหาร พม.

วันนี้ (28 ก.พ. 61) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ เลขาธิการ คณะกรรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เปิดเผยว่า มีการส่งบัตรสนเท่ห์ กรณีพบการทุจริตการเบิกจ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนประเภทเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่พึ่งของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กระทรวงพัฒนาสังคและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  มาที่สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งเรื่องนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กำลังตรวจสอบอยู่ แต่หากผู้ถูกกล่าวหามีตำแหน่งสูงกว่า อำนาจของป.ป.ท. จะมีการแจ้งมาที่ ป.ป.ช. แต่ในรายละเอียดของบัตรสนเท่ห์ไม่มีการพาดพิง ถึงกระทรวงพม. เพียงแต่เป็นการแจ้งข้อมูล

ขณะที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย มีแถลงการณ์ เรียกร้อง ปปง. สอบเส้นทางการเงินผู้บริหาร พม. กรณีโกงคนจน โดยระบุในแถลงการณ์ส่วนหนึ่ง “เชื่อได้ว่า น่าจะเป็นขบวนการใหญ่ระดับประเทศที่มีการสมคบคิดกันอย่างเป็นกระบวนการดำเนินการกันเกือบทุกจังหวัด ซึ่งข้าราชการ พม.ระดับเล็ก ๆ คงไม่กล้ากระทำหากไม่ได้รับการคุ้มครองจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงยันถึงระดับนโยบาย ดังนั้นการที่กระทรวง พม.ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง จึงไม่ใช่ข้อยุติในการหาผู้กระทำความผิดในครั้งนี้ได้ทั้งหมด เพราะไม่สามารถสอบไปถึงผู้บริหารในระดับนโยบายได้

https://www.facebook.com/thaisgwa/posts/1555764657806323

นอกจากนี้ กระทรวง พม.ไม่ใช่แต่จะมีโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้แต่เฉพาะ คนไร้ที่พึ่ง-ผู้ป่วยเอดส์เท่านั้น หากแต่มีอีกหลายโครงการที่ใช้เงินงบประมาณหลายหมื่นล้านบาท โดยเฉพาะ “โครงการบ้านมั่นคง” ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตอย่างมหาศาลอีกด้วย

โดยเรียกร้อง ปปง.ตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินและเส้นทางทางการเงินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตั้งแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดทุกจังหวัดไปจนถึงระดับนโยบาย ระดับรัฐมนตรี และระดับรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวง พม.ด้วย วันที่ 2 มี.ค. เวลา 10.30 น.จะไปยื่นคำร้องต่อเลขาธิการ ปปง.

มีรายงานว่า วันนี้ (28 ก.พ.61) พ.ท.กรทิพย์ ดาโรจน์ รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามความคืบหน้าในการตรวจสอบการทุจริตเงินช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และผู้ติดเชื้อ HIV ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นจังหวัดแรกที่มีการร้องเรียนให้ตรวจสอบ จนนำไปสู่การขยายผลการตรวจสอบศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ในสังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ พบศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่เข้าข่ายทุจริตแล้ว 14 ศูนย์ทั่วประเทศ คือ จังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ บึงกาฬ สุราษฎร์ธานี ตราด สระบุรี อยุธยา อุดรธานี น่าน กระบี่ ตรัง สระแก้ว และ ร้อยเอ็ด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า