SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลฎีกา เลื่อนอ่านพิพากษาคดีฉ้อโกงซื้อที่ดิน และสัญญาก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ เป็นวันที่ 16 ส.ค.นี้ พร้อมสั่งออกหมายจับนาย

วัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย 

วันที่ 30 พ.ค.2561 ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำที่ 254/2547 เป็นครั้งที่ 2 ในความผิดฐานฉ้อโกงซื้อที่ดิน และสัญญาโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย อ.คลองด่าน จ.สมุทร ปราการ ที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี กับพวกรวม 19 คน หนึ่งในนั้นคือนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย ในความผิดฐานฉ้อโกงการจัดซื้อที่ดินคลองด่าน ซึ่งอยู่ระหว่างหลบหนีคดี โดยศาลฎีกา เลื่อนการอ่านคำพิพากษาจากวันนี้ เป็นวันที่ 16 ส.ค.นี้

ศาลฎีกาฯ สั่งออกหมายจับนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย เพื่อติดตามตัวมารับโทษตามคำพิพากษา โดยคดีนี้มีอายุความ 15 ปี

นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย

ทั้งนี้ นายวัฒนา จำเลยที่ 19 หลบหนีคดีไปตั้งแต่ปี 2552 โดยศาลแขวงดุสิต สั่งออกหมายจับไว้แล้ว โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 ส.ค.2551 นายวัฒนา ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 10 ปี ฐานใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบ จูงใจให้เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน จ. สมุทรปราการ ออกโฉนดที่ดินใน อ.คลองด่าน เนื้อที่ 1,900 ไร่ ให้กับ บริษัทปาล์ม บีช ดีเวลลอปเมนท์ฯ แต่นายวัฒนา หลบหนีคดีไม่มาฟังคำพิพากษา

ย้อนคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน

วันที่ 13 ม.ค. 2547 : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกลุ่มกิจการร่วมค้า NPVSKG ผู้เกี่ยวข้องรวม 19 คน หนึ่งในนั้นคือนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในความผิดฐานฉ้อโกงการจัดซื้อที่ดิน อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ เนื้อที่รวม 1,900 ไร่ มูลค่า 1,900 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน แต่ที่ดินนั้น กลับเป็น กลุ่มบริษัทจัดหามาแล้ว ซึ่งที่ดินนั้นเป็นคลอง ถนนสาธารณะ และป่าชายเลนและฉ้อโกงสัญญาก่อสร้างฯ มูลค่าประมาณ 23,000 ล้านบาท โดยคดีนี้จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ

วันที่ 12 พ.ย.2552 : ศาลแขวงดุสิต ไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ ศาลได้พิพากษายกฟ้องในส่วนของกิจการร่วมค้า NVPSKG จำเลยที่ 1 โดยศาลแขวงดุสิตสั่งประทับ รับฟ้องไว้เฉพาะจำเลยที่ 2-19 เท่านั้น ร่วมกันกระทำผิดตามมาตรา 341 ฐานร่วมกันฉ้อโกง อันเป็นความผิดกรรมเดียว จึงให้จำคุกจำเลยที่เป็นบุคคล 11 ราย คนละ 3 ปี และสั่งปรับจำเลยที่เป็นบริษัท 7 ราย รายละ 6,000 บาท และลงโทษจำเลยที่เป็นบุคคล ซึ่งประกอบด้วย จำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 ที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 จำคุกคนละ 3 ปี หากจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 ที่ 10 ที่ 12 และที่ 16 ไม่ชำระค่าปรับให้ยึดทรัพย์สินใช้แทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29

วันที่ 24 ธ.ค.2554 : กรมควบคุมมลพิษยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงดุสิตต่อศาลอุทธรณ์ เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2794/2553 โดยกรมควบคุมมลพิษมีความประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท โดยลงโทษ 2 กรรมเรียงกัน คือ ความผิดฐานฉ้อโกงที่ดิน 1 กรรม และความผิดฐานฉ้อโกงสัญญา 1 กรรม

วันที่ 19 พ.ย.2556 : ศาลแขวงดุสิตได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำที่ 2794/2553 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 14544/2556 ว่า “ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 มีน้ำหนัก รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงในการทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับโจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา อุทธรณ์ของจำเลย ที่ 2 ถึงที่ 11 ข้อนี้ฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์และอุทธรณ์ข้ออื่นๆ ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ได้ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป”

วันที่ 4 ธ.ค.2556 : กรมควบคุมมลพิษยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา โดยขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 7 มี.ค.2561

วันที่ 7 มี.ค.2561 : ศาลฎีกาเลื่อนการอ่านคำพิพากษา เป็นวันที่ 30 พ.ค. 2561 เนื่องจากยังส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 11ถึงที่ 13 ที่ 15 และ ที่ 19 ไม่ได้

วันที่ 30 พ.ค.2561 : ศาลฎีกาเลื่อนการอ่านคำพิพากษา เป็นวันที่ 16 ส.ค.2561

สำหรับโครงการทุจริตก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียมูลค่ากว่า 23,700 ล้านบาท ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ มีประเด็นการทุจริตคอรัปชั่นใน 2 ประเด็น คือ การซื้อขายที่ดิน และการแก้ไขสัญญาที่เอื้อต่อบริษัทเอกชนจนนำสู่การยกเลิกก่อสร้าง เมื่อปี 2546 โครงการนี้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2538 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคนั้นเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดโครงการบำบัดนำเสียขึ้น จนนำมาสู่การเสนอให้คณะมนตรีเห็นชอบและเริ่มโครงการเมื่อปี 2540 โดยมีการรวบรวมที่ดินจากชาวบ้านและที่ดินสาธารณะ เพื่อก่อสร้างโครงการกว่า 1,900 ไร่

ปี 2542 : ภาคประชาชนในพื้นที่ได้เข้าร้องเรียนกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จนนำมาสู่การชี้มูลความผิดนักการเมือง 3 คน คือ นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และนายวัฒนา อัศวเหม ในคดีแรกเมื่อปี 2550

ปี 2551 : ศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติ 8 ต่อ 1 ตัดความผิดนายวัฒนา มีโทษจำคุก 5-20 ปี ใช้อำนาจข่มขืนใจ หรือจูงใจเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี ออกโฉนดที่ดิน โดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี แต่นายวัฒนาหลบหนีจึงออกหมายจับ

ปี 2554 : เริ่มคดีที่ 2 ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดนายวัฒนาและอดีตข้าราชการกรมควบคุมมลพิษ แต่ให้ยุติคดีกับนายยิ่งพันธ์เพราะเสียชีวิต ส่วนนายสุวัจน์คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด ต่อมาปี 2554 คณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายเงินที่ค้างและค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้กับกิจกรรมร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี (NVPSKG) รวมเป็นเงินกว่า 9,600 ล้านบาท และศาลปกครองสูงสุดได้มีความเห็นชอบให้จ่ายค่าเสียหายให้เอกชน กระทั่งเดือน พ.ย.2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จ่ายเสียหายและดอกเบี้ยตามคำสั่งศาล โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด โดยได้จ่ายเงินงวดแรกไปแล้วกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบข้อกฎหมาย เพราะมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินว่าคดีนี้มาการทุจริต

ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษและกระทรวงการคลังก็ได้ร้องขอให้ศาลปกครองพิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษาของศาลแขวงดุสิตและคำพิพากษาของศาลอาญาที่มีการตัดสินลงโทษอดีตข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในโครงการ 23,000 ล้านบาท

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Thai PBS และ วิกิพีเดีย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า