SHARE

คัดลอกแล้ว

(ภาพประกอบเท่านั้น)

ประเด็นคือ – คณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงสร้างส่วนแรก ร่างพ.ร.บ.ตำรวจฯ ที่เสนอโดยคณะกรรมการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงอำนาจแต่งตั้ง ผบ.ตร. ให้ ก.ตร.

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 20 มี.ค.61 มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงเพิ่มเติมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ อาทิ การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติองค์ประกอบอำนาจหน้าที่ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ตำรวจ ยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้ง ผบ.ตร. และแก้ไขปรับปรุงหน้าที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้มีอำนาจพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้ง ผบ.ตร. เป็นต้น

โดยเป็นส่วนแรก หลังผ่านครม. จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาไปพลางก่อน ขณะที่เรื่องภารกิจ อำนาจหน้าที่ การบังคับใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญา และระบบการสอบสวนคดี อาญาของตำรวจ จะเสนอที่ประชุมครม.ต่อไป ทั้งนี้เมื่อรายละเอียดสมบูรณ์ทั้งหมดจะมีการนำเข้าครม.พิจารณาอีกครั้งก่อนส่งให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ รายงานให้ สนช.ทราบ และประกาศใช้แผนการปฏิรูปประเทศไม่เกินวันที่ 5 เมษายนนี้

https://www.facebook.com/saranitet.police/photos/a.1047112478672289.1073741829.1045264755523728/1744677802249083/?type=3

ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับคณะกรรมการปฏิรูปฯ ถือเป็นการผ่าตัด ระบบการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจครั้งใหญ่ โดยเฉพาะ การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือ ผบ.ตร. ซึ่งในกฎหมายเดิม ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจแต่งตั้ง จนทำให้เกิดการเข้ามามีส่วนของฝ่ายการเมือง และให้อำนาจแต่งตั้ง ผบ.ตร. กลับมาอยู่ที่ ก.ตร. ก็เหมือนการคืนอำนาจที่สำคัญกลับมาให้ตำรวจ

นอกจากนี้ ในร่างใหม่ ก.ตร. ยังมีอำนาจแก้ไขกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจทุกระดับ และกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ระดับกองบัญชาการ ทำหน้าที่แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ กำหนดพิจารณาบำเหน็จความชอบเลื่อนเงินเดือนเป็นรูปแบบคณะกรรมการ กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจาณาร้องทุกข์ เป็นหลักประกันการตรวจสอบการใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้าย

ก.ตร. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายจากนายกฯ มาเป็น ประธาน ก.ตร. กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย  ผบ.ตร., รองผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ.

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่ผู้บัญชาการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป 5 คน (พ้นจากการรับราชการไปแล้วเกิน 1 ปี )

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่เป็นข้าราชการตำรวจ 6 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานิติศาสตร์, รัฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, รัฐประศาสนศาสตร์, อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นๆ โดยมี ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นเลขานุการ ก.ตร.

 

ขอบคุณภาพ FB : กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า