SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากผ่านพ้นวันสตรีไทยเมื่อ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับแบบอย่างที่ผู้หญิงไทยควรเป็น ทีมข่าวเวิร์คพอยท์พาไปดูว่าตอนนี้ทั่วโลกกำหนดวาระไหนเป็นวาระหลักของผู้หญิงบ้าง

เมื่อเดือนเมษายนบริษัท Ernst & Young ในสหรัฐอเมริกาถูกกล่าวหาว่าไม่ให้คุณพ่อมือใหม่หยุดงานเพื่อดูแลลูก นำมาสู่ข้อถกเถียงเรื่องภาระการเลี้ยงเด็กควรเป็นหน้าที่ของทั้งพ่อและแม่อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่

“สัญชาตญาณความเป็นแม่” ผลักให้ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ต้องเลี้ยงลูกและทำงานบ้านอยู่ฝ่ายเดียว แต่จริง ๆ แล้วนักคิดหลายคนทั่วโลกเชื่อว่าหน้าที่เหล่านี้ไม่ได้เป็นของผู้หญิงโดยธรรมชาติ

แม่เป็นงานที่หนักมาก ไม่ใช่เพียงตั้งครรภ์และคลอดเท่านั้น ประเทศไทยมีกฎหมายให้สามีลาเลี้ยงลูกอ่อนได้เมื่อภรรยาคลอด แต่ก็ลาได้เพียง 15 วัน หลังจากนั้นการเลี้ยงลูกอ่อนก็ตกไปที่ฝ่ายภรรยาคนเดียว ขณะที่นิวยอร์คไทม์รายงานว่าบางบริษัทในอเมริกาเช่น หนังสือพิมพ์บลูมเบิร์กอาจอนุญาตให้คุณพ่อมือใหม่ลาเลี้ยงลูกช่วยภรรยาได้นานถึง 18 สัปดาห์โดยที่ยังได้รับเงินเดือน

หน้าที่ความเป็นแม่พ่วงมากับการอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ผู้หญิงไทยผูกติดกับคำว่า “แม่ศรีเรือน” ต้องรับหน้าที่ทำงานบ้าน หุงหาอาหาร ดูแลผู้สูงอายุไป แม้ปัจจุบันหลายคนเป็นสาวแกร่งประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนอกบ้านก็ยังถูกคาดหวังว่าเธอจะต้องทำงานบ้านได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องด้วย สาว ๆ หลายคนยอมรับว่าครอบครัวของเธอกวดขันให้เธอทำงานบ้านมากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับพี่น้องผู้ชาย

สำหรับบางคน ความเป็นแม่เป็นป้ายห้ามทำแท้ง เป็นเหตุหย่าสำหรับสามีที่ภรรยาเป็นหมัน ราวกับว่าผู้หญิงทุกคนเกิดมาแล้วต้องเป็นแม่ ทั้งที่ความเป็นแม่ควรเป็นทางเลือกสำหรับคนที่พร้อมและต้องการเป็นเท่านั้น

พอความเป็นแม่ที่ผูกติดกับเพศหญิง เพศอื่นก็ถูกกีดกันจากความเป็นแม่ด้วย จริง ๆ แล้วจากตัวอย่างหลาย ๆ ครอบครัวก็พบว่า พ่อเลี้ยงเดี่ยว แม่ LGBTQI ก็สามารถเลี้ยงเด็กให้เติบโตได้มีคุณภาพไม่ต่างกันเลย

“รักนวลสงวนตัว” เป็นกุศโลบายในอดีตให้ผู้หญิงห่างไกลจากความรุนแรง แต่ในโลกที่หมุนไป หลายๆคนก็เริ่มตั้งข้อสงสัยว่า ผู้หญิงก็เป็นฝ่ายระแวดระวังฝ่ายเดียวมาเป็นเวลานาน แต่อาชญากรรมทางเพศก็ไม่ได้หายไปไหน

เมื่อกลางปีที่แล้วมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกาจัดนิทรรศการ “วันนั้นสวมชุดอะไร” โดยแสดงเสื้อผ้าที่เหยื่อข่มขืนสวมใส่ก่อนเกิดเหตุ เสื้อผ้าที่จัดแสดงก็มีหลากหลาย เสื้อยืดกางเกงยีนส์ ชุดกีฬา สรุปว่าความเชื่อที่ว่าเหตุข่มขืนมาจากเหยื่อแต่งกายล่อแหลมไม่เป็นความจริงเลย นิทรรศการนี้หนุนความคิดว่า ไม่ว่าผู้หญิงจะแต่งตัวยังไง ร่างกายของเธอก็เป็นของเธอคนเดียวเท่านั้น

ขณะที่กระแส #metoo กำลังบูมไปทั่วโลกในปีที่แล้ว ฝ่ายไทยก็เริ่มมีเสียงสะท้อนเล็ก ๆ มาเป็นระลอกเช่นกัน เริ่มที่ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขตัดสินใจแจ้งตำรวจเรื่องถูกผู้บังคับบัญชาลวนลาม นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดหน้าสู้คดีข่มขืนอย่างกล้าหาญ ทราย เจริญปุระเขียนถึงปัญหาทางเพศในวงการบันเทิงไทย แต่เสียงเล็ก ๆ เหล่านี้ก็ไม่ได้สะเทือนถึงรากเท่าที่ควร

น.ส.สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง คณะอนุกรรมการด้านสิทธิและความเสมอภาคทางเพศ กล่าวในสัมภาษณ์กับไทยรัฐว่า ต้นสังกัดมักตำหนิฝ่ายหญิงก่อนที่ป่าวประกาศเรื่องราวการถูกคุกคามให้สังคมได้ทราบ ด้านธารารัตน์ ปัญญา นักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหยื่อล่วงละเมิดทางเพศยืนยันว่าทุกคนมีคุณค่าในตัวเองอยู่แล้ว การออกมาพูดหรือการออกมาเผชิญหน้าเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดมันไม่ได้ทำให้คุณค่าในตัวลดลงเลย

เดือนมกราคมที่ผ่านมา แคร์รี เกร์ซี บรรณาธิการข่าวบีบีซีจีนลาออกจากตำแหน่งประท้วงเมื่อพบว่าเพื่อนร่วมงานในตำแหน่งเดียวกันได้เงินเดือนมากกว่าเธอถึง 50% ในเดือนกุมภาพันธ์บริษัทเทสโก้ในอังกฤษก็ถูกฟ้องให้จ่ายค่าแรงต่อพนักงานหญิงอย่างเท่าเทียมกับพนักงานชาย เดือนมีนาคมฝรั่งเศสก็เสนอแผนปฏิรูปค่าแรงระหว่างเพศให้เท่าเทียมกัน

ข้อมูลจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ระบุว่าปัจจุบันผู้หญิงทั่วโลกได้รับค่าจ้างเพียง 14 % ของค่าจ้างผู้ชาย ส่วนข้อมูลของไทย บทความของรศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ชี้ให้เห็นว่าค่าจ้างของหญิงได้ตำกว่าชายตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา บัณฑิตสาวที่เพิ่งจากรั้วมหาลัยจะได้ค่าจ้างต่ำกว่าเพื่อนชายเฉลี่ย 5 พันบาท

แม้ปัจจุบันในสังคมชั้นสูงแล้วเราจะได้เห็นผู้หญิงประสบความสำเร็จ กุมตำแหน่งสำคัญในองค์การต่าง ๆ มากมาย แต่ในระดับพนักงานและแรงงานแล้วนายจ้างส่วนใหญ่ของไทยใช้นโยบายปิดค่าจ้างเป็นความลับเรื่องความเท่าเทียมของค่าจ้างระหว่างเพศจึงยังไม่ถูกเรียกร้องเท่าที่ควร

 

 

 

 

 

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ http://www.workpointnews.com

Facebook / https://www.facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / https://www.instagram.com/workpointnews/

Twitter / https://twitter.com/WorkpointShorts

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า