SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/384897702268074/

“การเมือง” เป็นเรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่คนอีกจำนวนหนึ่งก็ไม่อยากยุ่ง ด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป

ทว่า “ศุ บุญเลี้ยง” นักร้อง-นักแต่งเพลงชื่อดัง มองว่า การเมืองเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรตระหนักและให้ความสำคัญ  เพราะ “การเมือง” ล้วนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน เขาจึงแต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้คนไทยหันมาสนใจเรื่องการเมืองกัน แต่มาในรูปแบบที่สนุกสนาน น่ารัก ในชื่อเพลง “ก๊อก ก๊อก ก๊อก”

“รู้สึกว่าการเมืองมันถูกทำให้กลายเป็นเรื่องน่ากลัว เหมือนมีคนมาบอกว่า อย่าไปยุ่งกับทุเรียนนะ มีหนามนะเว้ย เออในวัดก็มีคอรัปชั่น พระก็มีพระดีพระไม่ดี มันทุกวงการน่ะ โรงพยาบาลก็เหมือนกัน ทุกที่ก็เหมือนกัน ผมเลยคิดว่าถ้าเราจะเอาพลังทางดนตรีมาเปลี่ยนทัศนะความรู้สึกของคน ก็อยากจะลองทำ เพราะการเมืองมันเป็นเรื่องของคนทุกรุ่น อยากให้ลูกเข้าโรงเรียนดีๆ ไม่อยากยุ่งกับการเมือง ก็นั่นแหละ การเมือง ลูกจะได้เรียนดี เรียนฟรี ลูกจะได้กินนมบูดหรือไม่บูด ก็คือการเมือง ซึ่งการเมืองจัดสรรแล้วก็ส่งมา เพราะฉะนั้น เราต้องไม่ปฏิเสธมันว่าเราไม่ชอบการเมือง ไม่ยุ่งการเมือง แต่เราจะอยู่ในระดับไหน แค่ไปเลือกตั้งแล้วกลับ หรือว่าเฝ้าดู เฝ้ามอง ติดตามข่าวสาร”

“แต่ทีนี้ คนรุ่นเก่าถูกบอกว่าการเมืองไม่ดี อย่ายุ่งมาก ดังนั้น เราจึงมองที่คนรุ่นใหม่ว่า เฮ้ย ทุเรียนมันมีหนาม แต่ข้างในมันหอมหวานนะ ปลามันก็มีก้าง แต่มันก็มีประโยชน์นะ หนูก็กินอย่าให้มันติดคอ ดูเอา จะไปจับปลาแบบไหน ด้วยวิธียังไง แล้วก็กติกาในการจับปลาเป็นยังไง อยู่ด้วยกันยังไง ช่วงนี้เขาปิดอ่าว เพื่อรอให้ทรัพยากรปลาวางไข่ เราจะไปจับตอนนั้นไม่ได้ เดี๋ยวเขาเปิดอ่าว เราก็ค่อยมาจับกัน ใครอยากได้ปลาทู ใครอยากได้ปลากระบอก ปลากะพง มันก็มีวิธีเยอะแยะ เกือบทุกชนิดน่ะมีก้างหมด ยกเว้นปาท่องโก๋ที่ไม่มีก้าง”

 

ก๊อก ก๊อก ก๊อก

ส่วนผสมคนสองรุ่น

ศุ บุญเลี้ยง บอกว่า เดิมทีเขาแต่งเพลง “ก๊อก ก๊อก ก๊อก” ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว (2561) ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศว่าจะมีการเลือกตั้ง หมายใจว่าจะเผยแพร่สู่สาธารณะในช่วงกลางเดือนมกราคม 2562 น่าจะยังมีเวลาช่วยรณรงค์ให้คนไปเลือกตั้ง ซึ่งช่วงที่แต่งเพลงนี้ก็มีรถแห่เชิญชวนคนให้ไปเลือกตั้ง เป็นเพลงของวงสาว สาว สาว จึงมองว่าถ้านักร้องเป็นผู้หญิง ไม่ต้องร้องแต่เพลงอกหักก็ได้ มาร้องเพลงที่มันให้พลังกับชีวิตบ้างก็ดูเท่ดี ส่วนนักร้องก็ไม่ต้องมีชื่อเสียงอะไร แต่ต้องเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกตั้งแล้ว เพราะต้องเป็นตัวแทนของการนำเสนอเพลง จึงโทร.ชวนลูกๆ ของเพื่อน รวมทั้งลูกศิษย์ มาร่วมร้องและเต้นเพลงนี้ ซึ่งผู้ที่เขาขอให้มาช่วยออกแบบท่าเต้นให้ก็คือ คนในทีมรายการ เดอะ แรปเปอร์ ของเวิร์คพอยท์ โดยกำชับว่าไม่เอาท่าเต้นโหดๆ แต่ขอแอ๊บแบ๊วๆ น่ารักๆ

“ผมแต่งเพลงนี้เพื่อชักชวนคนออกมาเลือกตั้ง เพราะมันมีประกาศว่าจะมีการเลือกตั้ง ไม่ได้เรียกร้องการเลือกตั้ง คือในการแต่งเพลง ผมพยายามหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่มันจะนำไปสู่ความขัดแย้ง หรือแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ผมพยายามสื่อสารด้วยการอุปมาอุปไมย ด้วยการเปรียบเทียบ ผมคิดว่ามันมีความรัก ความชอบบางอย่างที่หายไป เหมือนกับวงดนตรีที่เรากำลังชอบๆ อยู่แล้วมันหายไป แล้วพอวงดนตรีนี้กลับมา ทุกคนก็ดีใจ ก็เลยเปรียบว่า เออ การเลือกตั้งมันหายไป การปกครองแบบประชาธิปไตยมันหายไป ถ้ามันกลับมา ก็อยากให้คนรู้สึกชื่นชมแบบนี้”

“ความน่ารักมีพลัง ผมเชื่ออย่างนั้น ความอ่อนของน้ำ พอมันรวมกัน มันมีกำลัง บางทีความแข็งกร้าวมันถูกปฏิเสธ ถูกปิดรับ เพลงนี้เปิดแล้วสดใส ฟังแล้วคนที่เป็นผู้ใหญ่ก็ได้ย้อนวัย คนที่เป็นเด็กๆ ก็ได้สนุกสนาน ร่าเริง เต้นกัน บางคำมันจะแบบ กดไลค์และแชร์ต่อ เอ้อ ก็ดีนะกดไลค์แล้วแชร์ต่อ แต่ถามเด็กๆ ว่า กดไลค์และแชร์ต่อดีไหม นึกว่าเด็กๆ จะตอบว่าดี มันก็ไม่ดีหรอก บางทีใช้ภาษาที่ทันสมัยอาจจะเชยก็ได้ บอกไปและชวนต่อ ดูตรงกับเจตนารมณ์มากกว่า ทั้งๆ ที่เราอยากจะให้หวือหวา”

“ศุ” ยังซ่อนนัยยะไว้ในคำ เพื่อชวนให้ผู้ฟังตีความ อยากให้ค้นและเจอบางอย่างโดยที่เขาไม่ได้เขียนไว้

“ถ้าคนฟัง ฟังได้ยิน คิด ตระหนัก รู้สึก อันนั้นน่ะ ภาษาเขาเรียกว่า มันเก็ต (get) เองน่ะ เราอยากให้มันเป็นอย่างนั้น ไม่ได้อยากยัดเยียด แต่อยากให้ซึมซับแล้วก็ตระหนักเอง”

 

อย่าหยุด

คิดถึงอนาคตของประเทศ

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ “ศุ” อยากให้คนไทยทุกคนหันมาสนใจเรื่องการเมือง นั่นคือ อยากให้คนไทยได้เรียนรู้ที่จะเจอความแตกต่าง แล้วหาวิธีอยู่ร่วมกันให้ได้ เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศของเรา

“แม้กระทั่งเขาเลือกแล้ว ไม่ได้คนที่เขาชอบ มันก็เป็นสัญลักษณ์อีกว่า เห็นไหมว่าเขาไม่ได้คิดแบบเรา เขาไม่ได้เชื่อแบบเรา แต่เราก็ต้องอยู่ด้วยกันหรือเปล่า คนไทยไม่ได้เรียนรู้ที่จะเจอความแตกต่าง เห็นความคิดที่ขัดแย้งรึเปล่า โกรธ โมโห ทั้งๆ ที่มันต้องเป็นแบบนี้ ต้องอยู่แบบนี้ การเลือกตั้งก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง เครื่องมืออันหนึ่งว่า คุณมีสิทธิ์ คนอื่นก็มีสิทธิ์ คุณมีความเชื่อ คนอื่นก็มีความเชื่อ และทำยังไงเราถึงจะอยู่ด้วยกัน แล้วก็ก้าวไปด้วยกัน พัฒนาไป ค่อยๆ ก้าวไป ไปช้าๆ ก็ได้ แต่ว่าอย่าหยุดที่จะคิด ที่จะฝันถึงอนาคตที่ดีของประเทศ”

“ศุ” ยังเปรียบเทียบ “การเมือง” กับ “อากาศ” ทิ้งท้ายเป็นแง่คิดไว้อย่างน่าสนใจ

“การเมืองเนี่ย เราต้องเรียนรู้ที่จะต้องอยู่กับมัน เพราะว่ามันจะมาอยู่กับเรา มันจะมารบกวนเรา อย่างอากาศเนี่ย ไม่อยากจะไปยุ่งหรอก อยากอากาศดีๆ แต่ถ้าเราไม่ยุ่ง ไม่สนใจ แล้ววันนึงอากาศเป็นพิษน่ะ มันไม่ลอยมาบ้านเราเหรอ ?”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า