Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ เปิดข้อมูลรายได้รัฐจากภาษียาสูบ ปี 61 จัดเก็บภาษีได้กว่า 71,009 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 60 มากถึง กว่า 4,000 ล้านบาท วอนขอรัฐบาล อย่าเลื่อนการขึ้นภาษีบุหรี่ ย้ำบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทย ยอดตายสูง 54,610 คน 

วันที่ 14 มี.ค.2562 บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและเป็นปัจจัยที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 คนไทยมีปัญหาสุขภาพอันเกิดจากการสูบบุหรี่มากถึงร้อยละ 11.2 ของจำนวนการเสียชีวิตทั้งหมดในระหว่างปี 2550-2557 โดยในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่อายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูบบุหรี่เกือบ 3.6 ล้านคน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลมากกว่า 18,115 ล้านบาท

ขณะที่รายได้ภาษียาสูบที่เก็บได้จริงจากข้อมูลที่เปิดเผยของสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต ปี 2561 ยอดรวมการจัดเก็บภาษียาสูบได้จริง 71,009.52 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าภาษียาสูบที่จัดเก็บได้ในปี 2560 มากถึง 4,473.66 ล้านบาท (ปี 2560 จัดเก็บภาษียาสูบได้ 66,535.86 ล้านบาท) แม้มีการปรับโครงสร้างภาษียาสูบ โดยใช้อัตราภาษียาสูบใหม่ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2560 สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลไม่ได้สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษียาสูบของกรมสรรพสามิต ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม แม้รายได้ภาษียาสูบจะสูงขึ้น แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่าตัวเลขความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ที่ประมาณการโดย BOD ระบุว่า ในปี 2552 ประเทศไทยมีความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เท่ากับ 74,884 ล้านบาท

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เปิดเผยว่า การขึ้นภาษีบุหรี่ รัฐบาลควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง และไม่ควรเลื่อนการขึ้นภาษีบุหรี่ ร้อยละ 40 ในวันที่ 1 ตุลาคม ปี 2562 นี้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นมาตรการหนึ่งในการควบคุมยาสูบตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกเสนอ และสอดคล้องไปกับแนวคิดของธนาคารโลกที่เสนอว่า การเพิ่มภาษีบุหรี่ Win Win ทั้งฝ่ายสุขภาพและเศรษฐกิจ

ศ.นพ.รณชัย มองว่า การยาสูบแห่งประเทศไทยมักนำเสนอประเด็นเรื่องการขาดทุนจากการผลิตและจำหน่ายบุหรี่ซึ่งเป็นเพียงการพิจารณาในมุมเดียวเท่านั้น ที่ถูกต้องคือ ต้องแยกการพิจารณารายได้จากภาษี ออกจากกำไรของการยาสูบแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนต่อทิศทางการควบคุมยาสูบของประเทศไทย เงิน กับ สุขภาพของประชาชน ซึ่งควรเลือกสุขภาพดีกว่า กรณีปัญหาที่ประชาชนอาจหันไปบริโภคยาเส้น หรือบุหรี่เถื่อน แท้จริงแล้วเป็นประเด็นปัญหาเรื่องประเทศไทยอัตราภาษียาเส้นยังคงต่ำมาก และเป็นปัญหาการบังคับใช้กฎหมายมากกว่า ต้องขอขอบคุณ ท่านพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ที่มีแนวคิดเรื่องนโยบายการเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษียาเส้น และท่านยุทธนา หยิมการุณ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับดูแลบริหารการป้องกันและปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย (กปบ.) ที่เดินทางลงภาคใต้เพื่อตรวจจับแหล่งขายบุหรี่หนีภาษี ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา รัฐบาลต้องยกเครื่องระบบการป้องกันบุหรี่หนีภาษี โดยการร่วมลงนามสัตยาบันในพิธีสารเพื่อขจัดบุหรี่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาบุหรี่หนีภาษีและบุหรี่ปลอมในระดับนานาชาติ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า