SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ครม. ผ่านร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองประชาชน เพิ่มโทษจำคุกข้าราชการข่มขู่ –  ข่มเหงผู้ให้เบาะแสทุจริต – ประพฤติมิชอบในวงราชการ

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. … ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) เสนอคณะรัฐมนตรี (24 ต.ค.60) ดังนี้ สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฯ ให้มี คณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ(คตป.) เลขาธิการป.ป.ท. เป็นประธานโดยตำแหน่ง กรรมการ 12 คน คือ

กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย

  • ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
  • ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
  • ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม

นอกจากนี้ มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง จำนวน 4 คน กรรมการผู้แทนภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม ที่ได้รับการสรรหาจากเครือข่ายต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบภาคประชาชน โดยความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี จำนวน 4 คน และให้รองเลขาธิการป.ป.ท. ซึ่งเลขาธิการป.ป.ท. มอบหมาย จำนวน 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ คตป.

อำนาจหน้าที่ของคตป.

กำหนดนโยบายตามหลักเกณฑ์ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันที่จะมีส่วนร่วมรณรงค์ ให้ความรู้กับประชาชนเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบว่าเป็นโทษเป็นภัยต่อสังคมอย่างไร มีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ถ้าประชาชนแจ้งเบาะแสแล้วจะทำให้ประเทศชาติปราศจากการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างไร ต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นการรวมตัวกันต่อต้าน ชี้เบาะแสการทุจริตประพฤติมิชอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ป.ป.ช., ป.ป.ท., ศอตช. ได้เข้าไปดำเนินการ ตั้งศูนย์ประสานความร่วมมือการต่อต้านการทุจริต ขึ้นในสำนักงานป.ป.ท. โดยรัฐต้องจัดสรรเงินงบประมาณในประเภทเงินอุดหนุนให้เพียงพอ

กำหนดโทษว่า หากใครที่เป็นเจ้าหน้าที่ราชการ มีประชาชนรวมตัวกันไปชี้เบาะแส แล้วไปกดขี่ข่มเหง รังแก ใช้อิทธิพล ทำให้ประชาชนหวาดกลัวไม่กล้าที่จะชี้เบาะแส ไม่กล้าต่อต้านทุจริต จะต้องมีโทษเพิ่มอีกครึ่งหนึ่งตามที่กฎหมายอาญากำหนด เช่น ถ้าใครไปทำร้ายคนที่ชี้เบาะแส กฎหมายกำหนดไว้ว่าติดคุก 3 ปี ก็เพิ่มไปอีกปีครึ่ง รวมเป็นโดนโทษติดคุก 4 ปีครึ่ง

ทั้งนี้หลังคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว จะได้ส่งร่างพ.ร.บ.ฯ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจทาน ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณาต่อไป.

 

ขอบคุณภาพ สำนักงาน ก.พ.

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า