SHARE

คัดลอกแล้ว

สทนช. เฝ้าระวังปริมาณฝนช่วง 10 วันข้างหน้า โดยเฉพาะปลายเดือนกันยายน พร้อมเดินแผนการรับน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่งรับน้ำชั่วคราว จากการตัดยอดน้ำหลาก

วันที่ 21 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ กล่าวว่า วันนี้ต่อเนื่องถึงวันที่ 26 กันยายน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนลดลง โดยต้องเฝ้าระวังแม่น้ำยม แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำโขง เนื่องจากเขื่อนจึ่งหง ประเทศจีนเพิ่มการระบายน้ำลงแม่น้ำโขง

สำหรับ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

จากการคาดกาณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสนก. ถึงแนวโน้มฝนระยะ 10 วันข้างหน้า คาดว่า ฝนที่จะมาเติมน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ ลดลง ประกอบกับอิทธิพลของร่องมรสุมช่วงนี้กำลังอ่อน แต่ฝนจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งปลายเดือน ช่วงวันที่ 26–28 กันยายน เนื่องจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงเริ่มแผ่ลงมา

ขณะที่สถานการณ์พายุยังมีเกิดขึ้นทางแปซิฟิก แต่ไม่เคลื่อนตัวมาทางประเทศไทย ในเบื้องต้นมีพายุ 2 ลูก คือ ลูกที่ 1 เกิดขึ้นฝั่งอันดามัน ใกล้ชายฝั่งอินเดีย แรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน เมื่อคืนวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา คาดว่าจะเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศอินเดียและจะอ่อนกำลังลง ส่วนลูกที่ 2 บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ยังเป็นพายุดีเปรสชั่นกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือ ซึ่งทั้งสองลูกดังกล่าวไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย ปัจจุบันพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดขึ้นแล้ว 28 ลูก รวมลูกล่าสุด

คาดว่าจะมีโอกาสเกิดพายุได้ในเดือนตุลาคมอีก 1–2 ลูก จึงต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุอย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนพื้นที่ที่คาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้

รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวย้ำว่า ได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแผนระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขังและพร่องน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเกินเกณฑ์เฝ้าระวังต่อเนื่อง โดยวันนี้ (21 ก.ย.) สทนช. ได้ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย แจ้งจังหวัดที่เกี่ยวข้องทราบแผนการรับน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง เพื่อใช้เป็นพื้นที่รวมรับน้ำไว้ชั่วคราว จากการตัดยอดน้ำหลาก และเป็นพื้นที่ปล่อยปลาให้เกษตรกรทำการประมง เป็นรายได้เสริมเกือบ 2 ล้านไร่ ในพื้นที่ 13 จังหวัด ของลุ่มเจ้าพระยา คาดว่าจะเปิดรับน้ำเข้าครบทั้ง 13 ทุ่ง ภายในเดือนกันยายนนี้

โดยเริ่มจากพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ ที่เริ่มรับน้ำเข้าตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง คือ ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งเชียงราก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่มบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางบาล-บ้านแพน ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน และพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งโพธิ์พระยา เริ่มเปิดรับน้ำเข้าทุ่งวันที่ 30 กันยายนนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า