Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศุลกากรจับสินค้าผิดกฎหมายนำเข้าประเทศล็อตใหญ่ ปลาไหลยุโรปที่ใกล้สูญพันธุ์ ใช้นำไปปรุงเป็นเมนูเด็ดราคาแพง พบแอบสำแดงชนิดสินค้าเป็นกุ้งแช่แข็งหวังตบตาเจ้าหน้าที่

วันที่ 21 ธ.ค. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร พร้อมด้วย นายกิตติพงศ์ กิตติขจร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมผู้ลักลอบนำเข้าปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และชนิดสัตว์น้ำตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่าซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก

ปลาไหลแก้วหรือปลาไหลยุโรป ที่จับได้ครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านตัวน้ำหนักรวม 400 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 40 ล้านบาท ฝ่ายสืบสวนและปราบปรามส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฝ้าติดตามข้อมูลข่าวสารและพยายามแกะรอยพฤติกรรมกลุ่มผู้ค้าที่มีความเสี่ยงจะนำเข้ามายังในประเทศไทย จนพบว่ามีขบวนการลักลอบส่งออกปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla จึงสั่งการให้เข้มงวดในการเฝ้าระวังตรวจสอบสินค้าประเภทปลาไหลยุโรปเป็นพิเศษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้ตรวจสอบข้อมูลบัญชีสินค้าทางอากาศยาน (Manifest) ซึ่งบรรทุกมากับอากาศยาน เที่ยวบินที่ QR830 พบว่ามีสินค้าต้องสงสัยสำแดงชนิดสินค้าเป็นกุ้งแช่แข็ง COOL SHRIMPS จำนวน 3 หีบห่อ น้ำหนัก 357 กิโลกรัม โดยส่งจากประเทศต้นทาง คือ ประเทศโรมาเนีย ส่งมายังผู้รับในประเทศไทย จึงประสานขอความร่วมมือจากหัวหน้าด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในการนำตัวอย่างสินค้าดังกล่าวไปตรวจสอบซึ่งผลการตรวจสอบพบว่าสินค้าเป็น ปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla

และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 ยังพบว่ามีข้อมูลการนำเข้าสินค้าตามบัญชีสินค้าทางอากาศยาน (Manifest) สำแดงชนิดสินค้าเป็น COOL SHRIMPS อีกจำนวน 3 หีบห่อ น้ำหนัก 352 กิโลกรัม นำเข้ามาทางสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ QR838 ขนส่งจากประเทศต้นทางโรมาเนีย ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ตรวจสอบพบว่าสินค้าเป็น ปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla Anguilla เช่นเดียวกัน รวมมูลค่าสินค้าทั้งหมด 40 ล้านบาท

สำหรับปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla หรือ ปลาไหลแก้ว (Glass eels) กระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งแม่น้ำในทวีปยุโรปและใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยที่ปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จะว่ายน้ำไปวางไข่ในทะเลซาร์กัสเพียงแห่งเดียว และเมื่อปลาวางไข่แล้วจะตาย ลูกปลาเมื่อฟักเป็นตัวอ่อน จะมีลักษณะโปร่งแสงใสเหมือนวุ้นเส้นและจะเดินทางกลับสู่แม่น้ำทางทวีปยุโรป โดยลอยไปตามกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม

ตัวอ่อนใช้เวลานานถึง 2-3 ปี ในการเดินทางมาถึงชายฝั่งแม่น้ำในทวีปยุโรป และใช้เวลา 8-15 ปี ในการเจริญเติบโตเต็มวัย ปลาไหลยุโรปจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของทวีปยุโรป โดยใช้บริโภคกันมาอย่างยาวนาน สามารถปรุงได้หลายวิธีและจัดเป็นอาหารราคาแพง จนกระทั่งในกลางปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ออกกฎหมายห้ามล่าปลาไหลยุโรปเพื่อการค้าระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนเพราะเกรงว่าจะสูญพันธุ์ ทั้งนี้มีจำนวนประชากรปลาไหลยุโรปลดลงกว่าร้อยละ 95 ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า