SHARE

คัดลอกแล้ว

กรรมาธิการ เตรียมนำ ร่าง พ.ร.บ.ข้าว เข้าที่ประชุม สนช.พิจารณาต่อ แม้มีหลายฝ่ายเสนอขอให้เลื่อนไปหลังเลือกตั้ง ยืนยันคิดมาดีเก็บข้อมูลมากกว่า 2 ปี ไม่ได้เร่งรัด พร้อมออกเอกสารแจงเรื่องห้ามจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้รับรอง เป็นความคลาดเคลื่อน

วันที่ 25 ก.พ. ห้อง 302 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้าว พ.ศ. …. แถลงข่าวในประเด็นการทบทวนร่าง พ.ร.บ. ข้าว โดยระบุว่า ร่างกฎหมายเกิดจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาข้าวและชาวนามากกว่า 2 ปี พบว่าชาวนาทุกจังหวัดเรียกร้องให้มีกฎหมายว่าด้วยข้าว โดยมีความต้องการ 3 อย่างคือ ต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้องการราคารับซื้อข้าวเปลือกเป็นราคาตายตัว และต้องการให้โรงสีรับซื้อในราคาที่สะท้อนตามความเป็นจริงและเป็นธรรม

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ร่างกฎหมายโดยกำหนดให้หลักการของร่างพ.ร.บ.ข้าว เพิ่มประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐ ในการขับเคลื่อนนโยบายในการส่งเสริม พัฒนาชาวนา รวมถึงภาคการผลิตและภาคการตลาดให้มีความเข้มแข็ง ให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ มีมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น โดยไม่เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวนา

ทั้งนี้ยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้ได้เริ่มเสนอโดย สนช.ตั้งแต่ 20 ส.ค. 2561 แต่ถูกพิจารณาว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงิน จึงส่งให้รัฐบาลพิจารณารับรองและกลับเข้าสู่การพิจารณาวาระแรกของ สนช. เมื่อ 25 ธ.ค. 2561 จึงไม่ใช่เป็นการเร่งรัดกฎหมาย โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้จะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวันพรุ่งนี้ (อังคารที่ 26 ก.พ.) เวลา 09.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้าว พ.ศ. …. ยังได้จัดทำเอกสารชี้แจง โดยตอนหนึ่งระบุถึง ข้อกังวลเรื่อง “ห้ามจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้รับรองพันธุ์” ว่าเกิดจากการนำข้อความในร่างกฎหมายเดิมที่เสนอเป็นครั้งแรกมาเสนอ แต่ได้มีการตัดเรื่องนี้ออกแล้วในชั้นกรรมาธิการ ส่วนเรื่องการให้โรงสีออกใบรับซื้อข้าวจากชาวนาและแจ้งไปยังกรมการข้าวยังให้มีอยู่แต่อาจจะให้ยกเว้นการรับซื้อระหว่างชาวนาในระดับชุมชน และไม่ใช่การรับซื้อเฉพาะพันธุ์ข้าวที่รับรองเท่านั้น

อีกด้านหนึ่งนายอนุชา นาคาศัย ประธานยุทธศาสตร์ภาคกลาง พรรคพลังประชารัฐ แถลงขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ถอนร่าง พ.ร.บ.ข้าว ออกไปก่อน และขอให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้พิจารณากฎหมายดังกล่าวแทน เพราะจุดยืนของพรรคพลังประชารัฐ ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหากฎหมายที่ สนช.กำลังพิจารณา โดยเฉพาะมาตรา 20 ที่เกี่ยวกับการให้โรงสี ออกใบรับรองการซื้อข้าว และมาตรา 27/1 เกี่ยวกับการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องผ่านความเห็นชอบจากกรมการข้าว เนื่องจากเห็นว่า 2 ประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องที่ชาวนาถกเถียงและเคลือบแคลงใจ ประกอบกับหากใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

นายอนุชา กล่าวว่า หาก สนช.ยังเดินหน้าต่อไปตนและชาวนาจำนวนมากจะเดินทางไปที่รัฐสภาเพื่อชี้แจงให้ สนช.เกิดความเข้าใจ เพราะกฎหมายนี้อาจจะกระทบกับวิถีชีวิตชาวนา 15 ล้านคนทั่วประเทศ

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการประสานไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ประสานไปยัง สนช.ให้ยุติการพิจารณากฎหมายหรือไม่ นายอนุชา กล่าวว่า เป็นการทำงานคนละส่วน โดยความเห็นดังกล่าวเป็นของพรรค และแยกเด็ดขาดระหว่างการทำงานของรัฐบาลและ สนช. เรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวกับ พล.อ.ประยุทธ์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า