SHARE

คัดลอกแล้ว

เอ่ยชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเขตภาคใต้ตอนบน ต้องนึกถึง “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2535 จากการเรียกร้องของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน ที่ประสงค์จะให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ

ตลอด 27 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเพียบพร้อม ทั้งทางด้านวิชาการและการปฏิบัติ จนเป็นที่ยอมรับและยกย่องชื่นชมจากองค์กรวิชาชีพและผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง

แต่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิสรัปชั่น (Disruption) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ มีทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเครื่องมือแข่งขันในสังคมโลกยุคใหม่ และเป็นปัจจัยหนุนนำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นที่ยอมรับในเวทีสากล

ดังนั้น การจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตของวลัยลักษณ์ ภายใต้การบริหารของ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในช่วง 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในหลายด้าน เพื่อนำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่ “มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ” ตามที่ตั้งธงไว้

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า แนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ประการแรก คือ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความเป็นสากลทางด้านภาษา โดยจัดตั้งสถาบันภาษา จ้างอาจารย์ชาวต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในหมวดการศึกษาทั่วไปเป็นเวลา 6 เทอม และยังกำหนดให้วิชาเอกทุกหลักสูตรต้องสอนเป็นภาษาอังกฤษครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ50) เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาค้นคว้าและสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี เพื่อเปิดสอนหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์นานาชาติ และจัดตั้งวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ เพื่อเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี โท และเอกทางด้านทันตแพทย์

สอง ปฏิรูปการเรียนการสอน โดยลงนามความร่วมมือกับ The Higher Education Academy (HEA), UK นำระบบการเรียนการสอนของประเทศอังกฤษที่เรียกว่า UKPSF (The UK Professional Standards Framework) มาใช้ โดยเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนแบบเดิมที่เน้นการท่องจำ มาเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตั้งโจทย์คำถาม หรือแอคทีฟเลิร์นนิ่ง (Active Learning) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ และใกล้ชิดกันตลอดเวลา โดยมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ UKPSF จัดอบรมอาจารย์ผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐาน UKPSF จากนั้นจะประเมินผลและมอบประกาศนียบัตรรับรอง ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow และระดับสูงสุดคือ Principal Fellow ขณะนี้มีอาจารย์ผ่านการประเมินในระดับ Senior Fellow ไปแล้ว 8 คน ผ่านระดับ Fellow 29 คน คาดว่าภายในปีนี้จะมีอาจารย์สอบผ่านกรอบมาตรฐาน UKPSF ไม่น้อยกว่า 150 คน และภายในปี 2562 ทุกรายวิชาจะต้องจัดการเรียนการสอนภายใต้กรอบ UKPSF

สาม ปรับปรุงห้องเรียนให้เป็น สมาร์ทคลาสรูม (Smart Classroom) โดยนำเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน อาจารย์สามารถดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ปีนี้พัฒนาไปแล้ว 40 ห้อง ปีหน้าจะเพิ่มอีก 70 ห้อง รวมไปถึงการเพิ่มห้องแล็ปทดลองพร้อมเครื่องมือวิจัยและทดลองใหม่ๆ อีก10 ห้อง

และ สี่ การประกันคุณภาพบัณฑิต โดยบัณฑิตที่เรียนหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพควบคุม กำกับ จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพผ่านอย่างน้อยร้อยละ 90 แต่เป็นที่น่ายินดีที่หลายหลักสูตรมีนักศึกษาสอบใบประกอบวิชาชีพผ่าน 100 % เช่น  แพทย์ เทคนิคการแพทย์ ส่วนเภสัชสอบผ่าน 95% กายภาพบำบัด 89% ซึ่งต่อไปจะต้องดันให้สอบผ่าน 100 % ทุกสาขาวิชา ส่วนสาขาวิชาที่ไม่มีสภาวิชาชีพรับรองจะต้องสอบ Exit – Exam เพื่อประมวลความรู้ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนจบหลักสูตร นักศึกษาที่สอบผ่านจะมีใบประกาศนียบัตรรับรอง สามารถนำไปยื่นสมัครงานได้

“สิ่งที่ยืนยันว่าบัณฑิตที่จบจากเราไปสามารถทำงานได้ทันทีก็คือการฝึกงานจริง ที่เรียกว่า สหกิจศึกษา โดยทุกหลักสูตรจะต้องฝึกสหกิจศึกษาเป็นเวลา 8 เดือน ซึ่งนอกจากจะฝึกในประเทศแล้ว เรายังส่งเสริมให้นักศึกษาได้ไปฝึกสหกิจศึกษาในต่างประเทศด้วย ดังนั้น บัณฑิตของเราจะเก่งทั้งด้านวิชาการ มีความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติ และมีทักษะด้านภาษา จึงเป็นหลักประกันว่าบัณฑิตของเราเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลไปถึงชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีเด็กระดับหัวกะทิมาสมัครเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น แพทย์ คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.78 เภสัช 3.71 เทคนิคการแพทย์ 3.53 พยาบาล 3.48 สะท้อนถึงคุณภาพการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่อว่า นอกจากการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในสาขาที่ขาดแคลนแล้ว มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีงานวิจัยที่มีคุณภาพจำนวนมาก โดยเฉพาะงานวิจัยเชิงพื้นที่ และเป็นงานวิจัยเชิงนวัตกรรมที่นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต สินค้า และบริการของผู้ประกอบการและชุมชน นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยเชิงสุขภาพเพื่อเสริมสร้างคุณภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนบน ปัจจุบันงานวิจัยของมหาวิทยาลัยก้าวหน้าอย่างมาก ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับจาก Sci Mago Global Ranking เป็นครั้งแรก โดยอยู่อันดับที่ 27 ของประเทศ ในอนาคตเชื่อว่าจะได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เป็น “มหาวิทยาลัยสีเขียว” ที่สมบูรณ์แบบ เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณภาพ ซึ่ง ศาสตราจาย์ ดร.สมบัติ กล่าวถึงการพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่สมบูรณ์แบบว่า

“สิ่งที่เห็นอย่างแรก คือการสร้าง “สวนวลัยลักษณ์” บนเนื้อที่ 225 ไร่ เป็นสวนสาธารณะให้บุคลากร นักศึกษา ประชาชนทั่วไปได้มาออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ ปัจจุบันกลายเป็นจุดเช็กอินของผู้ที่มาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา นอกจากนี้ ยังมีสปอร์ตคอมเพล็กซ์ มีกีฬาหลายชนิดให้นักศึกษาอาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้ใช้เวลาว่างออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ประหยัดพลังงาน การนำรถไฟฟ้ามาใช้รับ – ส่งนักศึกษา มีระบบบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยให้น่าเรียน น่ามอง”

สุดท้าย อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวถึงการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 2,128 ล้านบาท เพื่อให้เป็นโรงเรียนผลิตแพทย์ ตอบสนองการขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เสริมการวิจัยทางการแพทย์ระดับตติยภูมิ และการให้บริการทางการแพทย์แก่พี่น้องประชาชนในภาคใต้ตอนบนที่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยที่สลับซับซ้อนหรือโรคตติยภูมิ เป็นโรงพยาบาลขนาด 750 เตียง โดยเฟสแรกจะเปิดให้บริการก่อน 419 เตียง เฟสที่ 2 ประมาณ 550 เตียง และเฟสที่ 3 เปิดครบ 750 เตียงตามเป้าหมาย โดยการก่อสร้างเฟสแรกจะแล้วเสร็จปี 2562 ส่วนปี 2563-2564 เป็นงานตกแต่งภายในและติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ โดยกำหนดเปิดให้บริการในปลายปี 2563 ประมาณ 120 เตียง และต้นปี 2565 จำนวน 419 เตียง ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้เปิดโรงพยาบาลนำร่อง เพื่อให้บริการผู้ป่วยนอกวันละ 200 คน และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 นี้ จะเปิดให้บริการผู้ป่วยใน

“โครงการโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโครงการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนว่า จะสามารถให้บริการทางการแพทย์ในระดับตติยภูมิด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และมีระบบบริหารจัดการที่ก้าวหน้ามากที่สุดในภาคใต้ตอนบน อนาคตผู้ป่วยจากภาคใต้ตอนบนทั้งหมดสามารถมาใช้บริการที่นี่ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หรือกรุงเทพฯ” อธิการบดีบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งหมดนี้คือการพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สู่การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ” ภายใต้การบริหารของ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยลักษณ์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า