Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ลูกช้างแรกเกิดพลัดตกเหวสูงถูกทิ้งตามลำพัง ขณะเจ้าหน้าที่พบได้เข้าช่วยพาส่งคืนแม่ช้างแต่ถูกปฏิเสธ กลัวถูกทำร้ายจึงนำกลับมาอนุบาลเลี้ยงดู พร้อมประสานผู้เชี่ยวชาญเร่งช่วยเหลือ

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 27 ก.พ. 61 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังที่ทำการของ นายจรัญ รุ่งช่วง กำนันตำบลตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ซึ่งตั้งอยู่กลางหุบเขาถิ่นกันดารใกล้กับเขตรอยต่อ จ.ระนอง หลังจากทราบว่ามีลูกช้างป่าแรกเกิดตกจากภูเขาสูงชัน โดยมีเจ้าหน้าที่และชาวบ้านได้ช่วยชีวิตและนำมาเลี้ยงอนุบาลไว้ และได้พบกับ นายฐานะ ทองสมุย หัวหน้าชุดเฝ้าระวังติดตามช้างป่าประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว, นายสามารถ เลาห์ประสริฐ ปศุสัตว์อำเภอพะโต๊ะ กำลังให้นมกับน้ำเกลือและคอยดูแลอาการของลูกช้างแรกเกิดอย่างใกล้ชิด

นายฐานะ ทองสมุย หัวหน้าชุดเฝ้าระวังติดตามช้างป่าประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว กล่าวว่า ลูกช้างแรกเกิดเพศเมียตัวดังกล่าวมีน้ำหนักราว 200 กก. โดยช่วงประมาณเที่ยงคืนของวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ตนและอาสาติดตามเฝ้าระวังช้างป่า ได้ยินเสียงร้องโหยหวนของแม่ช้างป่าเป็นเวลานาน ที่บริเวณภูเขาสูงชันเขตรอยต่อระหว่างหมู่ที่ 10 กับหมู่ที่ 14 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จึงออกติดตามไปดู จนกระทั่งพบลูกช้างแรกเกิดเพศเมียพลัดตกลงมาจากภูเขาสูงชัน ขณะที่แม่ช้างและโขลงช้างป่าทิ้งหายไปแล้ว

นายฐานะ ยังกล่าวต่อว่า ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ้งเช้าวันใหม่ ตนและทีมงานช่วยกันนำลูกช้างขึ้นมาไว้ที่ปลอดภัยบนพื้นที่ราบ และได้ทำคอกกั้นไว้เพื่อรอให้แม่ช้างที่อยู่รวมกับโขลง ซึ่งมีทั้งตัวผู้และตัวเมียรวมทั้งหมด 11 ตัว โดยช้างป่าโขลงนี้จะตระเวนหากินอยู่ในพื้นที่ 3 อำเภอใน จ.ชุมพร ได้แก่ หลังสวน ทุ่งตะโก และสวี

แต่เมื่อแม่ช้างและโขลงช้างกลับมาที่ลูกของมันได้ส่งเสียงร้องเกี้ยวกราดลักษณะปฏิเสธไม่ยอมรับให้เข้าโขลงแล้วจากไป จนกระทั่งผ่านไป 2 วัน ก็ไม่ยอมกลับมารับลูกของมันอีกเลย จึงจำเป็นต้องนำลูกช้างออกมาอนุบาลดูแลไว้ที่ข้างบ้านของกำนันดังกล่าว เนื่องจากกลัวว่าหากปล่อยทิ้งไว้ในป่าลูกช้างที่ถูกแม่ของมันปฏิเสธอาจจะถูกทำร้ายได้ พร้อมกับแจ้งไปยังนายสัตว์แพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงมาช่วยเหลือและหาวิธีการว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

ด้าน นายสามารถ เลาห์ประเสริฐ ปศุสัตว์อำเภอพะโต๊ะ กล่าวว่า ตอนนี้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องอาหารให้กินได้เฉพาะนมที่ใช้เลี้ยงลูกช้างเท่านั้น และการให้น้ำเกลือเพื่อไม่ให้ลูกช้างเกิดอาการอ่อนเพลีย เพราะยังมีอาการบาดเจ็บอยู่บ้างจากการกลิ้งตกลงจากเขาที่สูงชัน นอกจากนั้นจะต้องเฝ้าระวังกันให้ชาวบ้านเข้าไปสัมผัสกับตัวลูกช้าง ยกเว้นเฉพาะพี่เลี้ยงลูกช้างเท่านั้น ส่วนขั้นตอนต่อไปก็ต้องรอให้นายสัตว์แพทย์จากกรมอุทยานฯ มาดูแล

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า