SHARE

คัดลอกแล้ว

สำเร็จแล้ว ! โครงการปล่อยละอง-ละมั่งพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก พบลูกละอง-ละมั่งคลอดเองในป่าธรรมชาติ เมื่อ 2 พ.ย.

หลังจาก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  พร้อมคณะ ได้เป็นประธานในพิธีปล่อยละอง-ละมั่งพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ณ ทุ่งกบาลกระไบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.ศรีสะเกษ จากคอกขนาด 6×12 ม. ปล่อยสู่คอกขนาดพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 10 ตัว เพื่อฝึกให้ละอง-ละมั่ง มีการปรับตัวกับสภาพพื้นที่ มีความคุ้นเคยและสามารถขยายพันธุ์ได้ในพื้นที่หลังปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

และในวันที่ 1 พ.ย. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) พร้อมคณะ ได้ทำการปล่อยละอง-ละมั่งจำนวนดังกล่าว ออกสู่ป่าธรรมชาติ โดยการเปิดกรงทำล้อมไว้ในเนื้อที่ 3 ไร่ ออก เพื่อให้ละอง-ละมั่งใช้ชีวิตหลังปรับตัวในกรงขนาดใหญ่แล้ว

เพื่อเป็นการเพิ่มประชากรละอง-ละมั่งพันธุ์ไทยให้มีความสมดุลในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นแหล่งพันธุกรรมละอง-ละมั่งพันธุ์ไทยในพื้นที่ เพิ่มห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศธรรมชาติ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับจัดทำแผนการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และเพื่องานศึกษาวิจัย การดำรงชีวิต ในธรรมชาติและสามารถผสมพันธุ์ตลอดจนขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติด้วย

จากการปล่อยละอง-ละมั่งไป ทางเจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ได้ออกติดตามและตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า ซึ่งสามารถถ่ายภาพละอง-ละมั่งที่ปล่อยจำนวน 10 ตัวได้ ห่างจากจุดปล่อยเพียง 200-300 ม. และที่สำคัญสามารถดักถ่ายภาพละอง-ละมั่ง ที่ปล่อยออกสู่ธรรมชาตินั้น ตกลูกเองในธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย 1 ตัว เมื่อวันที่ 2 พ.ย.

ด้านนายชำนาญ แก่นจันทร์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ในฐานะหัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ กล่าวว่า เริ่มแรกของโครงการ ทางสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ได้ทำการเพาะเลี้ยงละอง-ละมั่งพันธุ์ไทย เพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 3 ตัว อายุตั้งแต่ 1-5 ปี ในคอกขนาด 30×60 ม. จำนวน 2 คอก

ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวังละอง-ละมั่งฝูงนี้อยู่ห่าง ๆ เพื่อสังเกตการณ์ปัจจัยภัยคุกคามต่างๆ เช่น พรานล่าสัตว์ และหมาป่า หมาไน ในพื้นที่ เพื่อให้ลูกละอง-ละมั่งเติบโตอย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ บริเวณที่ปล่อยละอง-ละมั่ง อยู่หากจากประเทศกัมพูชา เพียง 1-2 กม. เท่านั้น ซึ่งบริเวณที่ปล่อยนี้เรียกว่า ทุ่งกบาลกระไบ เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่และมีความเหมาะสมที่สุด โดยนายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ทางไทยได้ประสานกับหน่วยงานทหารในพื้นที่ชายแดน เพื่อประสานงานกับหน่วยงานทหารกัมพูชา รวมทั้งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ของกัมพูชา ซึ่งดูแลเกี่ยวกับการป้องกันการค้าสัตว์ป่า ซึ่งจะออกการลาดตระเวนร่วมกัน เพื่อป้องกันสัตว์ป่าสงวนเหล่านี้

นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นแนวทางในอนาคต ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาทางด้านสัตว์ป่าแบบซาฟารีของประเทศต่อไป

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) และนายชำนาญ แก่นจันทร์ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า