SHARE

คัดลอกแล้ว

เถ้าอัฐิของ สตีเฟน ฮอว์คิงจะถูกเก็บไว้ข้างเซอร์ไอแซก นิวตัน และชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ในช่วงเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้า หลังเสร็จสิ้นพิธีศพ

ครอบครัวของศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาผู้ล่วงลับ กล่าวว่า พิธีศพของฮอว์คิงจะจัดขึ้นเป็นการส่วนตัวในวันที่ 31 มี.ค. นี้ ที่ โบสถ์เกรต เซนต์ แมรีส์ ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ฮอว์คิงผูกพันและอุทิศชีวิตทำงานมากว่า 50 ปี โดยจะมีการฝังเถ้าอัฐิในช่วงเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้า ไว้ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ที่ตั้งอยู่ในเขตพระราชวัง

ดอกเตอร์ จอห์น ฮอลล์ คณบดีมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่สุดที่จะเก็บเถ้าอัฐิของฮอว์คิงที่วิหารแห่งนี้ และเก็บไว้เคียงข้างเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เซอร์ไอแซก นิวตัน ผู้ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงและกฎการเคลื่อนที่ ที่ถูกฝังเมื่อปี 1727 และ ชาร์สล์ ดาร์วิน บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ ซึ่งถูกฝั่งข้างนิวตันเมื่อปี 1882

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ถูกฝังไว้ใกล้กัน รวมถึงเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด บิดาแห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์ และทฤษฎีโครงสร้างอะตอม (เสียชีวิตปี 1937) และ เจ.เจ. ทอมสัน นักฟิสิกส์ ผู้ค้นพบอิเล็กตรอนและไอโซโทป (เสียชีวิตปี 1940)

“เราเชื่อว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่วิทยาศาสตร์และศาสนาจะอยู่เคียงข้างกัน เพื่อตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับความลึกลับของชีวิตและจักรวาล” คณบดีมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์กล่าว

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/596484934054122/

ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง เสียชีวิตที่บ้านพักในเมืองเคมบริดจ์ของอังกฤษ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา ในวัย 76 ปี โดยขณะอายุได้ 17 ปี เข้าศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก สาขาจักรวาลวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

แต่เมื่ออายุ 20 ปี ฮอว์คิงถูกวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม ทำให้ต้องนั่งรถเข็นและใช้เครื่องช่วยพูดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานทฤษฎีเรื่องหลุมดำและต้นกำเนิดของจักรวาล อีกทั้งงานวิจัย และงานตีพิมพ์ต่างๆ ยังทำให้สามารถอธิบายการเกิดขึ้นของอวกาศได้ นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของงานเขียนวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง อาทิ “ประวัติย่อของกาลเวลา” (A Brief History of Time) และถือเป็นนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่มีชื่อเสียงและฉลาดมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

ฮอว์คิงได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในตำแหน่งศาสตราจารย์ลูคาเซียนด้านคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ เมื่อปี 1962 หลังจบปริญญาเอก ซึ่งเป็นตำแหน่งของเซอร์ไอแซก นิวตัน หลังการเสียชีวิต มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ยกย่องฮอว์คิงว่า “เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนนับล้าน”

ลูซี่ โรเบิร์ต และทิม ลูกของฮอว์คิงลูพูดถึงพ่อของพวกเขาด้วยความภาคภูมิใจว่า พ่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนพิเศษ ที่ทิ้งมรดกผลงานเอาไว้อีกหลายปี ด้วยการมีความกล้าหาญและความเพียร ความฉลาดและอารมณ์ขัน จะทำให้คนทั่วโลกได้รับแรงบันดาลใจจากพ่อ

 

อ้างอิง:

Stephen Hawking’s ashes to be interred near Sir Isaac Newton’s grave

Stephen Hawking’s ashes to be buried near Newton at Westminster Abbey

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า