SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย 9 พฤษภาคม นี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี โอกาสดีเห็นได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ในช่วงรุ่งเช้าวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลาประมาณ 07.10 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ระยะทางประมาณ 658 ล้านกิโลเมตร หรือ 4.40 หน่วยดาราศาสตร์

วันดังกล่าว ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏบนท้องฟ้ายาวนานตลอดคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดินจนถึงรุ่งเช้า สว่างสุกใส สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีค่าความสว่างปรากฏประมาณ -2.5 (ความสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงประมาณ -12.6) และหลังจากนี้เรายังสามารถชื่นชมความสวยงามของดาวพฤหัสบดีได้จนถึงเดือนกันยายน

ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง จึงเป็นตำแหน่งที่ใกล้โลกที่สุด นอกจากนี้ การที่ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หมายถึง เมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีก็จะโผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และจะปรากฏบนท้องฟ้าให้เรายลโฉมเป็นเวลายาวนานตลอดทั้งคืน จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป

ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ดาวพฤหัสบดีจะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวคันชั่ง (Libra) ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) สามารถสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 06.00 น. ในเช้าวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 หากสังเกตด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก จะเห็นดวงจันทร์บริวารหลักทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี หรือที่เรียกว่า ดวงจันทร์ของกาลิเลียน (Galilean Moons) ได้แก่ ไอโอ (Io) ยูโรปา (Europa) แกนิมีด (Ganymead) และคัลลิสโต (Callisto) รวมถึงแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดีได้อีกด้วย

และหากใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีหน้ากล้องตั้งแต่ 8 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะมองเห็นจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (Great Red Spot) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งคืนวันที่ 9 พฤษภาคม จะสังเกตเห็นจุดแดงใหญ่ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-20.00 น. และจะปรากฏอีกครั้งในเวลาประมาณ 02.00-06.00 น. ของวันที่ 10 พฤษภาคม 2561

นอกจากการสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีที่ใกล้โลกที่สุดในรอบปีแล้ว วันดังกล่าวยังมีปรากฏการณ์สุริยุปราคาบนดาวพฤหัสบดีให้ได้ติดตามกันด้วย โดยดวงจันทร์ยูโรปาจะโคจรผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี เกิดเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบนดาวพฤหัสบดี ในช่วงเวลาประมาณ 18.20-20.36 น. นับเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่น่าติดตามอย่างยิ่ง และยังถือเป็นโอกาสดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์นอกห้องเรียนแก่นักเรียน และประชาชนในชุมชนใกล้เคียงได้

“ตามปกติแล้วดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ หรือใกล้โลกมากที่สุดเป็นประจำทุกปี ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2561 และครั้งต่อไปในวันที่ 10 มิถุนายน 2562 ขนาดปรากฏของดาวพฤหัสบดีในช่วงที่โคจรมาใกล้โลกในแต่ละปีมีความแตกต่างกันไม่มากนัก เนื่องจากดาวพฤหัสบดีอยู่ไกลจากโลกค่อนข้างมาก ต่างจากดาวอังคารที่มีขนาดปรากฏใหญ่เล็กแตกต่างกันในแต่ละปี (ระยะห่างเฉลี่ยจากโลกถึงดาวพฤหัสบดี 780 ล้านกิโลเมตร ระยะห่างเฉลี่ยจากโลกถึงดาวอังคาร 78 ล้านกิโลเมตร) แต่การส่องกล้องโทรทรรศน์ชมดาวพฤหัสบดีที่เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีโอกาสเห็นแถบเมฆที่เป็นพายุขนาดใหญ่บนดาวพฤหัสบดี จุดแดงใหญ่ จุดแดงเล็ก รวมทั้งดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีทั้งสี่ดวง เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ เยาวชน ได้เป็นอย่างดี” ดร.ศรัณย์ กล่าวปิดท้าย

ทั้งนี้ สดร. เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ตั้งกล้องโทรทรรศน์บริการประชาชนร่วมชม “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” และ “ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบนดาวพฤหัสบดี” ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 – 22.00 น. เชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมได้ ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่

    1. เชียงใหม่: อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ สอบถามโทร. 08-1885-4353
    2. นครราชสีมา: หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา สอบถามโทร. 08-6429-1489
    3. ฉะเชิงเทรา: หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา สอบถามโทร. 08-4088-2264
    4. สงขลา: ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา อ.เมือง จ.สงขลา สอบถามโทร. 09-5145-0411

นอกจากนี้ หน่วยงานเครือข่ายอีกกว่า 260 แห่งทั่วประเทศ ที่รับมอบกล้องโทรทรรศน์ในโครงการ “กระจายโอกาส 77 จังหวัด เปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า” ได้จัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ และนำกล้องโทรทรรศน์มาบริการประชาชนเช่นกัน ติดตามรายละเอียดและสถานที่จัดกิจกรรมเพิ่มเติมที่ เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

 

(ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน))

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า