SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปผลการหารือร่วมพรรคการเมือง 73 พรรค กำหนดวันเลือกต้ังทั่วไปไว้ 4 ห้วง เร็วสุด 24 ก.พ. 62 และช้าสุด 5 พ.ค. 62 ขณะที่รองหัวหน้า ปชป. ระบุรัฐบาลยันปลดล็อกพรรคการเมืองในห้วง 90 วันของการรอบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.

วันที่ 26 มิ.ย. 2561 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยวานนี้ว่า หลังจากหารือร่วมกับ 73 พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรับฟังความเห็นเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปว่า รัฐบาลได้วางไทม์ไลน์เลือกตั้งไว้ 4 ห้วงเวลา คือ เร็วที่สุดคือวันที่ 24 ก.พ. 2562, วันที่ 31 มี.ค. 2562, วันที่ 28 เม.ย.2562 และอย่างช้าสุดคือวันที่ 5 พ.ค. 2562 ซึ่งเป็นกำหนดการที่ยังไม่ชัดเจน เพราะการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีกทั้งปัจจัยจะมีการเลือกตั้งได้ ขึ้นอยู่กับความสงบเรียบร้อยในช่วงพระราชพิธีสำคัญ การรอโปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. และการเปลี่ยนผ่าน กกต.ชุดใหม่ที่จะต้องจัดการเลือกตั้ง แต่ กกต.ชุดเก่า ก็ยังทำหน้าที่ได้เช่นเดิม และต้องให้การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ชนการเลือกตั้งระดับชาติ และเหตุความสงบของบ้านเมืองในเวลานั้น

นายวิษณุ กล่าวถึง การปลดล็อกพรรคการเมืองจะเกิดขึ้นหลังการหารือในครั้งที่ 2 ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายหลัง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ส่วนการจัดประชุมพรรคสามารถจัดประชุมพรรคและการประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งจะดำเนินการในช่วง 90 วัน ก่อนกฎหมาย ส.ส. ประกาศใช้  ส่วนการจัดทำไพรมารี่โหวต กกต. เสนอให้จัดทำเป็นระดับภาคแทนรายจังหวัด โดยมีสาขาพรรค 4 สาขาใน 4 ภาค ซึ่งสามารถส่ง ส.ส. ลงเลือกตั้งได้ทุกเขต แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปขอให้ติดตามต่อจากการประชุมครั้งหน้า

ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวว่า ในที่ประชุมมีพรรคการเมืองเสียงส่วนใหญ่เสนอให้ปลดล็อกการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง และงดทำไพรมารีโหวต และการกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปยังกำหนดไม่ได้เพราะต้องรอกฎหมายเลือกตั้ง 2 ฉบับว่าจะโปรดเกล้าฯ เมื่อใด และต้องรอการบังคับใช้อีก 90 วัน จากนั้นจะมีการเลือกตั้งใน 150 วัน โดย กกต.เสนอว่าในช่วง 90 วัน จะขอให้ทำการแบ่งเขตเลือกตั้งใน 60 วัน และต้องถามความเห็นพรรคการเมืองรวมทั้งประชาชนตามกฎหมาย หากกฎหมายยังไม่มีผลใช้บังคับ กกต.จะยังไม่สามารถแบ่งเขตเลือกตั้ง และได้ขอให้ คสช. ใช้มาตรา 44 ในช่วง 60 วันเพื่อให้ กกต.แบ่งเขตเลือกตั้งได้

ทั้งนี้ ในที่ประชุมรับฟังความเห็นของพรรคการเมือง นายวิษณุได้แจ้งกับพรรคการเมืองที่เข้าร่วมประชุมว่า ปัจจัยที่จะจัดเลือกตั้งได้ขึ้นอยู่ 5 ข้อคือ

1. การรักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชบรมราชาภิเษก
2. การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ชุดใหม่
3. การเลือกตั้งท้องถิ่นก่อน – หลัง การเลือกตั้งทั่วไป
4. พระราชทาน กฎหมาย ส.ส. และ ส.ว. ลงมาประกาศใช้
5. ความสงบเรียบร้อยทั่วประเทศ

นายวิษณุ คาดว่ากฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.จะบังคับใช้ในช่วง ก.ย. – ธ.ค. 2561 จะเป็นช่วงเวลารอการบังคับใช้กฎหมาย ส.ส.ใน 90 วัน โดยจะครบกำหนดวันบังคับใช้ในวันที่ 11 ธ.ค.2561 จากนั้นจะเป็นช่วง 150 วันที่จะต้องจัดการเลือกตั้งโดยจะจัดการเลือกตั้งได้ก่อนวันที่ 9 พ.ค. 2562 ซึ่งเป็นกำหนดวันที่ครบรอบ 150 วัน โดยการเลือกตั้งอย่างเร็วสุดจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 จะมีเวลาหาเสียง 76 วัน วันที่ 31 มี.ค. 2562 จะมีเวลาหาเสียง 111 วัน วันที่ 28 เม.ย. 2562 จะมีเวลาหาเสียง 139 วัน และ วันที่ 5 พ.ค. 2562 จะมีเวลาหาเสียง 146 วัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า