SHARE

คัดลอกแล้ว

พบวาฬนำร่องครีบสั้นยาวเกือบ 5 เมตร หนัก 500 กิโลกรัม ว่ายพลัดหลงเข้ามาในคลองนาทับ มีอาการป่วยหนัก ระดมทีมสัตวแพทย์ช่วยเหลือ และเป็นครั้งแรกที่พบวาฬนำร่องเข้ามาเกยตื้นที่ จ.สงขลา

วันที่ 29 พ.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.สงขลา ได้รับแจ้งจากลูกเรือสินค้าบรรทุกอาหารสัตว์ว่า พบวาฬพลัดหลงเข้ามาบริเวณปากคลองนาทับ ซึ่งติดกับทะเลอ่าวไทย พื้นที่หมู่ 2 ต.นาทับ อ.จะนะ ตั้งแต่ช่วงเย็นของเมื่อวานนี้

หลังจากที่ลงไปตรวจสอบพบว่า เป็นวาฬนำร่องครีบสั้น ความยาวลำตัว 4.5 เมตร ความยาวรอบตัวบริเวณครีบข้าง 2.3 เมตร และไม่สามารถว่ายน้ำหรือประคองตัวได้ เนื่องจากป่วยและอาการค่อนข้างน่าเป็นห่วง เจ้าหน้าที่ต้องทำเปลช่วยพยุงเพื่อไม่ให้มันจมน้ำ และต้องเฝ้าดูแลย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

รวมทั้งประสานทีมสัตวแพทย์จาก 3 หน่วย ทั้ง จ.สงขลา จ.ชุมพร และ จ.ภูเก็ต และระดมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง และฝั่งอันดามัน มาช่วยกันดูแลวาฬตัวนี้ และพยายามช่วยกันเต็มที่เพื่อให้มันมีชีวิตรอด

นายสันติ นิลวัตน์ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เปิดเผยว่า จากการตรวจในเบื้องต้นพบว่า วาฬนำร่องครีบสั้นตัวนี้มีอายุประมาณ 15 – 16 ปี ซึ่งยังเป็นวาฬขนาดรุ่น หนักประมาณ 500 กิโลกรัม แต่ยังไม่สามารถระบุเพศได้ พบความผิดปกติมีก้อนเนื้อที่ลำตัวด้านขวา ปากและหางมีรอยถลอก แต่ยังระบุสาเหตุอาการป่วยไม่ได้ ต้องนำเลือดและเสมหะไปตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกครั้ง จากสภาพน่าจะอดอาหารมาหลายวัน แม้เจ้าหน้าที่จะพยายามป้อน แต่ก็ยังกินอาหารได้น้อยอยู่ และยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้ ต้องดูแลรักษากันอยู่ในคลองนาทับไปก่อน

นายสันติ กล่าวด้วยว่า เป็นครั้งแรกที่พบวาฬนำร่องครีบสั้นว่ายเข้ามาเกยตื้นในพื้นที่ จ.สงขลา เนื่องจากปกติแล้วจะอาศัยอยู่ในทะเลลึกและห่างฝั่ง และเคยพบมาเกยตื้นครั้งหนึ่งเมื่อ 2 – 3 ปีก่อน ที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

ส่วนสาเหตุที่วาฬตัวนี้ว่ายเข้ามาเกยตื้น เนื่องจากมีอาการป่วย ซึ่งธรรมชาติของวาฬเมื่อเจ็บป่วยก็จะพยายามว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง และตัวนี้ได้ว่ายลึกเข้ามาทางปากร่องน้ำในคลองนาทับ ซึ่งน้ำตื้น เพื่อไม่ให้จมน้ำ

สำหรับโอกาสรอดของวาฬตัวนี้ยัง 50 – 50 ทีมสัตวแพทย์ต้องคอยเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โดยต้องผลัดเปลี่ยนกันลงไปในน้ำ เพื่อช่วยประคองตัววาฬ เพราะวาฬยังไม่สามารถประคองตัวเองหรือว่ายน้ำได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า