SHARE

คัดลอกแล้ว

ฝุ่นมลพิษปกคลุมเหนือถนนกลางกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อช่วง พ.ย. 2017 / AFP

สภาพอากาศที่ปกคลุมไปด้วยฝุ่นมลพิษในอินเดีย ทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิต 1.2 ล้านคน เมื่อปี 2017 และยังทำให้คนอินเดียมีอายุขัยสั้นลง 5.3 ปี

กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ราว 19 ล้านคน ต้องเผชิญกับหมอกควันมลพิษที่บดบังความสวยงามของทัชมาฮาล แลนด์มาร์กสำคัญไปแล้ว โดยในปี 2017 อินเดียมีคุณภาพอากาศเข้าขั้นวิกฤตจนต้องยกเลิกเที่ยวบิน ปิดโรงเรียน และฝุ่นมลพิษยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จนมีรัฐมนตรีคนหนึ่งออกมากล่าวว่า “นิวเดลีกลายเป็นห้องรมแก๊สพิษไปแล้ว” ก่อนจะประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาในเวลาต่อมา

ตามรายงานของ The Lancet Planetary Health ระบุว่า เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ประชากรอินเดียต้องเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศถึง 1.2 ล้านคน ด้วยโรคทางเดินหายใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็งปอด เป็นต้น และ 51.4% เป็นคนที่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี โดยเฉลี่ยแล้วคนอินเดียมีอายุขัยลดลง 5.3 ปี เพราะฝุ่นมลพิษ

ปัญหาดังกล่าวมิได้เกิดเฉพาะในเมืองหลวงเท่านั้น แต่ในเมืองอื่นๆ อีกหลายสิบแห่งก็เผชิญกับมลพิษทางอากาศไม่ต่างกัน ซึ่งลอยปกคลุมเขตเมืองใหญ่ รวมทั้งพื้นที่ชนบท โดยรายงานระบุว่า 2 ใน 3 ของประชากรอินเดียอาศัยอยู่ในชนบท และ 80% ยังประกอบอาหารและคลายความหนาวด้วยการเผาฟืนไฟ นอกจากนี้ การเผาตอซังในพื้นที่เกษตรกรรมยังคงมีจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดสภาพอากาศย่ำแย่ดังกล่าว

สำหรับฝุ่นมลพิษเป็นปัญหาใหญ่ในเมืองหลัก เช่น เจนไน และมุมไบ ซึ่งมีปัญหาการจราจรที่ติดขัด ส่งผลให้สภาพอากาศเลวร้ายเพราะไอเสียของรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม และฝุ่นจากไซต์งานก่อสร้าง

คนอินเดียป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เพราะฝุ่นมลพิษ / AFP

ด้าน อนูมิตา รอย เชาฮาลี หัวหน้าโครงการมลพิษทางอากาศและการขนส่งที่สะอาดในนิวเดลี ของศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ระบุว่า นิวเดลีเป็นพื้นที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทำให้ฝุ่นมลพิษไม่สามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกับเมืองชายฝั่งอย่างมุมไบ และเจนไน นอกจากนี้ ในเมืองเล็กๆ หลายแห่งยังมีการจัดการขยะที่ไม่ดี ส่วนมากใช้วิธีการเผาไหม้ และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงจำนวนมาก และเตาหุงต้มอาหารด้วยฟืนเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างฝุ่นมลพิษ 25% ในอินเดีย

รายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า เตาหุงต้มอาหารด้วยฟืนเป็นเครื่องครัวที่นิยมใช้ในเขตชนบท ที่ก่อให้เกิดมลภาวะภายในบ้านซึ่งเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ล่าสุดพบว่ามารดามีแนวโน้มคลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวน้อย ในครัวเรือนที่ใช้ฟืนหรือมูลสัตว์เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร และเด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหอบหืดและภูมิต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น วัณโรค

ด้าน เคิร์ก อาร์. สมิธ ศาสตราจารย์ด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมชื่อดังระดับโลก จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ได้อธิบายถึงสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งของปัญหามลพิษในอินเดียว่า กฎหมายควบคุมมลพิษในอินเดียยังไม่ถูกบังคับใช้อย่างมีประสิทธภาพเพียงพอ โดย อ.สมิธ มองว่า วิกฤตฝุ่นพิษในอินเดียเป็นปัญหาด้านธรรมาภิบาล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า