SHARE

คัดลอกแล้ว

ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายคนพอเห็นว่าใครทำแฟรนไชส์หรือทำธุรกิจไหนแล้วขายดีก็อยากจะทำบ้าง หนึ่งในนั้นคือธุรกิจ “ชาราคาเดียว” ที่หลายคนแห่แหนกันเปิด เราจึงได้เห็นทั้งร้านชาราคาเดียวที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และร้านที่ขายไม่ออกจนต้องเลิกกิจการไป ทั้งที่บางรายซื้อแฟรนไชส์ยี่ห้อเดียวกันด้วยซ้ำ

สำหรับกระแสความนิยมดื่ม “ชา” ในต่างประเทศนั้นมีมานานนับพันปีแล้ว ไม่ว่าจะในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป หรือชาวอเมริกัน ต่างกับบ้านเราที่ค่อยๆ ทวีความนิยมมากขึ้นตามกระแสสังคม และสิ่งที่แตกต่างเด่นชัดอีกอย่างคือเรื่อง “รสชาติ” ที่ชาวต่างชาตินิยมดื่มชาที่เป็นรสชาแท้ๆ ขณะที่คนไทยเราส่วนมากนิยมดื่มชารสหวาน หรือที่มีคนแซวว่าคนไทยนิยมดื่มน้ำหวานรสชา

ขอบคุณภาพจาก nescafedolcegusto

ที่เป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยเราเป็นเมืองร้อน เราจึงได้เห็นร้านขายเครื่องดื่มชงสดอยู่คู่กับคนไทยมานาน เมื่อผ่านยุคสมัย ธุรกิจนี้จึงเติบโตจนฟูฟ่องสู่การขายเป็นแฟรนไชส์ชา-กาแฟนับร้อยๆ แบรนด์ โดยในช่วงปีที่ผ่านมา ธุรกิจ “ชาราคาเดียว” ทุกแก้ว 25 บาท เติบโตเป็นดอกเห็ด มีแฟรนไชส์ใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก เรียกได้ว่าแบ่งก้อนเค้กธุรกิจกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ให้แบ่งได้อีก

ธุรกิจ “ชาราคาเดียว” จึงเปิดศึกรบกันหนักมาก ทั้งฝั่งผู้ขายแฟรนไชส์ และฝั่งผู้ซื้อแฟรนไชส์

ผู้ขายแฟรนไชส์ ส่วนมากใช้กลยุทธ์ด้านราคาขายแฟรนไชส์แบบขายขาด ซึ่งมีตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน โดยผู้ซื้อไม่ต้องหักส่วนแบ่งรายได้มาให้ สิ่งที่ให้ผู้ซื้อหลักๆ จะมีให้เลือกทั้งแบบคีออสและแบบตกแต่งร้านเต็มรูปแบบ สอนสูตรให้อย่างที่สามารถสอบถามหรือกลับมาเรียนซ้ำได้ตลอด มีหม้อต้มให้ 3 ใบ รวมทั้งวัตถุดิบต่างๆ ที่ให้รวมในครั้งแรกที่จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เป็นฝั่งที่ต้องลงพื้นที่เผชิญศึกแบบสู้ยิบตาเต็มๆ ทั้งการเผชิญหน้ากับลูกค้าหลากหลายประเภท และสู้กับร้านขายชาราคาเดียวที่ตั้งร้านอยู่ไม่ไกลกัน แถมบางรายเจอศึกหนักคือ ร้านใกล้กันดันเป็นแฟรนไชส์ยี่ห้อเดียวกันอีก ยังไม่รวมผู้ที่ซื้อชามาชงเอง ตกแต่งร้านเอง เลียนแบบเรื่องรสชาติ มีเมนูและแทบทุกสิ่งอย่างไม่ต่างจากแฟรนไชส์ชาเจ้าดัง ซึ่งถือเป็นการรบที่หนักเอาการ แต่หลายเจ้าก็สามารถฝ่าสมรภูมิไปได้

เมื่อร้านขายชาราคาเดียวมีจนเกลื่อนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ผู้บริโภคจึงมีตัวเลือกมาก และยากที่จะภักดีต่อแบรนด์ เพราะแต่ละแฟรนไชส์ต่างมีรูปแบบร้านค้า ภาชนะบรรจุ เมนู ส่วนผสมต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งรสชาติก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ แถมบางแฟรนไชส์ยังเอาแต่ขายแฟรนไชส์อย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์นั้นไปเพื่อทำธุรกิจต่อ ซึ่งบางแฟรนไชส์เปิดใกล้กันในระยะห่างไม่ถึง 500 เมตร ด้วยซ้ำ

ขอบคุณภาพจาก coffeeindy

หลายคนพยายามทำตามตำรากลยุทธ์ธุรกิจ เช่น เปิดในแหล่งชุมชน, จัดโปรโมชั่น เช่น ซื้อครบ 10 แก้ว แถมฟรี 1 แก้ว, บริการสั่งซื้อ 5 แก้วขึ้นไปส่งฟรีถึงที่ หรือแม้แต่การทำการตลาดด้วยตัวเองผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งสำคัญมากในยุคอุตสาหกรรม 4.0

สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการขาย ต่อลมหายใจให้ธุรกิจได้อยู่ แม้จะไม่เสมอไปสำหรับบางคน ซึ่งนั่นอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วม เช่น ความสม่ำเสมอในการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาในการเปิด-ปิดร้าน, ความสะอาด, บริการที่เป็นมิตร และความจริงใจต่อลูกค้า เป็นต้น

แต่เฟืองจักรหนึ่งที่เป็นกลไกสำคัญก็คือ “พันธมิตร” นั่นหมายความว่า ทั้งเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องช่วยกันทำการตลาด จัดกิจกรรมสม่ำเสมอ รวมทั้งมีอะไรใหม่ๆ ให้ผู้ซื้อได้เห็นอยู่ตลอด ที่สำคัญคือการคงคุณภาพทั้งตัวสินค้าและบริการ

ขอบคุณภาพจาก pixabay

ในฝั่งผู้ขายแฟรนไชส์อาจต้องทำการตลาดหนักหน่อย หากติดตามในโลกโซเชียล เราจะเห็นได้ว่าบางแฟรนไชส์โปรโมตทั้งตัวแบรนด์สินค้า และเรื่องราวของเจ้าของแฟรนไชส์ได้อย่างน่าประทับใจ ซึ่งทำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งลงพื้นที่หรือให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์คอยอัปเดตภาพหรือเรื่องราวที่ร้าน ช่วยกันโปรโมตเป็นประจำ แล้วมันก็ทำให้คนซื้อ “จดจำ” ได้ไม่น้อย

ในฝั่งผู้ซื้อแฟรนไชส์เองก็ต้อง “เลือก” และเปรียบเทียบแฟรนไชส์แต่ละเจ้าดู ว่ามีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลคนที่ลงทุนเปิดร้านขายภายใต้แฟรนไชส์นั้นๆ อยู่ สอบถามเรื่อง “บริการหลังการขาย” เพื่อประกอบการ “ตัดสินใจ” รวมทั้งหากซื้อแฟรนไชส์มาและเปิดขายแล้ว นอกจากสิ่งที่ต้องทำดังกล่าวมา อาจต้องหาพันธมิตรอื่นๆ เพิ่ม เพื่อให้มีสินค้าอื่นที่มากกว่าเครื่องดื่ม เช่น ขนมทานเล่น, เบเกอรี่, ของที่ระลึก เป็นต้น

อ่านถึงตรงนี้ หลายคนที่อยากลงทุน “ร้านชาราคาเดียว” ทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อแฟรนไชส์ ต้องหยุดและล้มเลิกความตั้งใจไหม ?

ไม่มีใครตอบคุณได้ว่าลงทุนแล้วจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง อย่าเข้าข้างตัวเองมากเกินไป และอย่าดูถูกตัวเองมากเกินไป ทุกอย่างต้องมีการวางแผน เรียนรู้ และมีความตั้งใจจริง

ทั้งนี้ เราได้สุ่มเลือกแฟรนไชส์ร้านชาราคาเดียว จำนวน 5 แบรนด์ เพื่อสอบถามจำนวนสาขา เผื่อใครอยากลงทุนจะได้มีข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจอีกทาง (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ต.ค. 60)

(หมายเหตุ: ชื่อแฟรนไชส์และจำนวนสาขาที่ปรากฏ มิใช่ตัวบ่งบอกว่าแบรนด์ใดดีกว่ากัน เป็นเพียงตัวช่วยประกอบการตัดสินใจเท่านั้น)

สำหรับ “คนรักชา” ที่อยากลงทุนทำธุรกิจนี้ “รัก” อย่างเดียวอาจยังไม่พอ การเรียนรู้และทำธุรกิจเป็น…เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่กูรูการตลาดหลายท่านไม่อยากให้มองข้าม

อย่าให้องค์ความรู้เหล่านั้นกลายเป็นเพียงคำพูดสวยๆ ที่เรานำมาใช้ไม่ได้จริง 

เว็บไซต์ลงทุนแมนได้กล่าวไว้ว่า “การลงทุนที่ดีสุด ไม่ได้เป็นการลงทุนในทรัพย์สินใด แต่การลงทุนที่ดีสุด คือ การลงทุนในความรู้ ให้ตัวเราเอง”

 

คอลัมน์ Love seeN: ความสุขในทรงจำ ทุกเรื่องที่ผ่านล้วนมี “รัก” เป็นส่วนประกอบ

(ขอบคุณ: ชาพะยอม, ชาตันหยง, ชอบชา, ชาขุนพล, T-ZA ชาปากยูน)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า