SHARE

คัดลอกแล้ว

เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์คัดค้านกองทัพอนุมัติงบประมาณกว่า 2,480 ล้านบาท ซื้อรถเกราะล้อยาง หรือ สไตรเกอร์ 

วันที่ 14 พ.ค.62 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ค้าน ทบ.อนุมัติซื้อสไตรเกอร์ ในยุคข้าวยากหมากแพงนี้ ข้อความระบุว่า ตามที่ปรากฎมีรายงานว่า กองทัพบกได้อนุมัติจัดหารถเกราะล้อยาง M1126 STRYKER จากอัตราสำรองคลังของกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 37 คัน (แถม 23 คัน) มูลค่าประมาณ 80 ล้านเหรียญ (ประมาณ 2,960 ล้านบาท) เพื่อบรรจุในกองพลทหารราบที่ 11 จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแผนการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยทหารราบ พร้อมยังจะนำเข้าประจำการในหน่วยทหารหน่วยอื่นอีกด้วย ความดังทราบแล้วนั้น
การอนุมัติซื้อรถเกราะล้อยางดังกล่าวไม่มีความเหมาะสม เพราะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ฝ่ายการเมืองยังไม่ได้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่แท้จริง ถือได้ว่าเป็นการอาศัยสถานการณ์ที่ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งสนใจไปในการจับขั้วทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อลดข้อครหาหรือจับผิดในกรณีดังกล่าวอย่างน่าละอาย

ถึงกระนั้น การจัดซื้อรถดังกล่าวมีข้อสงสัยว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ส่วนตัวของ ผบ.ทบ.หรือไม่ เนื่องจาก ผบ.ทบ. เรียนจบปริญญาโทจากสหรัฐฯ และฝึกหลักสูตรต่างๆ ของสหรัฐมาจนได้ชื่อว่าเป็น ผบ.ทบ. สไตล์อเมริกัน จนสหรัฐฯให้ที่นั่งทหารไทยไปฝึก ไปดูงานมาโดยตลอด ตั่งแต่ ผบ.ทบ. เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 แม้ว่าก่อนหน้านี้สหรัฐเคยตำหนิและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยและ คสช.มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งผ่านกระทรวง ตปท. และผ่านอุปทูตสหรัฐประจำประเทศไทย หากแต่มิได้จดจำคำตำหนิ แต่กลับนำเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศหลายพันล้านบาทไปเป็นเครื่องมือในการสร้างสานสัมพันธ์กัน ซึ่งในอนาคตเราต้องสูญเสียเงินภาษีของประชาชนไปอีกเป็นจำนวนมากกับการสร้าง โรงเก็บ จัดทำสนามฝึก สั่งซื้อชิ้นส่วน การซ่อมบำรุงอีก โดยที่กองทัพไม่เคยบอกประชาชนว่าจะใช้งบอีกเท่าไร ในภูมิภาคอาเซียนต่างมีนโยบายลดการแข่งขันการสะมอาวุธยุทโธปกรณ์กันแล้ว ต่างมุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจการกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นที่ตั้ง เพราะเรื่องปากท้องและการลดความเหลือมล้ำเป็นปัญหาสำคัญของชาติ ซึ่งขณะนี้คนไทยล้วนเผชิญชะตากรรมข้าวยากหมากแพงกันทั้งแผ่นดิน พืชผลทางการเกษตรตกต่ำเป็นประวัติการณ์ หากแต่กองทัพยังกลับมีนโยบายถอยหลังลงคลองไปในยุคสงครามเย็นถวิลหาแต่การซื้ออาวุธ จะมีบ้างไหม ? สักครั้งที่เปลี่ยนผู้นำเหล่าทัพแต่ละคนแล้ว จะไม่มีการจัดซื้อจัดหาอาวุธมาสะสม ขอให้เริ่มต้นในยุค ผบ.ทบ.คนปัจจุบันได้ไหม ? หรือให้รอไปจนกว่าจะถึงยุคพระศรีอาริย์ลงมาโปรดกระนั้นหรือ ?

ขณะที่เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam ให้ข้อมูลว่า สหรัฐฯให้ ไทย ประเทศแรก ! ทั้งขาย ทั้งให้เพิ่ม ยุค”บิ๊กแดง” ผ่านFMS หลังไทยมีเลือกตั้ง ขาย รถเกราะที่โด่งดัง Stryker ให้ 37 คัน ช่วยเหลือ ให้อีก 23 คัน รวม 60 คัน พร้อมอาวุธ-ระบบสื่อสาร-อะไหล่ รวม 80 ล้านเหรียญ …. ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่สหรัฐอเมริกาขาย และให้ความช่วยเหลือทางทหาร ยานรบ Strykers นี้ กองทัพสหรัฐฯยังคงใช้ประจำการไปอีกถึง ปี 2030 หรือนานกว่านี้ จึงนับเป็นยุทโธปกรณ์ที่สหรัฐฯ ยังใช้ประจำการอยู่และขายให้ และช่วยเหลือ ทบ.ไทย เป็นยานเกราะล้อยางที่ได้รับว่าระดับ World class ผลิตโดย บริษัท General Dynamics Land systems ผ่านมาแล้วหลายสมรภูมิ แหล่งข่าวใน ทบ. ระบุ

https://www.facebook.com/WassanaJournalist/posts/2314637978594647

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า