Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรรมาธิการฯ ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ยืนยัน ร่างพ.ร.บ.ไซเบอร์ที่ผ่านสนช.แล้ว ไม่รวบอำนาจรัฐ คุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชน แต่เน้นควบคุมภัยคุกคามประเทศและกลุ่มคนที่มีเจตนาไม่ดี

หลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ….  ด้วยคะแนน 133 เสียง งดออกเสียง 16 เสียง และเห็นชอบร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. ด้วยคะแนน 161 เสียง เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป เมื่อวันที่ 28 ก.พ.

นางเสาวณี สุวรรณชีพ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สนช. แถลงว่า ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์ของกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจเพื่อสังคม และเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.แล้ว ทางคณะกรรมการวิสามัญฯ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาแสดงความเห็น และนำมาปรับแก้ไว้ให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว

“สำหรับร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ยืนยันว่า ไม่มีการรวบอำนาจรัฐ เพราะกฎหมายฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมภัยคุกคามไม่ให้มีผลกระทบต่อประเทศ อีกทั้งมีการกำหนดประเภทของภัยคุกคามไว้ชัดเจน ระบบการบริหารระงับยับยั้งต้องอาศัยการบริหารงานโดยคณะกรรมการนโยบายที่ดูแลสถานการณ์ เพื่อให้เกิดระบบงานที่เป็นมาตรฐาน”

ส่วนข้อกล่าวหาว่า เป็นการใช้อำนาจรัฐเกินไปหรือไม่ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ไม่มีส่วนใดของกฎหมายจะไปใช้อำนาจรัฐในการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะเน้นการป้องกันกลุ่มคนที่มีเจตนาไม่ดีเท่านั้น ต้องมีการกำหนดตัวเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อแก้ไขปัญหาระดับต่างๆ โดยการตรวจค้นจะต้องมีคำสั่งศาลเข้าไปก่อน

พล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ กรรมาธิการฯ กล่าวว่า กฎหมายไม่ได้มอบหมายให้ภาครัฐไปดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จึงอยากขอให้ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนประเด็นที่เป็นห่วงว่า เจ้าหน้าที่จะเข้าไปยึดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยืนยันว่าจะกระทำโดยพลการไม่ได้ โดยต้องขออำนาจจากศาลก่อน เพราะที่มีการกล่าวหากันก่อนหน้านี้เป็นข้อมูลเก่า แต่ สนช.ได้ปรับแก้ไขกฎหมายแล้ว

ต่อมา เพจเฟซบุ๊กของ สนช. ได้โพสต์ข้อความระบุว่า “ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมสนช. ได้ลงมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย จัดทำขึ้นเพื่อช่วยควบคุมภัยคุกคามทางไซเบอร์ทุกรูปแบบที่จะเข้ามาภายในราชอาณาจักรไทยและป้องกันความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงของประเทศ พร้อมทั้งยืนยันว่า ไม่ได้มีการจำกัดสิทธิของประชาชน หรือสื่อมวลชนซึ่งเป็นผู้ใช้บริการทางไซเบอร์ แต่จะเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้เป็นเจ้าของข้อมูล และความปลอดภัยของประเทศ”

ที่มา FBสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า