SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – แม้จะผ่านความเห็นชอบด้วยเสียงเอกฉันท์ จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างกฎหมายลูก ว่าด้วยวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เข้าสู่กระบวนการประกาศใช้ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ อาจส่งความเห็นต่างและขอตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนอีกครั้ง

วันที่ 24 พ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุเพราะว่า สนช. เห็นชอบให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่มี 3 ใน 9 ตุลาการอยู่ในข่ายสุ่มเสี่ยงเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ทั้ง กรธ. และ สนช. เห็นตรงกันที่จะให้การบังคับตามคำวินิจฉัย หรือมาตรการชั่วคราว เป็นไปโดยอำนาจของศาลฯ..เพียงฝ่ายเดียว ด้วยความเป็นกลาง

แม้จะลงมติเห็นชอบผ่านร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างกฎหมายลูก ว่าด้วยวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเสียงเอกฉันท์ 188 เสียง ให้เข้าสู่กระบวนการประกาศใช้ แต่ก่อนหน้านั้นที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ต้องพักการประชุม และหารือนอกรองเป็นการภายใน เกือบหนึ่งชั่วโมง

ด้วยเหตุจากการอภิปรายและเห็นต่างกันใน มาตรา 69/1 ผูกมัดมาตรา 71/1 กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากมีความจำเป็นจะต้องบังคับ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัย ให้ศาลฯมีอำนาจกำหนดคำบังคับนั้นไปในคำวินิจฉัยหรือมาตรการชั่วคราว ตามเสียงข้างมากของ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสนอไว้

แต่ท้ายที่สุดแล้ว ก็เห็นตรงกันให้ปรับแก้และตัดความทิ้ง กรณีให้สภาผู้แทนราษฎร เข้ามามีส่วนตรวจสอบคำบังคับ ในคำวินิจฉัยและมาตรการชั่วคราวนั้น ที่ประชุม สนช. จึงเห็นชอบและยุติทักท้วง ด้วยเหตุว่า ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ..เพียงฝ่ายเดียว เพื่อสร้างความเป็นกลาง-ไม่ยึดโยงกับฝ่ายใด หรือแม้แต่กระแสสังคม

ขณะเดียวกัน สมาชิก สนช. ยังให้ความสนใจและอภิปรายหลักการและเหตุผล..และเห็นชอบ ตามบทเฉพาะกาล ในมาตรา 76 ของร่างกฎหมาย กรณีวาระการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน โดยกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมาย เสนอตามเสียงส่วนใหญ่ ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ควรจะอยู่จนครบวาระ ไม่ควรนำคุณสมบัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาใช้บังคับใช้

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 5 คน ที่พ้นจากตำแหน่งและทำหน้าที่รักษาการนั้น ยังคงให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.นั้น กำหนดให้มีการสรรหาใหม่ และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ขอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป..จนกว่าจะสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ เข้ามารับหน้าที่ต่อไป

แต่สมาชิก สนช. ส่วนหนึ่งก็อภิปรายเพิ่มเติมและเสนอให้การสรรหานั้น เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีรัฐสภาหลังการเลือกตั้งแล้ว เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา..ครบถ้วน โดยเฉพาะกรรมการจาก ประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำฝ่ายค้าน..โดยตำแหน่ง เพื่อความสง่างาม และสุดท้ายก็เห็นชอบร่วมกัน

สำหรับตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ 5 คนที่ทำหน้าที่รักษาการอยู่ ประกอบด้วย นายนุรักษ์ มาประณีต,นายจรัญ ภักดีธนากุล,นายชัช ชลวร, นายบุญส่ง กุลบุบผา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน คือ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ , และนายปัญญา อุดชาชน

แต่ก็มีข้อสังเกตว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. โดยเฉพาะ กรธ.ที่เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ แสดงความกังวัล กรณีนายทวีเกียรติ นายนครินทร์ และนายปัญญา อยู่ในข่ายว่าคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญกำหนด อาจกลายเป็นกรณีปัญหาการถูกร้องในภายหลัง จึงอาจเป็นไปได้ว่า กรธ. จะส่งความเห็นต่างและขอตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนร่างกฎหมายฉบับนี้อีกครั้ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า