SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ร่วมฉลองเทศกาลแห่งความรักสไตล์คนรักดาราศาสตร์ มอบภาพ “เนบิวลาหัวใจ” ดวงโตสีแดงฉ่ำในห้วงอวกาศ แทนใจวันวาเลนไทน์

เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2562  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า “เนบิวลาหัวใจ” (Heart nebula, IC 1805) เป็นเนบิวลาชนิดเปล่งแสง อยู่ในกลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopeia) ห่างจากโลกประมาณ 7,500 ปีแสง

กลุ่มฝุ่นและแก๊สที่เรียงตัวกันในห้วงอวกาศมองดูคล้ายหัวใจสีแดงสดใสนี้ มีขนาดแผ่ขยายออกไปถึง 200 ปีแสง ปรากฏบนท้องฟ้ากว้าง 2.5 องศา หรือประมาณ 5 เท่าของขนาดดวงจันทร์เต็มดวง บริเวณใจกลางหัวใจมีกระจุกดาวเปิดชื่อ Melotte 15 เป็นดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมาก กำลังปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างมหาศาลจนทำให้แก๊สที่อยู่รอบๆ ดาวแตกตัวเป็นไอออนแล้วเปล่งแสงสีแดงออกมา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า