Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เจ้าหน้าที่พยายามปิดช่องขาดพนังกั้นน้ำที่ตำบลวังหลวง หลังน้ำเอ่อท่วมขยายพื้นที่ไปแล้ว 7 ตำบล นาข้าวจมน้ำแล้วกว่าหมื่นห้าพันไร่ คณะทำงานร่วมทุกภาคส่วนตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฉุกเฉิน ปรับแผนแก้ไขปัญหาระดมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลหนักเข้าไปเสริม และมั่นใจว่า เมื่อทุกอย่างพร้อม จะสามารถกั้นจุดที่ขาดได้สำเร็จเบ็ดเสร็จภายในวันนี้ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

วันนี้ (19 ก.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรพร หมายเจริญ นายอำเภอเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมผู้เกี่ยวข้องระดมแก้ปัญหาผนังกั้นน้ำขาด ระหว่างบ้านท่าเยี่ยม ท่าทางเกวียน ในพื้นที่ต.บางหลวง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรไปแล้วกว่า 15,000 ไร่ ใน 7 ตำบล โดยมีการตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฉุกเฉินอำเภอเสลภูมิขึ้น ที่ศาลาประชาคมบ้านท่าเยี่ยม หมู่ที่ 5 ตำบลวังหลวง เพื่อเป็นกองบัญชาการแก้ไขปัญหา การพยายามปิดกั้นจุดขาดของพนังกั้นน้ำ ซึ่งล่าสุดมีระยะทางยาวกว่า 25 เมตร ซึ่งที่ผ่านมาทุกภาคส่วนพยายามแก้ไขปัญหา ด้วยการใช้กระสอบทราย กล่อง กล่องเหล็ก แกเบี้ยน และตอกแท่งเหล็กทานเสาเข็มเพื่อวางแนวกล่องเหล็ก big bag ปิดช่องขาด แต่ยังทำไม่สำเร็จ

ล่าสุด ได้มีการปรับแผนระดมกำลังกัน ทำกล่องเหล็กแกเบี้ยนเพิ่มขึ้นเพื่อจะนำไปตั้งแนวเสริม หลังจากการวางแนวที่วางไว้เดิม ไม่ได้ผลเนื่องจากถูกน้ำพัดหาย ไปเกินกว่าครึ่ง โดยตั้งเป้าจะแก้ปัญหาให้ได้ ภายใน 20 ชั่วโมง ที่เหลือตามที่กำหนดไว้

นายสุรพร หมายเจริญ นายอำเภอเสลภูมิ

นายสุรพร หมายเจริญ นายอำเภอเสลภูมิ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ปรับแผนใหม่ จากเดิมที่วางกล่องเเกเบี้ยน จากฝังบ้านท่าเยียมไปด้านเดียวนั้นพบว่าแก้ปัญหาไม่ได้ จึงมีการปรับแผนให้วางจากแนวขาด ทั้ง 2 ด้านมาบรรจบกัน พร้อมทั้งตอกเสาเข็ม วาง big bag กันคันพนังไม่ให้ ขาดเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันได้พยายามปิดจุดที่ขาดไม่ให้ขยายพื้นที่เพิ่มเติม เนื่องจากขณะนี้ น้ำที่ไหลออกไปได้ขยายวงกว้าง ออกไปท่วมพื้นที่โดยรอบ จากเดิมท่วม 3 ตำบล แต่ตอนนี้ ขยายพื้นที่เอ่อท่วมทั้ง 7 ตำบล และมีพื้นที่การเกษตรเสียหายไปแล้ว กว่า 15,000 ไร่ จึงต้องเร่งปิดกั้น ไม่ให้ขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะขยายจากการท่วมพื้นที่การเกษตร ไปท่วมบ้านเรือนที่พักอาศัยของราษฎรได้

ด้านนายจิรศักดิ์ มงคลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการชลประทานร้อยเอ็ด กล่าวว่า แผนการทำงานใหม่ การวางแนวกล่องเหล็กแกเบี้ยนจากจุดขาดทั้ง 2 ด้านเข้ามาหากัน เพื่อปิดจุดที่น้ำผ่านให้เกิดช่องว่างตรงกลาง ก่อนที่จะนำเอาหินและถุงบิ๊กแบ็กวางคั่นกลางให้เต็ม เชื่อว่า จะสามารถกั้นน้ำได้

สำหรับอุปกรณ์จำนวน 20 คันรถ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ได้มีการประสานขอก้อนหินใหญ่ เพิ่มเติมอีก 30 รถพ่วงเพื่อเข้ามาเสริมอุดช่องขาดให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ให้ขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ตามเป้าหมายเดิมให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 19 ก.ค.นี้ เพื่อป้องกันการพังของกันพนังเพิ่มเติม และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ก่อนพายุลูกใหม่จะมา

นอกจากนี้ระบุว่า หากอุปกรณ์เพิ่มเติมมาเสริมในวันนี้ ก็พร้อมจะดำเนินการทันทีให้แล้วเสร็จในวันนี้  ซึ่งขณะนี้ได้ลำเลียงก้อนหินใหญ่ 40 คันรถพ่วง จากจ.ขอนแก่น จ.มุกดาหาร

อ่านข่าวอื่นได้ที่ >>>

เว็บไซต์ : workpointnews.com

เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว  

ยูทูบ: workpoint news  

ทวิตเตอร์: workpoint news  

อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า