SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงใกล้วันเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจกับ “ข่าวสารทางการเมือง” อย่างใกล้ชิด พร้อมกับการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้เกิดข้อห่วงใยทางด้านสุขภาพจิต ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อบุคคลนั้นโดยตรง แต่การใช้ถ้อยคำที่รุนแรงทางการเมืองที่ขัดแย้ง ยังนำไปสู่วังวน “ประชาธิปไตย” ที่ยังไม่ก้าวพ้นของสังคมไทยมาหลายสิบปี

นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำรุนแรงในสื่อสังคมออนไลน์ ว่า แบ่งได้ 2 แบบ คือ hate speech และ  blame speech ความแตกต่างของ 2 คำนี้พูดอย่างง่ายคือ hate speech เป็นการใช้ถ้อยคำกระทบกระเทียบเปรียบเปรย ด่าท้อ ดูถูกเหยียดหยามกันอย่างรุนแรงในประเด็นทางสังคม ซึ่งเรื่องการเมืองก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วน blame speech ก็คือการใช้ถ้อยคำรุนแรงกับเรื่องส่วนตัว เช่น ความสัมพันธ์ของดาราศิลปินบุคคลมีชื่อเสียง แต่ทั้งสองประเภทนี้ นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมได้!

การใช้ Hate Speech จะนำไปสู่ความรุนแรงในสังคม ในอดีตเรามีประวัติศาสตร์เรื่องการใช้ Hate Speech จนนำไปสู่ความรุนแรงทางสังคมมากมาย ที่จะกระทบสุขภาพจิตของคนที่กระทบกระทั่งกันและส่งผลต่อสังคมด้วย

“ถ้าเราจะทำให้บรรยากาศของสังคมไทยเดินต่อไปข้างหน้าได้ด้วยดี ไม่ต้องวนกลับมามีปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงต้องเว้นวรรคประชาธิปไตย น่าจะช่วยกันให้ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างเป็นเรื่องสร้างสรรค์ไม่ใช่ความถูกผิด ความดีเลว”

นพ.ยงยุทธ บอกว่า Hate Speech หยุดยั้งไม่ยากถ้าทุกคนช่วยกัน ด้วยการใช้หลัก “2 ไม่ 1 เตือน” คือ

“ไม่” สื่อสารข้อความรุนแรง

“ไม่” ส่งต่อความรุนแรง

“เตือน” ด้วยถ้อยคำที่สุภาพและนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง

โดยเฉพาะ “ไม่”  ส่งต่อความรุนแรง ที่คนส่วนใหญ่จะเป็นกันมาก บางทีไม่ได้ผลิตสารความรุนแรงเองแต่ส่งต่อ ซึ่งเราเคยทำโซเชียลแล็บแล้วพบว่า เมื่อมีการใช้ถ้อยคำสุภาพ เตือน Hate Speech และ Blame Speech ความรุนแรงจะลดลง การเป็นพลเมืองในสื่อโซเชียลมีผลมากต่อสังคมไทย

ผู้นำที่ใช้ Hate Speech

นพ.ยงยุทธ บอกกับเราว่า คำว่ารู้ตัวหลายคนคงไม่รู้ตัวนะ เพราะหลายคนคิดว่าตัวเองทำสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นศรัทธา เพียงแต่เราให้มุมมองอีกด้านหนึ่งว่า จริงๆ แล้วการแสดงความเชื่อมั่นศรัทธา ถ้าแสดงพอสมควร ให้เข้าใจเหตุและผล แต่ถ้าเริ่มใช้ความรุนแรงทางวาจา มันต้องรู้ว่า มันจะนำไปสู่ความรุนแรงทางสังคมที่มากกว่านั้น ซึ่งเชื่อว่า ทุกคนไม่ว่าจะมีความคิดทางการเมืองแบบไหน คงไม่ต้องการให้มีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น และเขาส่ง Hate Speech เพื่อต้องการได้รับการยอมรับ หากไม่มีการตอบรับเขาไม่ดันทุรังส่ง

วุฒิสภาวะทางการเมืองเป็นเรื่องของการพัฒนา มันเดินหน้าแล้วจะไม่กลับถ้าเรายกระดับได้ขั้นหนึ่งสังคมไทยก็เปลี่ยนวิธีคิดทางการเมืองเลิก  ที่จะมองความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง

การเสพข่าวการเมืองมากเกินไป

ข่าวทางการเมืองจัดว่าเป็นข่าวที่มีสีสัน ทำให้มีคนติดตามมาก ด้วยสีสัน เนื้อหาในข่าวพอติดตามไปเรื่อยๆ จะติดตามมากเกินไปใช้เวลาติดตามข่าวหลายๆ ชั่วโมง จนถึงเริ่มหลายวันจะเกิดความเครียดจากการเสพข่าวได้ โดยให้เสพข่าวโดยใช้สมองส่วนคิดให้มาก เช่น ตามข่าวประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วไปทำกิจกรรมอื่น หรือการฟังความเห็นหลายๆ มุม ทั้งนี้คนส่วนใหญ่จะติดตามข่าวในช่วงเย็นหรือค่ำ เวลาที่เหลือไม่ควรติดตามข่าวมากนัก

“คนพวกนี้ดูข่าวแล้วจะดูรายการ Talk อีกรายการหนึ่งทั้งหมดก็ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ก็ควรจะแค่นั้น ไม่ใช่ดูจบแล้วไปดูดีเบตช่องอื่นอีก เพราะเดี๋ยวนี้ดูย้อนหลังได้ ถ้าอย่างนี้เริ่มเครียด บริหารเวลาเท่ากับบริหารชีวิตด้วย เพราะถ้าตามดูตั้งแต่ทุ่มหนึ่งถึงเที่ยงคืนก็จะเสียเวลาปกติ”

ความคุ้นชินในการเสพข่าวสารตลอดเวลาของคนในยุคนี้ อาจไม่ทันได้รู้ตัวว่า สิ่งที่กำลังกระทำ กำลังร่วมแสดงความคิดเห็น หรือแม้กระทั่ง “เลือก” ที่จะ “ส่งต่อ” ข่าวสารเหล่านั้น จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างลึกซึ้ง หากคนในสังคมร่วมมือกันสร้างความเป็น “พลเมือง” ในสื่อสังคมออนไลน์ เตือนกันด้วยเหตุผล ไม่มองคนคิดต่างเป็นศัตรู ประเทศไทยก็จะเส้นทางเดินไปสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบได้ชัดเจนขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า