SHARE

คัดลอกแล้ว

“รองนายกฯ วิษณุ” แถลงข่าวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ว่ายึดตามโบราณราชประเพณี ตามพระราชกระแสรับสั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่หรูหรา ฟุ่มเฟือย เกินไปกว่าที่เป็นพระราชประเพณีเดิม โดยการเตรียมงานระยะเบื้องต้น 7 ด้าน คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 80 เตรียมพร้อมทุกด้านสมพระเกียรติ ทั้งช่วงต้น ช่วงกลาง และช่วงปลาย 

ตามที่สำนักพระราชวังได้ประกาศ เรื่อง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 นี้นั้น ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่สำคัญที่พสกนิกรชาวไทย จะได้เห็นอีกครั้งเป็นบุญตา ทั้งนี้รัฐบาลได้กราบบังคลทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการพรุงเทพมหานคร พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และนางทัศนีย์ ผลชานิโก รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมแถลงข่าวการเตรียมความพร้อมพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 1/2562

นายวิษณุ กล่าวว่า งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ ถือเป็นพระราชพิธีสำคัญที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เพราะการเตรียมงานไม่ต้องมีการก่อสร้างถาวรวัตถุและรื้อถอนออกให้หมด เพียงแต่เอาโบราณวัตถุเดิมที่มีอยู่มาบูรณะซ่อมแซมใหม่ ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องขั้นตอนพิธี โดยเฉพาะพิธีพราห์ม ตามโบราณราชประเพณี โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ พระราชพิธีเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย

“เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใหม่ๆ ได้มีพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับท่านนายกรัฐมนตรีว่า ถึงอย่างไรพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็จะต้องมีการจัดขึ้นอยู่ดี ไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่ขอให้จัดเพียงแต่โบราณราชประเพณีเท่านั้น อย่าไปสร้างเสริมเติมแต่งอะไรขึ้นใหม่ให้หรูหรา ฟุ่มเฟือย หรือมากเกินกว่าที่เป็นประเพณีเดิม ให้ทำโดยรวบรัดและก็ให้ทำโดยคำนึงถึงการประหยัด เป็นหลักที่รัฐบาลรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมมาโดยตลอดในการจัดงานครั้งนี้” นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

สำหรับพระราชพิธีในเบื้องต้น นายวิษณุ กล่าวว่า จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน เริ่มจากการเตรียมน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยเริ่มจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้สำหรับการเตรียมน้ำอภิเษกเเละน้ำสรงพระมุรธาภิเษก โดย

น้ำสรงพระมุรธาภิเษก ประกอบด้วย เบญจสุทธคงคา เเละน้ำจากสระ 4 สระ ในจังหวัดสุพรรณบุรี

น้ำอภิเษก ประกอบด้วย น้ำจากเเหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากกรุงเทพฯ เเละน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 76 จังหวัด ซึ่งรวมเเหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 จำนวน 108 แห่ง

สำหรับฝ่ายจัดพิธีการจะต้องเตรียมการต่างๆ ซึ่งขณะนี้คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 80 ดังนี้

  1. เตรียมเรื่องตราสัญลักษณ์ ซึ่งจะใช้ประทับลงบนคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงมอบให้กทม.นำไปประดับตกแต่งสถานที่และเส้นทางเสด็จฯ ตลอดจนธงพระราชพิธีที่มีพื้นสีเหลือและตราสัญลักษณ์อยู่ตรงกลาง และจัดทำเป็นเข็มที่ระลึก ซึ่งจะจัดทำเป็นเข็มพระราชทานแก่ข้าทูลละอองทุลีพระบาท และสำนักนายกรัฐมนตรี จะขอพระราชทานพระราชานุญาตนำไปจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
  2. เตรียมเลือกพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อใช้ในการประดับให้มีการใช้ให้เหมือนกันทั้งประเทศ
  3. เตรียมน้ำสำหรับใช้สรงมุรธาภิเษก โดยจะมีพิธีพลีกรรมวันที่ 6 เม.ย.นี้
  4. เตรียมน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด สำหรับใช้เป็นน้ำอภิเษก จะมีพิธีตักน้ำจากแหล่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมกันในวันที่ 6 เม.ย. โดยวันที่ 8-9 เม.ย. จะเชิญน้ำไปจัดเก็บในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละจังหวัด จากนั้นแต่ละจังหวัดจะเชิญไปเก็บไว้ที่ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไท โดยจัดเก็บในคนโทตราสัญลักษณ์
  5. ตระเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้แผ่นทองคำ สำหรับใช้จารึกพระสุพรรณบัฏ แกะดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกร
  6. เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ก่อสร้างมณฑปพระกระยาสนาน ซ่อมเกยสำหรับที่จะเสด็จลงเสลี่ยงหรือพระราชยานก้าวลงประทับ แล้วเสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ วัดต่างๆ 3 วัด
  7. การเตรียมเกี่ยวกับขบวนพยุหยาตรา ซึ่งในทางพระสถลมารค (ทางบก) จะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 4 ชม.ครึ่ง ฝ่ายทหารได้มีการเตรียมการในส่วนนี้แล้ว ส่วนทางชลมารค (ทางน้ำ) จะมีขึ้นช่วงปลายเดือน ต.ค. โดยใช้เรือในพระราชพิธี ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 องค์ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ในรัชกาลที่ 9 และเรือพระราชพิธีอีก 48 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ ใช้ฝีพาย 2,200 นาย โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค จะเริ่มที่ท่าวาสุกรีไปยังวัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร เพื่อถวายผ้าพระกฐิน รวมระยะทางกว่า 4 กม. และจะมีการเห่เรือตลอดเส้นทางการเคลื่อนขบวนเรือ

ส่วนการประชุมตระเตรียมคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าเฝ้าฯทูลละอองทุลีพระบาทในพิธีต่างๆ อาทิ พิธีในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พิธีเสด็จออกมหาสมาคมที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท และภายในพระอารามหลวงทั้ง 3 แห่ง เพราะประชาชนทุกหมู่เหล่าล้วนอยากมีส่วนร่วมในพิธีสำคัญดังกล่าว ขณะเดียวกันมีข้อจำกัดด้านสถานที่ อาจต้องมีการผลัดเวรกัน

ทั้งนี้ วันที่ 6 พ.ค. เสด็จออกสีหบัญชร ประชาชนสามารถเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาทฯ ถวายพระพรชัยมงคลได้ที่ถนนสนามไชย สวนสราญรมย์ ศาลฎีกา ไปจนถึงสนามหลวง คาดว่าจะมีประชาชนนับแสนนับล้านคน ร่วมเฝ้าชื่นชมพระบารมี ซึ่ง กทม.จะติดตั้งจอแอลอีดีถ่ายทอดสดให้ได้ชมอย่างพร้อมเพรียงกัน

หลังจากนี้ จะเสด็จรับคณะทูตถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นการเสร็จพระราชพิธีเบื้องกลาง ส่วนเรื่องการเชิญพระราชอาคันตุกะ ได้ตกลงกันว่าจะไม่มีการเชิญ เพราะพระองค์ท่านตรัสว่าไม่อยากให้มีการรบกวน แต่หากประเทศใดจะเดินทางมาให้แจ้งความประสงค์มา จะถือเป็นแขกของรัฐบาล เราจะดูแลต้อนรับอำนวยความสะดวกอย่างดี

นายวิษณุ เปิดเผยอีกว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแนะนำให้ระมัดระวังเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้คนระหว่างพิธีต่างๆ เนื่องพระราชวงศ์หลายพระองค์ รวมทั้งบุคคลหลายท่านเป็นผู้สูงอายุ การเดินจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งเป็นการเปลี่ยนจุดที่ละเอียดอ่อน จะต้องเป็นฝ่ายรอเฝ้าฯ ก่อนหรือตามไปเฝ้าฯทีหลัง ต้องได้จังหวะที่พอดีกัน

“พระราชพิธีครั้งนี้ รัฐบาลตั้งงบไว้ 1,000 ล้านบาท จะนำมาใช้อย่างเป็นประโยชน์ ใช้ไปแล้วจะอยู่คงทนถาวร ไม่สิ้นเปลือง เช่นการปรับปรุงเส้นทางต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต เช่นจะนำสายไฟลงดินในพื้นที่ 7 กิโลเมตร ที่เป็นเส้นทางเสด็จฯ การซ่อมแซมเรือในพระราชพิธีที่เราไม่ได้ซ่อมมากว่า 10 ปี” นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก: พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช๒๕๖๒

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า