SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข สั่งโรงพยาบาล 8 จังหวัดภาคเหนือ ดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน โดยจังหวัดเชียงใหม่ติดอันดับอากาศแย่ที่สุดในโลก ติดต่อกันเป็นสัปดาห์แล้ว

นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงใน 8 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา และตาก) ดำเนินการเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองในภาคเหนือ ดังนี้

1.เฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองจากกรมควบคุมมลพิษ

2.แจ้งเตือนประชาชนสามารถใส่ หน้ากากอนามัยและจะต้องสวมใส่อย่างถูกวิธี พร้อมเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มโรค

3.ประสานให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหาหน้ากากอนามัยให้กับประชาชน

4.ให้โรงพยาบาลเตรียมความพร้อมเวชภัณฑ์ หน้ากากอนามัย และร่วมกับท้องถิ่นจัดเตรียมห้องสะอาด ( Clean room ) รวมทั้งขอให้บุคลากรทางการแพทย์ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ประชาชนในการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก

(นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1)

ที่ จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลประจำอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชน จิตอาสา จัดกิจกรรมโครงการ “อสม.เคาะประตูสู้ควันไฟ เพื่อลมหายใจของทุกคน” ให้ความรู้แก่ประชาชน และกลุ่มเสี่ยงเรื่องการปฏิบัติตัวในภาวะหมอกควัน ขอความร่วมมือประชาชนช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า หยุดการเผาป่าและการเผาในที่โล่ง ทีมหมอครอบครัวออกเยี่ยม 4 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงมีครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว แจกหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กแก่กลุ่มเสี่ยงแล้วกว่า 60,000 ชิ้น  รวมทั้งการนำรถบรรทุกน้ำฉีดพ่นละอองฝอยในพื้นที่ เพื่อลดฝุ่นละออง เพิ่มความชุ่มชื้นในบรรยากาศอีกด้วย

ส่วนที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากหมอกควัน ได้ดำเนินการเฝ้าระวังติดตามค่า PM 2.5 เฝ้าระวังรายงานผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ทุกวัน รวมทั้งประชาสัมพันธ์การป้องกันตนเอง การใช้หน้ากาก แก่ประชาชนในวงกว้างผ่านสื่อต่างๆ และโดยบุคคลตัวอย่าง เช่น จนท.รพ./รพ.สต. หัวหน้าส่วนราชการ  สื่อสารความเสี่ยงผ่านเครือข่าย อสม. ผู้นำชุมชน  จัดเตรียมห้องสะอาดรองรับ หากค่าฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ส่งทีมหมอครอบครัว ออกไปดูแลผู้ป่วยหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จัดหาและสนับสนุนหน้ากากอนามัย เพื่อแจกจ่ายหน้ากากอนามัยให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง หอบหืด เบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ทำงานที่โล่งแจ้ง

“ขอให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น แต่อย่าตระหนกจนส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทางราชการ โดยติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง หากอยู่ในพื้นที่สีเหลือง สีส้ม สีแดง ควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง กลุ่มเสี่ยงควรพักผ่อนอยู่ในบ้าน ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ไอ ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน” นายแพทย์ธงชัย กล่าว

 

ขอบคุณภาพ FBMFU Photoclub

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เชียงใหม่ ติดอันดับคุณภาพอากาศแย่อันดับ 1 ของโลก ขณะที่หลายจังหวัดภาคเหนือวิกฤตหนัก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า