Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงอุตสาหกรรมจับมือ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา กรมศุลกากร ลุยตรวจตู้คอนเทนเนอร์ย่านลาดกระบัง หลังพบขยะพลาสติกจาก 35 ประเทศทั่วโลก เข้ามากองในประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (1 มิ.ย. 61) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์ ที่ลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกมาแปรรูป โดยวิธีการสำแดงเท็จว่าเป็นพลาสติก

จากการตรวจค้นตู้สินค้าร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมศุลกากร ที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา คชเสนีย์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กรมโรงงาน จึงเดินทางไปยังนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์ ที่ลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกมาแปรรูป โดยวิธีการสำแดงเท็จว่าเป็นพลาสติก

สืบเนื่องมาจากการตรวจค้นตู้สินค้า ที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา พบเป็นตู้คอนเทนเนอร์ 4 ตู้ ของบริษัท ลองลัค พลาสติก แอนด์ เมทัล จำกัด ต.กาหลง อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เบื้องต้นเป็นขยะถุงพลาสติก อัดเป็นแท่ง รวมจำนวน 58 ตัน มีกลิ่นอับชื้นของขยะลอยออกมา

ด้าน พล.ต.อ.วิระชัย เผยว่า จากการตรวจสอบเอกสารนำเข้าพบว่า ขยะพลาสติกมาจากฮ่องกง, อเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรีย, เยอรมัน, เกาหลี, เนเธอแลนด์, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, จีน, ไนจีเรีย, อิหร่าน, สเปน, เวียดนาม, ตุรกี, ฝรั่งเศส, เวียดนาม, ปากีสถาน, ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ฯ ฯลฯ รวม 35 ประเทศ ส่งมาลงที่ประเทศไทย

กรณีนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นผู้ออกใบอนุญาต คุณสมบัติพลาสติกดังกล่าวจะต้องแยกประเภท โดยไม่ผ่านการทำความสะอาดอีก และไม่ปะปนกัน  แต่จากที่ดู ต้องมั่นใจว่าขยะพลาสติกนี้ต้องไม่ทำความสะอาด อีกทั้งมีกลิ่นเน่า ซึ่งการล้างทำความสะอาด จะต้องใช้น้ำมากขนาดไหน น้ำที่ล้างจะสร้างมลภาวะให้กับประเทศไทย

ด้านนายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยว่า กรมฯ เตรียมออกคำสั่งระงับใบอนุญาต แบบกำหนดเวลา สถานประกอบการนำเข้าชิ้นส่วน เพื่อคัดแยก บดย่อยพลาสติก และซากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งดำเนินผิดเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต จำนวน 5 แห่ง จากทั้งหมด 7 แห่ง ต้นสัปดาห์หน้า และอาจบันทึกข้อมูลบริษัทเหล่านี้อยู่ในบัญชีดำ

หลังตรวจสอบพบกระทำผิด 4 ลักษณะ ได้แก่ ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต, ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต, นำเข้าโดยการสำแดงเท็จ และนำเข้าโดยผิดเงื่อนไขที่กำหนด เช่น โรงงานได้ใบอนุญาตนำเข้าซากพลาสติกพร้อมใช้ แต่นำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์ หรือส่งต่อโรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตคัดแยก และนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานลักษณะดังกล่าว 148 แห่ง

จึงจะร่วมมือกับกรมศุลกากร ตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ ผู้นำเข้าตามใบอนุญาตทุกตู้ จากเดิมจะสุ่มตรวจ ส่วนปัญหาการลักลอบนำเข้าซากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตู้คอนเทนเนอร์สินค้าอื่น เป็นหน้าที่ของกรมศุลกากรที่จะดำเนินการ

อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังชี้แจงว่า ไทยไม่ใช่แหล่งรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากในแต่ละปีไทยนำเข้าซากชิ้นส่วนพลาสติก และซากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เฉลี่ยกว่า 530,000 ตัน แต่ส่งออกซากชิ้นส่วนฯ ซึ่งจัดเป็นวัตถุอันตรายกว่าปีละ 450,000 ตัน ภายใต้อนุสัญญาบาเซล ไปยังประเทศที่มีเทคโนโลยีคัดแยกและสกัดซากชิ้นส่วนให้เหลือเป็นวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุนการผลิต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า